“หมอพพลเดช” เชื่อ ภาคประชาสังคม หุ้นส่วนการพัฒนาที่ยั่งยืน

นับตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมา คำว่า “ประชาสังคม” ถูกใช้ในกฎหมายหลายฉบับ เช่น พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน พ.ศ. 2551 และ พ.ร.บ.สภาพัฒนาการเมือง พ.ศ. 2551 ซึ่งมีการกำหนดบทบาทหน้าที่ของผู้แทนประชาสังคมไว้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะในมิติที่ทำให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพแม่นยำ โปร่งใส จึงเกิดนวัตกรรมจากการทำงานขึ้นมากมาย
.
รัฐบาลมีหน้าที่สำคัญในการบริหารราชการแผ่นดินและปฏิรูปประเทศไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (SDGs) จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในสังคมทุกระดับ ดังได้ออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม พ.ศ. 2558 มุ่งพัฒนาศักยภาพองค์กรภาคประชาสังคม ให้เป็นหุ้นส่วนการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน
.
อย่างไรก็ตาม การสนับสนุนการขับเคลื่อนของภาคประชาสังคมยังคงมีปัญหาความไม่ชัดเจน ไม่ต่อเนื่อง ต้องอาศัยทรัพยากรจากการสนับสนุนของหน่วยงานในลักษณะของโครงการพัฒนาช่วงเวลาสั้นๆ และไม่สม่ำเสมอ จึงเป็นไปด้วยความยากลำบาก ไม่สามารถจัดระบบการทำงานให้ทันกับสถานการณ์ปัญหาและความเปลี่ยนแปลงของสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เอื้อต่อการพัฒนาบุคลากร จึงทำให้คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม (คสป.) ที่มีรองนายกรัฐมนตรี พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ เป็นประธานและกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นหน่ายงานเลขานุการ ต้องผลักดัน (ร่าง) พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม พ.ศ. ….
.
.
.

.
ในเวทีของสหประชาชาติในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1999 ตัวแทนจากองค์กรภาคประชาสังคมกว่า 8,000 คน ประกาศที่กรุงเฮกในเวที Hague Appeal for Peace และในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2000 สหประชาชาติได้จัดเวทีการประชุมองค์กรพัฒนาเอกชนแห่งสหัสวรรษ (Millennium NGO Forum) โดยตกลงที่จะสร้างเวทีถาวรสําหรับการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมโลกในสหประชาชาติ
.
ในวิสัยทัศน์ของ The ASEAN Socio-Cultural Community (ASCC) Plan of Action ระบุไว้ว่า “องค์กรภาคประชาสังคมต้องมีส่วนร่วมในการป้อนปัจจัยนำเข้า (Inputs) เพื่อเป็นตัวเลือกในการกำหนดนโยบายของประชาคม” รวมทั้งแผนยุทธศาสตร์ว่าด้วยการสร้างประชาคมที่เอื้ออาทรซึ่งกันและกัน (Building a Community of Caring Societies) ข้อบัญญัติที่ 3.1.4 กำหนดให้ “พัฒนาสถาบันครอบครัว องค์กรภาคประชาสังคม และภาคเอกชนเพื่อการมีส่วนร่วมอย่างมีประสิทธิภาพในการจัดการกับปัญหาความยากจนและประเด็นทางสวัสดิการสังคม”
.
.
.

.
รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2540 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่เปิดพื้นที่ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงมากยิ่งขึ้น กระตุ้นให้ “ประชาชน” (people) มีฐานะเป็น “พลเมือง” (citizen) ที่มีความตื่นตัว และมีความพร้อมที่จะจัดการหรือดำเนินการเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกิจการสาธารณะบางอย่างด้วยตัวเองในนามกลุ่ม องค์กร ชุมชน สถาบันวิชาชีพ หรือจัดการร่วมกับรัฐในบางเรื่อง
.
ในแผนพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ ๘ (พ.ศ. 2540-2544) มุ่งให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการยกร่างแผนและวางเป้าหมายที่จะส่งเสริม “ประชาสังคมจังหวัด” ให้เกิดขึ้นทุกจังหวัดทั่วประเทศ ต่อมาคำว่า “ประชาสังคม” จึงถูกใช้ในกฎหมายหลายฉบับ โดยมีการกำหนดบทบาทหน้าที่ของผู้แทนประชาสังคมเอาไว้
.
รัฐบาลในยุค คสช. ได้ออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม พ.ศ. 2558 ซึ่งมีคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม (คสป.) เป็นกลไกสำคัญในการกำหนดนโยบาย กรอบทิศทาง ประสานงานและพัฒนาศักยภาพขององค์กรภาคประชาสังคมในการเป็นหุ้นส่วนการพัฒนา นอกจากนั้นรัฐบาลยังได้ริเริ่มนโยบายการทำงานแบบสานพลัง “ประชา-รัฐ” ซึ่งไปในแนวทางที่สอดคล้องกันอีกด้วย
.
.
.

.

.

.

.

.

.
.
.

.
ในปี พ.ศ. 2532 มีองค์กรพัฒนาเอกชนที่จดทะเบียน 12,000 องค์กร ร้อยละ 44 เน้นการทำงานเพื่อการพัฒนาและการส่งเสริมความเป็นอยู่ของประชาชน
.
จำนวนที่แท้จริงขององค์กรภาคประชาสังคมในประเทศไทยในปัจจุบัน ยังไม่มีผู้ใดสามารถยืนยันได้ เนื่องจากการจัดตั้งองค์กรภาคประชาสังคมสามารถดำเนินการผ่านกลไกส่วนกลางซึ่งมีหลายรูปแบบ ในขณะเดียวกันองค์กรบางประเภทก็เกิดขึ้นและปิดตัวลงอย่างรวดเร็ว และยังไม่มีกลไกเฉพาะในส่วนกลางที่กำหนดให้องค์กรภาคประชาสังคมต้องมาจดทะเบียนและจัดทำทะเบียน ณ จุดเดียว จึงไม่สามารถระบุจำนวนที่ชัดเจน
.
การคาดการณ์จากสถิติของหน่วยงานของรัฐที่รับจดแจ้ง/อนุญาตให้มีการจัดตั้งองค์กรหรือการรวมกลุ่มคนในหลากหลายรูปแบบ ประมาณว่าองค์กรภาคประชาสังคมมากกว่า 130,000 องค์กร
.
.
.

.
ปัจจุบันมีระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม พ.ศ. 2558 แต่ยังมีข้อจำกัดเรื่องอำนาจและขอบเขตการบังคับใช้ แม้มีกลุ่มองค์กรภาคประชาสังคมจำนวนมากตามกฎหมายฉบับต่างๆ แต่ยังคงทำงานตามภารกิจแบบแยกส่วน มิได้บูรณาการทำงานร่วมกัน ไม่มีกฎหมายเฉพาะฉบับใดที่มุ่งส่งเสริมให้เกิดการบริหารจัดการในภาพรวมระดับประเทศ
.
กลไกภาคประชาสังคมมีทรัพยากรในการทำงานที่จำกัด ไม่มีระบบการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม แม้การสนับสนุนจากรัฐและเอกชนจะยังไม่มั่นคงต่อเนื่อง แต่องค์กรภาคประขาสังคมจำนวนหนึ่งได้มีการรวมตัวที่เหนียวแน่น เป็นเครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคมที่มีการจัดระบบองค์กรชัดเจน ทั้งรูปแบบเครือข่ายรายประเด็น และเครือข่ายระดับพื้นที่ มีการผลักดันเชิงนโยบายในการพัฒนาประเทศที่สำคัญและได้รับการยอมรับมากขึ้น เช่น เครือข่ายของคณะกรรมการประสานองค์กรพัฒนาเอกชน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ศูนย์ประสานภาคีการพัฒนาจังหวัด ฯลฯ
.
คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคมจึงได้เตรียมการผลักดัน (ร่าง)พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม พ.ศ. …. เข้าสู่กระบวนการนิติบัญญัติ ซึ่งบัดนี้ได้ผ่านขั้นตอนรับฟังความคิดเห็นตามมาตรา 77 แล้ว อยู่ในระหว่างการทำงานเพื่อเสนอ ครม.
.
.
นพ.พลเดช ปิ่นประทีป / 3 มี.ค. 2564
แสดงความคิดเห็น