การเสวนาหัวข้อ “เมื่อเทคโนโลยีเปลี่ยนไป สื่อยุคใหม่จะก้าวต่อไปอย่างไร?”(การจัดตั้งสถาบันพัฒนาวิชาชีพสื่อมวลชนภาคอีสาน)ในวาระครบรอบ 13 ปี อีสานบิซ เมื่อเร็วๆนี้
ประสงค์ เลิศรัตน์วิสุทธ์ ผู้อำนวยการสถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทยเสนอความเห็นในลำดับถัดไปว่า สื่อในชุมชนเกิดขึ้นมานานแล้ว สื่อต้องเป็นตัวเชื่อมสังคมเข้าด้วยกัน สื่อชุมชนเป็นเรื่องที่เก่าแก่โบราณไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นใหม่แต่เราลืมบทบาทไปกลายเป็นสื่อท้องถิ่นที่รับใช้คนที่มีอำนาจเพราะต้องรับเงินโฆษณาไม่ได้ดูถูกแต่คือ ของจริงต้องรับโฆษณาจากเขา เขาสั่งอย่างโน้นอย่างนี้
สื่อท้องถิ่นจึงต้องเป็นแบบอย่างนี้ เป็นสิ่งที่ไม่ตรงกับทฤษฎี เราไม่มีทางตรง รูปแบบการไปรับใช้ชุมชนจะเป็นอย่างไรนั่นอีกเรื่องหนึ่ง
“ประสงค์” ให้ความเห็นเรื่อง การจัดตั้งสถาบันพัฒนาวิชาชีพสื่อภาคอีสานว่า ถ้าพูดถึงสถาบันพัฒนาวิชาชีพสื่อมวลชนฯ ต้องคิดสองส่วนคือ คิดก่อนต้องหารายได้ด้วยจะพัฒนาแนวคิดสมัยก่อนเราต้องยอมรับสื่อทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคมีข้อจำกัด เรื่องความรู้พื้นฐานแต่ปัจจุบันอาจจะบอกไม่จริง
สื่อส่วนกลางมีข้อจำกัดอย่างไรคือใช้คำว่า “ม้าลำปาง” ถ้าใครอยู่สายอาชญากรรมก็มุ่งตรงอาชญากรรมไม่เคยรู้ซ้ายรู้ขวา นักข่าวการเมืองไม่รู้เรื่องเศรษฐกิจ นักข่าวเศรษฐกิจไม่รู้เรื่องการเมือง นักข่าวตลาดรู้เรื่องจุลภาคไม่รู้มหภาค
ปัจจุบันมีข้อจำกัดจึงมีการจัดตั้งสถาบันอิศรา ภายใต้มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทยเพื่ออบรมความรู้พื้นฐานสำหรับผู้บริหาร จะรู้แค่ข่าวการเมืองไม่ได้ เศรษฐกิจสังคม สิ่งแวดล้อม นั่นคือพื้นฐานที่เราตั้งขึ้นมา เพื่อศักยภาพที่จะติดตัวไปจะไปอยู่ไหนถูกออกจากหน่วยนั้นไปอยู่หน่วยนี้ นั่นคือพื้นฐานที่ตั้งสถาบันอิศราขึ้นมา
มาถึงยุคปัจจุบันคนรุ่นหนึ่งปรับตัวไม่ทัน เราต้องอบรมเรื่องเทคโนโลยีใหม่ๆให้คนรุ่นใหม่เข้ามาช่วยถ่ายทอดความรู้ ปรับการพัฒนาคนขึ้นมานี่คือ สถาบันอิศราฯ ได้เงินจาก กทปส. (กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ) ไปหาทุนจากเอกชนมาสนับสนุน ส่วนนี้เป็นทุนดำเนินการให้เรายู่รอดในการตั้งสถาบันฯ ส่วนสำนักข่าวอิศรา มีเนื้อหาและคอนเทนท์เฉพาะด้าน