16 เม.ย. 64 อีสานโพล (E-Saan Poll) ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน (ECBER)คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นเผยผลสำรวจเรื่อง “ดัชนีความเชื่อมั่น ผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจอีสานไตรมาส 1/2564” ผลสำรวจพบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจอีสานไตรมาส 1/2564 เท่ากับ 74.2 ซึ่งต่ำกว่า 100 แสดงว่าความความเชื่อมั่นแย่ลงเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา และคาดว่าไตรมาส 2/2564 (เม.ย. – มิ.ย. 64) จะยังต่ำกว่า 100 (แย่ลงต่อเนื่อง) ในส่วนคะแนนด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลได้ 37.1 เต็ม 100 คะแนนภาพรวมของรัฐบาลได้ 34.6 เต็ม 100 นอกจากนี้หากมีเลือกตั้งใหม่กลุ่มตัวอย่างอีสานต้องการคุณหญิงสุดารัตน์มาเป็นนายกฯ เพื่อมาฟื้นฟูเศรษฐกิจมากที่สุด ตามมาด้วย หัวหน้าพรรคเพื่อไทย และพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ขณะที่พรรคเพื่อไทยยังครองความนิยมอันดับหนึ่งในภาคอีสาน แต่ไม่เหนียวแน่นเหมือนเคย
ผศ.ดร.สุทิน เวียนวิวัฒน์ หัวหน้าโครงการอีสานโพลเปิดเผยว่าการสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของคนอีสานต่อภาวะเศรษฐกิจระดับครัวเรือนและระดับจังหวัด เพื่อประเมินภาวะเศรษฐกิจและคคำนวณดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจอีสานในไตรมาส 1/2564 และประเมินผลงานรัฐบาลด้านเศรษฐกิจ ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 3-5 เมษายน 2564 จากกลุ่มตัวอย่างอายุ 18 ปีขึ้นไป 1,088 รายในเขตพื้นที่ภาคอีสาน 20 จังหวัด
เมื่อสอบถามเกี่ยวกับ เศรษฐกิจและการค้าของจังหวัด รายได้ครัวเรือน สภาพคล่องการเงินครัวเรือน และการใช้จ่ายเพื่ออุปโภคและบริโภคของครัวเรือน และทำการประมวลผลได้ดัชนีต่างๆ ซึ่งมีค่าระหว่าง 0 – 200 โดยถ้าค่าดัชนี ต่ำกว่า 100 คือ แย่ลง/ลดลง เท่ากับ 100 คือ ทรงตัว/เท่าๆเดิมและมากกว่า 100 คือ ดีขึ้น/เพิ่มขึ้น โดยมีรายละเอียดดังนี
เมื่อให้กลุ่มตัวอย่างประเมินผลงานรัฐบาลด้านเศรษฐกิจในช่วงไตรมาส 1/2564 ที่ผ่านมา พบว่าได้คะแนน 37.1 เต็ม 100 แม้จะสอบตกแต่คะแนนด้านเศรษฐกิจปรับเพิ่มขึ้นจากช่วงปีที่แล้วซึ่งได้ต่ำกว่า 30 คะแนน ขณะที่ผลงานโดยรวมของรัฐบาลในช่วงไตรมาส 1/2564 ที่ผ่านมาได้คะแนน 34.6 เต็ม100 โดยปรับเพิ่มขึ้นจากช่วงปีที่แล้ว
เมื่อสอบถามต่อว่า “ถ้ามีการเลือกตั้งใหม่ ท่านอยากให้ใครเป็นนายกรัฐมนตรีเพื่อมาฟื้นฟูเศรษฐกิจ” พบว่า อันดับหนึ่ง คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ร้อยละ 27.7 รองลงมาเป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ร้อยละ 20.0 ตามมาด้วยคุณพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ร้อยละ 16.7 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ร้อยละ 14.4 คุณอนุทิน ชาญวีรกุล ร้อยละ 10.9 คุณชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ร้อยละ 3.3 คุณอภสิ ทิ ธิ์เวชชาชวี ะร้อยละ 2.3 คุณจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ร้อยละ 0.9 พลเอกเสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ร้อยละ 0.8 และอื่นๆ ร้อยละ 3.0
เมื่อสอบถามต่อว่า “ถ้าเลือกตั้ง ส.ส. วันนี้ ท่านมีแนวโน้มจะลงคะแนนให้พรรคใด” พบว่า อันดับหนึ่ง ร้อยละ 37.3 เลือกพรรคเพื่อไทย รองลงมา ร้อยละ 19.3 พรรคก้าวไกล ตามมาด้วยพรรคพลังประชารัฐ ร้อยละ 15.3 พรรคภูมิใจไทย ร้อยละ 13.5 พรรคคุณหญิงสุดารัตน์ ร้อยละ 10.0 พรรคประชาธิปปัตย์ ร้อยละ 2.5 พรรคเสรีรวมไทย ร้อยละ 1.3 เลือกพรรคชาติพัฒนา และ พรรคชาติไทยพัฒนา ร้อยละ 0.2
ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง มีความเชื่อมั่นในการพยากรณ์ 99% และคลาดเคลื่อนได้บวกลบ 4% ประกอบด้วยเพศหญิง ร้อยละ 54.8 เพศชายร้อยละ 45.2อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 9.3 อายุ 26-30 ปี ร้อยละ 15.3 อายุ 31-40 ปี ร้อยละ 31.0 อายุ 41-50 ปีร้อยละ 29.6 อายุ 51- 60 ปี ร้อยละ 11.1 และอายุ 61 ปีขึ้นไป ร้อยละ 3.7
การศึกษา ประถมศึกษา/ต ่ากว่า ร้อยละ 19.0 มัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 19.4 มัธยมศึกษาตอนปลาย/ระดับปวช. ร้อยละ 21.7 ระดับอนุปริญญา/ปวส. ร้อยละ 15.4 ระดับปริญญาตรี ร้อยละ 23.3และสูงกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 1.3
ด้านอาชีพส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร ร้อยละ 37.8 รองลงมา รับจ้างทั่วไป/ใช้แรงงานร้อยละ 15.8 ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว/อาชีพอิสระ ร้อยละ 11.4 พนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 10.9 รับ
ราชการ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 9.9 นักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 6.2 พ่อบ้าน/แม่บ้าน ร้อยละ 5.4 และ อื่นๆร้อยละ 2.6
ด้านรายได้เฉลี่ยต่อเดือน รายได้ไม่เกิน 5,000 บาท ร้อยละ 7.3 รายได้ระหว่าง 5,001-10,000บาท ร้อยละ 42.0 รายได้อยู่ระหว่าง 10,001-15,000 บาท ร้อยละ 24.6 รายได้ระหว่าง 15,001-20,000
บาท ร้อยละ 13.0 รายได้ระหว่าง 20,001-40,000 ร้อยละ 10.2 และรายได้มากกว่า 40,001 บาทขึ้นไปร้อยละ 2.9
หมายเหตุ: นอกเหนือจากผลสำรวจซึ่งนำเสนอข้อมูลตามวิธีทางสถิติแล้วความคิดเห็นอื่นๆ ในผลสำรวจนี้เป็นความเห็นของผู้รับผิดชอบโครงการซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสานคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น