ตามที่จังหวัดนครราชสีมาได้มีมาตรการเข้มงวดเพื่อเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๓๙ (COVID-๑๔) นับตั้งแต่มีการแพร่ระบาดระลอกเดือนเมษายน ๒๕๖๔ เป็นต้นมา เพื่อผ่อนคลายมาตรการควบคุมบางกรณี อันมิให้ส่งผลกระทบต่อการดํารงชีวิต การประกอบอาชีพ และการขับเคลื่อน กิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยยังดํารงควบคู่ไปกับมาตรการด้านสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด
อาศัยอํานาจตามความในข้อ ๗ (๑) ตามข้อกําหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราช กําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๔ (ฉบับที่ ๒) ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ข้อ ๓ (๒) ตามข้อกําหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๕๘ (ฉบับที่ ๒๐) ลงวันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๔ ประกอบมาตรา ๒๒ (๒) (๓) มาตรา ๓๔ (๒) แห่งพระราชบัญญัติ โรคติดต่อ พ.ศ.๒๕๕๘ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด นครราชสีมา ตามมติที่ประชุมครั้งที่ ๔/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๔ จึงกําหนดวิธีปฏิบัติสําหรับ การจัดกิจกรรมต่าง ๆ ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ดังนี้
๑. ให้สถานที่ให้บริการห้องประชุม ห้องจัดเลี้ยง สถานที่จัดเลี้ยง รวมถึงสถานที่อื่นใดที่มีลักษณะ เดียวกัน สามารถให้บริการได้โดยจํากัดจํานวนผู้ใช้บริการ/ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ไม่เกิน 600 คน (หนึ่งร้อยคน) โดยต้อง ขออนุญาตต่อ ศปก.ในพื้นที่รับผิดชอบอย่างน้อย ๕ วัน ก่อนการจัดกิจกรรม เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเป็นกิจกรรมในพื้นที่ที่กําหนดให้เป็นสถานที่กักกันโรคตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกําหนด โดยผู้จัด กิจกรรมและเจ้าของสถานที่จะต้องดําเนินการตามข้อ 4 ของคําสั่งนี้โดยเคร่งครัด
๒. ให้การจัดกิจกรรมทางสังคม กิจกรรมทางศาสนา การเข้าค่ายบําบัดของทางราชการ การถ่าย ภาพยนตร์ การถ่ายรายการโทรทัศน์ สามารถดําเนินการได้โดยจํากัดผู้เข้าร่วมกิจกรรมไม่เกิน 900 คน (หนึ่งร้อยคน) โดยต้องขออนุญาตต่อ ศปก.ในพื้นที่รับผิดชอบอย่างน้อย ๕ วัน ก่อนการดําเนินการ หรือกรณีเป็นการจัดงานศพต้อง ขออนุญาตต่อ ศปก.ในพื้นที่รับผิดชอบอย่างน้อย 7 วัน ก่อนการดําเนินการ เว้นแต่เป็นกิจกรรมในพื้นที่ที่กําหนดให้ เป็นสถานที่กักกันโรคตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกําหนด โดยผู้จัดกิจกรรมและเจ้าของสถานที่จะต้อง ดําเนินการตามข้อ ๕ ของคําสั่งนี้โดยเคร่งครัด
๓. การจัดกิจกรรมที่มีการรวมตัวของประชาชนที่จัดโดยหน่วยงานของรัฐ ให้จํากัดจํานวนผู้เข้าร่วม กิจกรรมไม่เกินรอบละ 600 คน (หนึ่งร้อยคน) โดยต้องให้ผู้มาร่วมกิจกรรมเว้นระยะห่างกันอย่างน้อย 5 – 6 เมตร โดยผู้จัดกิจกรรมและเจ้าของสถานที่จะต้องดําเนินการตามข้อ ๘ ของคําสั่งนี้โดยเคร่งครัด
๔. การจัดกิจกรรมของหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชน เพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกัน การป้องกัน รักษา โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๓๔ ให้สามารถดําเนินการได้โดยให้เป็นไปตามมาตรการทางสาธารณสุข
๕. การจัดกิจกรรมที่มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมไม่เกิน 900 คน (หนึ่งร้อยคน) ให้ผู้จัดกิจกรรมและเจ้าของ สถานที่ ยื่นความประสงค์ขอจัดงานพร้อมทั้งเสนอมาตรการป้องกันโรคต่อ ศปก.อําเภอ ผ่านสํานักงานสาธารณสุข อําเภอ เพื่อพิจารณามีคําสั่งต่อไป
๖. การจัดกิจกรรมที่มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมไม่เกิน 600 คน (หนึ่งร้อยคน) ในเขตเทศบาลนคร นครราชสีมา ให้ผู้จัดกิจกรรมและเจ้าของสถานที่ ยื่นความประสงค์ขอจัดงานพร้อมทั้งเสนอมาตรการป้องกันโรคต่อ ศปก.เทศบาลนครนครราชสีมา ผ่านสํานักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครนครราชสีมา เพื่อพิจารณา มีคําสั่งต่อไป
๗. ห้ามการจัดกิจกรรมทั้งข้อ ๑ ข้อ ๒ และข้อ ๓ ที่มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมมากกว่า 600 คน (หนึ่งร้อยคน) เว้นแต่มีเหตุจําเป็นที่จะต้องจัดกิจกรรม ให้นายอําเภอหรือนายกเทศมนตรีนครนครราชสีมาแล้วแต่กรณี ส่งเรื่องการขออนุญาตพร้อมความเห็นเบื้องต้นต่อคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดนครราชสีมาเพื่อมีมติต่อไป ทั้งนี้ ผู้จัดงานและเจ้าของสถานที่จะต้องยื่นขออนุญาตผ่าน ศปก.อําเภอ หรือ ศปก.เทศบาลนครนครราชสีมา ล่วงหน้า ไม่น้อยกว่า ๗ วัน ก่อนจัดกิจกรรม
๘. มาตรการป้องกันโรคในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ตามคําสั่งนี้ ให้ดําเนินการดังต่อไปนี้
(๑) บริการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย หรือคัดกรองอาการป่วยระบบทางเดินหายใจ
(๒) สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่ร่วมกิจกรรมเว้นแต่ขณะรับประทาน อาหารหรือเครื่องดื่ม
(๓) ให้เว้นระยะห่างระหว่างบุคคลอย่างน้อย ๑ เมตร และมิให้มีการจัดกิจกรรมในลักษณะ ที่มีการสัมผัสกันอย่างใกล้ชิด หรือต้องใช้สิ่งของ อุปกรณ์ ประกอบการฝึกอบรม ฯ ร่วมกัน
(๔) จัดให้มีที่ล้างมือด้วยสบู่ แอลกอฮอล์เจลหรือน้ํายาฆ่าเชื้อโรคอย่างพอเพียง
(๕) จัดให้มีการทําความสะอาดพื้นผิวสัมผัสของสถานที่ที่เกี่ยวข้องทั้งก่อนทํากิจกรรม ขณะทํากิจกรรม และหลังการทํากิจกรรม
(๖) จัดอาหารแบบแยกชุดสําหรับรับประทานคนเดียว โดยจัดที่นั่งให้ห่างกันอย่างน้อย เติเมตร
(๗) งดการให้บริการสุราหรือเครื่องดื่มที่แอลกอฮอล์ในพื้นที่จัดกิจกรรม
(๔) จัดให้มีการลงทะเบียนก่อนเข้าและออกจากสถานที่ด้วยระบบไทยชนะหรือสมุด ลงทะเบียน
(๔) ผู้จัดกิจกรรมและเจ้าของสถานที่จะต้องยินยอมให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ เข้าตรวจสอบ สังเกตการณ์ และปฏิบัติตามคําแนะนํา คําสั่ง ของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อโดยเคร่งครัด
๙. ไม่อนุญาตให้มีการรวมกลุ่มของประชาชนในลักษณะที่จะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการแพร่ของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๕ เช่น การรวมตัวกันดื่มสุรา กิจกรรมในลักษณะที่มีการสัมผัสกันอย่างใกล้ชิด เช่น การ จัดกิจกรรมละลายพฤติกรรม หรือกิจกรรมที่ต้องใช้สิ่งของ อุปกรณ์ประกอบการทํากิจกรรมร่วมกัน
๑๐. การไม่ปฏิบัติตามคําสั่งนี้ ถือเป็นความผิดตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๔ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท รวมทั้งเป็นความผิดตามมาตรา ๑๘ แห่งพระราชกําหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๕ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๔
(นายกอบชัย บุญอรณะ) ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา
เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ประธานคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดนครราชสีมา ผู้กํากับการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินจังหวัดนครราชสีมา