ประกาศจังหวัดขอนแก่น เรื่อง มาตรการ การเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จังหวัดขอนแก่น (ฉบับที่ ๔๑)

ตามที่นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขต ท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๓ และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศ สถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไปเป็นคราวที่ ๑๒ จนถึงวันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๑๔ นั้น

จังหวัดขอนแก่น ได้ออกประกาศ เรื่อง มาตรการ การเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) จังหวัดขอนแก่น ฉบับที่ ๑ ถึง ฉบับที่ ๑๓ ประกาศจังหวัดขอนแก่น เรื่อง ผ่อนปรน มาตรการ การเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) จังหวัดขอนแก่น ฉบับที่ ๑๔ ประกาศจังหวัดขอนแก่น เรื่อง ผ่อนคลายมาตรการ การเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จังหวัดขอนแก่น ฉบับที่ ๑๕ ถึง ฉบับที่ ๑๙ ประกาศจังหวัดขอนแก่น เรื่อง มาตรการ การเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จังหวัดขอนแก่น ฉบับที่ ๒๐ ถึง ฉบับที่ ๓๐ ประกาศจังหวัด ขอนแก่น เรื่อง ผ่อนคลายมาตรการ การเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จังหวัดขอนแก่น ฉบับที่ ๓๑ และประกาศจังหวัดขอนแก่น เรื่อง มาตรการ การเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จังหวัดขอนแก่น ฉบับที่ ๓๒ ถึง ฉบับที่ ๔๐ รวม ๔๐ ฉบับ แล้วนั้น เนื่องจาก สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) พบว่า จํานวนผู้ติดเชื้อสะสมและผู้ติดเชื้อ รายใหม่ซึ่งเป็นการติดเชื้อในประเทศยังคงอยู่ในอัตราที่สูงและยังพบการระบาดแบบกลุ่มก้อนในพื้นที่ที่มีความแออัด หลายพื้นที่ทั่วประเทศ ส่วนสถานการณ์การระบาดในเขตพื้นที่จังหวัดขอนแก่นมีแนวโน้มดีขึ้นและประชาชนให้ความ ร่วมมืออย่างดีทุกภาคส่วนรวมทั้งการดําเนินการฉีดวัคซีนเพื่อให้ประชาชนได้รับวัคซีนป้องกันโรคให้ได้มากที่สุด ดังนั้น เพื่อให้การดําเนินมาตรการด้านสาธารณสุขโดยมุ่งเน้นความปลอดภัยของประชาชนในเขตพื้นที่จังหวัดขอนแก่นเป็น สําคัญสามารถขับเคลื่อนควบคู่ไปกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม จึงมีความจําเป็นที่จะต้องคงมาตรการ เฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคออกไปอีกสักระยะจนกว่าสถานการณ์ในภาพรวมจะเป็นปกติและผ่อนคลายในบางมาตรการ

อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๒๒ (๑) (๒) มาตรา ๓๔ และมาตรา ๓๕ แห่งพระราชบัญญัติ โรคติดต่อ พ.ศ.๒๕๕๘ ประกอบข้อกําหนด ออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕๕๘ (ฉบับที่ ๒๐) ลงวันที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๖๔ (ฉบับที่ ๒๒) ลงวันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๖๔ และ(ฉบับที่ ๒๓) ลงวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๖๔ ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ โรคติดต่อจังหวัดขอนแก่น ตามมติที่ประชุม ครั้งที่ ๒๑/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๖๔ จึงออกคําสั่งไว้ดังนี้

ข้อ ๑.ให้ยกเลิก ประกาศจังหวัดขอนแก่น เรื่อง มาตรการ การเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จังหวัดขอนแก่น (ฉบับที่ ๔๐)

 

ข้อ ๒.การสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า เพื่อป้องกันการแพร่โรคเมื่ออยู่นอกเคหสถานหรือ อยู่ในที่สาธารณะ เพื่อลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อและป้องกันมิให้เกิดสภาวะที่ไม่ถูกสุขลักษณะเพื่อจํากัดวงในการ ระบาดของโรค เมื่ออยู่นอกเคหะสถานหรือเมื่ออยู่ในที่สาธารณะ ให้ประชาชนสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้า และ ต้องสวมให้ถูกวิธีตามที่กระทรวงสาธารณสุขแนะนํา

เมื่อพบผู้ไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ว่ากล่าวตักเตือนและสั่งให้ผู้นั้นปฏิบัติให้ถูกต้อง ถ้าผู้นั้นไม่ปฏิบัติตาม ให้ดําเนินการตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติมต่อไป

ข้อ ๓.การดําเนินการหรือจัดกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการแพร่โรค

(๑) การใช้อาคารหรือสถานที่ของโรงเรียนและสถาบันการศึกษาทุกประเภท เพื่อการจัดการเรียน การสอน การสอบ การฝึกอบรม หรือการทํากิจกรรมใด ๆ ที่มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นจํานวนมาก ต้องปฏิบัติตามมาตรการ ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ทางราชการกําหนด

(๒) ห้ามการจัดกิจกรรมซึ่งมีการรวมกลุ่มของบุคคลที่มีจํานวนรวมกันมากกว่าห้าสิบคน เว้นแต่ได้รับ อนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเป็นกิจกรรมที่ดําเนินการโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเป็นกิจกรรมในพื้นที่ที่กําหนดให้ เป็นสถานที่กักกันโรค โดยให้ดําเนินการตามมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกําหนด

ข้อ ๔.การปิดสถานบริการหรือสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่โรค

ให้ปิดสถานบริการ สถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายสถานบริการ สถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ สถานประกอบกิจการอาบน้ํา สถานประกอบกิจการอาบอบนวด หรือสถานที่อื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน โดยให้ปิดเป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๖๔ ถึงวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๔ ยกเว้นสถานประกอบการ เพื่อสุขภาพ ตามพระราชบัญญัติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ.๒๕๕๙

ข้อ ๕. มาตรการควบคุมแบบบูรณาการพื้นที่ควบคุม

ให้สถานที่ กิจการ หรือกิจกรรม ในทุกพื้นที่ของจังหวัดขอนแก่น สามารถเปิดดําเนินการได้ภายใต้ เงื่อนไข เงื่อนเวลา การจัดระบบและระเบียบ รวมทั้งมาตรการการป้องกันโรคที่ทางราชการกําหนด เป็นระยะเวลา ชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๖๔ ถึงวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๔ ดังนี้

ก.การจําหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม ให้บริโภคอาหารและเครื่องดื่มในร้านได้ งดการจําหน่ายและดื่มสุราในร้าน ข.การจําหน่ายสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สําหรับร้านอาหารหรือสถานที่จําหน่ายสุรา ห้ามการบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในร้าน ค.ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ หรือสถานประกอบการอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน

ให้เปิดดําเนินการได้ตามเวลาปกติของสถานที่นั้น ๆ จนถึงเวลา ๒๑.๐๐ นาฬิกา โดยให้จํากัดจํานวน ผู้ใช้บริการและงดเว้นการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย ยกเว้นส่วนที่เป็นตู้เกม เครื่องเล่น ร้านเกม และสวนสนุก รวมทั้ง ตู้เกม เครื่องเล่น ร้านเกม สวนสนุกและสวนน้ํานอกห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ ให้งดการให้บริการ

ง.ร้านสะดวกซื้อ ซูเปอร์มาร์เก็ต ตลาดนัดกลางคืน ตลาดโต้รุ่ง ถนนคนเดิน

ให้เปิดดําเนินการได้ตามเวลาปกติของสถานที่นั้น ๆ โดยให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคตามที่ทาง ราชการกําหนด

จ.สนามกีฬา หรือสถานที่เพื่อการออกกําลังกาย ยิม ฟิตเนส

สามารถเปิดให้บริการได้ตามปกติ และสามารถจัดการแข่งขันกีฬาได้โดยจํากัดจํานวนผู้ชม ผู้เล่น ตามที่ ทางราชการกําหนด

 

ข้อ ๖.การงดหรือหลีกเลี่ยงการเดินทาง ขอความร่วมมือให้ประชาชนงดหรือชะลอการเดินทางข้ามจังหวัดในช่วงเวลานี้โดยไม่มีเหตุจําเป็น

ข้อ ๗.การจัดกิจกรรมทางสังคม ดังนี้

(๑) ให้ประชาชนงดการจัดกิจกรรมทางสังคมในลักษณะที่เป็นงานสังสรรค์ งานเลี้ยง หรืองานรื่นเริง ในช่วงเวลานี้ เว้นแต่เป็นการจัดพิธีการตามประเพณีนิยมและมีมาตรการป้องกันโรคที่เพียงพอเพื่อลดโอกาสเสี่ยงต่อการ ติดเชื้อ

(๒) ให้งดการจัดคอนเสิร์ต รถแห่ โรงมหรสพ ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.๒๕๒๒ และที่ แก้ไขเพิ่มเติม หรือการแสดงอื่นใดที่มีลักษณะคล้ายกัน ไว้เป็นการชั่วคราว ยกเว้นโรงภาพยนตร์ให้เปิดดําเนินการได้ ภายใต้การปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคอย่างเคร่งครัด ตั้งแต่วันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๖๔ ถึงวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๑๔

ข้อ ๘.การดําเนินรูปแบบการปฏิบัติงานที่เหมาะสม

ขอความร่วมมือให้เจ้าของกิจการ ผู้ประกอบการภาคเอกชนพิจารณาและดําเนินรูปแบบการปฏิบัติงาน ของบุคลากรในความรับผิดชอบในช่วงเวลานี้ โดยอาจเป็นการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง การสลับวันทํางาน หรือวิธีการ อื่นใด ที่เหมาะสมเพื่อลดโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อ

ข้อ ๙.มาตรการเพื่อรองรับผู้ติดเชื้อ

(๑) ให้ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ทุกรายเข้ารับการตรวจรักษาและเข้ารับการแยกกักหรือการกักกันในสถานที่ และตามระยะเวลาซึ่งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ฝ่ายสาธารณสุขกําหนดจนกว่าจะได้ตรวจ ทางการแพทย์แล้วว่าพ้นระยะติดต่อของโรคหรือสิ้นสุดเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรค

(๒) ให้ผู้ติดเชื้อโควิด-19 หรือผู้ที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าติดเชื้อรีบแจ้งต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ฝ่ายสาธารณสุข หรือผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในพื้นที่ทันทีเมื่อทราบว่าตนติดเชื้อหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่า ติดเชื้อดังกล่าวเพื่อรับทราบแนวปฏิบัติตนและเข้ารับการแยกกักหรือกักกันเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนที่จะเข้ารับการ ตรวจหรือรักษาตามขั้นตอนทางสาธารณสุขต่อไป

ข้อ ๑๐ การบังคับใช้มาตรการป้องกันโรค ให้เจ้าของ ผู้ประกอบการ หรือผู้ดูแลรับผิดชอบสถานที่ กิจกรรมและกิจการต่าง ๆ จัดให้มีมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกําหนด และให้ผู้ใช้บริการหรือเข้าไปยังสถานที่ หรือร่วมทํากิจกรรมเช่นว่านั้น ถือปฏิบัติดังนี้

(๑) ให้จัดบริการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย หรือคัดกรองอาการป่วยในระบบทางเดินหายใจ (๒) ให้ทุกคนสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้า

(๓) ให้จัดการอํานวยความสะดวกในการเว้นระยะห่างระหว่างบุคคลอย่างน้อยหนึ่งเมตร และจํากัด จํานวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมมิให้แออัด หากมีการจัดกิจกรรมให้พิจารณาตามสัดส่วนของพื้นที่ กับผู้ร่วมกิจกรรมในพื้นที่ปิด ขนาด ๕ ตารางเมตรต่อคน ในพื้นที่เปิดขนาด ๔ ตารางเมตรต่อคน

(๔) จัดให้มีที่ล้างมือด้วยสบู่ แอลกอฮอล์ หรือน้ํายาฆ่าเชื้อโรค

(๕) จัดให้มีการเช็ดทําความสะอาดพื้นผิวสัมผัสของสถานที่ที่เกี่ยวข้องก่อนการทํากิจกรรม รวมทั้ง ระหว่าง และภายหลังการทํากิจกรรมด้วย

(5) จัดให้มีการลงทะเบียนแพลตฟอร์มไทยชนะ หรือแพลตฟอร์มหมอชนะ ในการเข้าออกสถานที่สาธารณะ

หากผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคําสั่งในประกาศนี้ มีความผิดตามมาตรา ๑๘ แห่งพระราชกําหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕๔๘ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสีหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ และมีความผิดตามมาตรา ๕๑ แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.๒๕๕๘ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน สองหมื่นบาท ตามมาตรา ๕๒ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๔ เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ 9

มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๔

(นายสมศักดิ์ จังตระกุล)

ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น

ประธานกรรมการโรคติดต่อจังหวัดขอนแก่น ผู้อํานวยการศูนย์บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินจังหวัดขอนแก่น

แสดงความคิดเห็น