เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2564นายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี ประธานคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดอุดรธานี ผู้กํากับการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินจังหวัดอุดรธานีได้ลงคําสั่งจังหวัดอุดรธานีที่ ๒wdฟ / ๒๕๖๔ เรื่อง มาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (covID-19)จังหวัดอุดรธานี ตามที่ คณะรัฐมนตรีได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เนื่องจากเกิตการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COMD-19) อย่างรวดเร็ว กว้างขวางในหลายพื้นที่ของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การระบาดระลอกใหม่ ในปี ๒๕๖๔ ส่งผลให้เกิดการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี นั้น
โดยที่ได้มีการบังคับใช้บรรดามาตรการต่าง ๆ เพื่อเข้าระงับยับยั้งและป้องกันการระบาด แบบกลุ่มก้อนของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระลอกใหม่ที่เกิดขึ้น อาศัยอํานาจตามความ ในมาตรา ๒๒ (๒) (๓) มาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๔ และ ข้อ ๗ (๒) ของข้อกําหนด ออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๓) ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๓ ข้อกําหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๑๕) ลงวันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และข้อกําหนดออก ตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๕๘ (ฉบับที่ ๑๔) ลงวันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ประกอบกับประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร คราวที่ ๑/๒ จนถึงวันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ทั้งนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี โดยความเห็นชอบจากคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดอุดรธานีได้มีคําสั่งจังหวัดอุดรธานี ที่ ๒๒๑๘/๒๕๖๔ ลงวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๔ เรื่อง มาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จังหวัดอุดรธานี
ในการนี้ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในหลายจังหวัดเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น เพื่อให้เฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COMD-19) ของจังหวัดอุดรธานี เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทันเหตุการณ์ และเป็นไปอย่างต่อเนื่อง จังหวัดอุดรธานี จึงแก้ไขคําสั่งจังหวัดอุดรธานี ที่ ๒๒๑๘/๒๕๖๔ ลงวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๔ เรื่อง มาตรการ เฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จังหวัดอุดรธานี ข้อ ๓ มาตรการสําหรับผู้ที่เดินทางจากพื้นที่ควบคุมสูงสุดเข้มงวด และจังหวัดเสี่ยงที่จังหวัดอุดรธานีกําหนด ในข้อ ๑ ดังนี้
- ปรับเปลี่ยนจังหวัดพื้นที่ควบคุมสูงสุดเข้มงวด และจังหวัดเสี่ยงที่จังหวัดอุดรธานีกําหนด ให้เป็นจังหวัดดังต่อไปนี้ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี ชลบุรี สมุทรสาคร นครปฐม พระนครศรีอยุธยา เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สงขลา ฉะเชิงเทรา ระยอง ระนอง นครศรีธรรมราช ราชบุรี ตรัง นราธิวาส สระบุรี จันทบุรี ยะลา ปัตตานี รวม ๒๒ จังหวัด
- ๒. ให้ผู้ที่เดินทางมาจากจังหวัดพื้นที่ควบคุมสูงสุดเข้มงวด และจังหวัดเสี่ยงที่จังหวัดอุดรธานี กําหนด ๒๒ จังหวัดดังกล่าว ที่เดินทางเข้ามาในจังหวัดอุดรธานี ปฏิบัติดังนี้
๑) รายงานตัวกับ กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุข หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ๒) ลงทะเบียนโปรแกรม COMID-19 Watch Out
๓) ให้ตรวจหาเชื้อ COVID-19 ทุกคน ที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยผู้ที่มาจากจังหวัด กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี ชลบุรี สมุทรสาคร นครปฐม พระนครศรีอยุธยา เพชรบุรี รวม ๔ จังหวัด ให้ตรวจหาเชื้อ COVID-19 โดยวิธี RT-PCR
๔) กักตัวที่บ้าน (Home Quarantine) เป็นระยะเวลา ๑๔ วัน ยกเว้นผู้ได้รับวัคซีนป้องกัน โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COMD-19) ครบ ๒ เข็ม ไม่ต้องกักตัว ๑๔ วัน แต่ให้ดําเนินชีวิตตามหลัก D-M-H-T-T-4
๓. รายชื่อจังหวัดพื้นที่ควบคุมสูงสุดเข้มงวด และจังหวัดเสี่ยงที่จังหวัดอุดรธานีกําหนด ที่ปรับเปลี่ยนตามความเห็นขอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดอุดรธานี ให้ถือปฏิบัติตามคําสั่งนี้ด้วย
ทั้งนี้ ผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคําสั่งนี้ เป็นความผิดตามมาตรา ๕๑ แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๔ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
ข้อกําหนด ประกาศ คําสั่ง หรือการกระทําที่อาศัยอํานาจแห่งพระราชกําหนดการบริหาร ราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๕๔ ไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง และกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองตามมาตรา ๑๖ แห่งพระราชกําหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๕๘ การดําเนินการตามคําสั่งนี้ เป็นกรณีที่มีสถานการณ์ อันกระทบหรือต่อความสงบเรียบร้อย และเป็นกรณีจําเป็นเร่งด่วนหากปล่อยให้เนิ่นช้าไปจะก่อให้เกิด ผลเสียหายอย่างร้ายแรง แก่สาธารณชนหรือกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ จึงไม่อาจให้คู่กรณีใช้สิทธิโต้แย้ง ตามมาตรา ๓๐ วรรคสอง (๑) แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๔