วันที่ 6 ก.ค. 64 อีสานโพล (E-Saan Poll) ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน (ECBER) คณะ เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นเผยผลสำรวจเรื่อง “ดัชนีภาวะเศรษฐกิจครัวเรือนอีสาน ไตร มาส 2/2564 และคาดการณ์ไตรมาส 3/2564” ผลสำรวจพบว่า ดัชนีภาวะเศรษฐกิจครัวเรือนอีสาน ไตรมาส 2/2564 (เม.ย. – มิ.ย. 64) เท่ากับ 31.6 เต็ม 100 อยู่ในระดับแย่ และคาดว่าไตรมาส 3/2564 (ก.ค. – ก.ย. 64) จะเท่ากับ 32.9 ดีขึ้นเล็กน้อยแต่ยังอยู่ในระดับแย่ ในส่วนคะแนนด้านเศรษฐกิจของ รัฐบาลได้ 20.3 เต็ม 100 คะแนนภาพรวมของรัฐบาลได้ 22.3 ต่ำสุดเท่าที่เคยสำรวจมา เนื่องจากการ บริหารจัดการปัญหาโควิดไม่เป็นที่น่าพอใจ นอกจากนี้หากมีเลือกตั้งใหม่กลุ่มตัวอย่างอีสานต้องการ คุณหญิงสุดารัตน์มาเป็นนายกฯ เพื่อมาฟื้นฟูเศรษฐกิจ มากที่สุด ตามมาติดๆ ด้วย พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ และหัวหน้าพรรคเพื่อไทย
ดัชนีภาวะเศรษฐกิจครัวเรือนอีสานรายไตรมาส
เมื่อสอบถามเกี่ยวกับ รายได้และทรัพย์สินครัวเรือน โอกาสหางานใหม่หรือเริ่มธุรกิจใหม่ การ หมุนเงินเพื่อใช้จ่ายและชำระหนี้และการซื้อของมูลค่าสูง และทำการประมวลผลได้ดัชนีต่างๆ ซึ่งค่า ดัชนีมีค่าระหว่าง 0 – 100 หากดัชนีอยู่ระหว่าง 0 – 19.9 คือ แย่มาก ระหว่าง 20 – 39.9 คือ แย่ ระหว่าง 40 – 59.9 คือ ปานกลาง/พอใช้ ระหว่าง 60 – 79.9 คือ ดี และ ระหว่าง 80 – 100 คือ ดีมาก ผศ.ดร.สุทิน เวียนวิวัฒน์ หัวหน้าโครงการอีสานโพลเปิดเผยว่าการสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ สำรวจความคิดเห็นของคนอีสานต่อภาวะเศรษฐกิจระดับครัวเรือน เพื่อประเมินภาวะเศรษฐกิจครัวเรือน ด้านต่างๆ และคำนวณดัชนีภาวะเศรษฐกิจอีสานในไตรมาส 2/2564 และคาดการณ์ไตรมาส 3/2564 พร้อมประเมินผลงานรัฐบาลด้านเศรษฐกิจและภาพรวม ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 2-4 กรกฎาคม 2564 จากกลุ่มตัวอย่างอายุ18 ปีขึ้นไป 1,115 รายในเขตพื้นที่ภาคอีสาน 20 จังหวัด
ดัชนีไตรมาส 2/2564 มีรายละเอียดดังนี้
∙ 1) ดัชนีรายได้และทรัพย์สินครัวเรือนไตรมาส 2/2564 เท่ากับ 36.9 หมายความว่า รายได้ และทรัพย์สินครัวเรือนอีสาน อยู่ในระดับ แย่
∙ 2) ดัชนีโอกาสหางานใหม่หรือเริ่มธุรกิจใหม่ไตรมาส 2/2564 เท่ากับ 28.9 หมายความว่า โอกาสหางานใหม่หรือเริ่มธุรกิจใหม่ในอีสาน อยู่ในระดับแย่
∙ 3) ดัชนีการหมุนเงินเพื่อใช้จ่ายและช าระหนี้ไตรมาส 2/2564 เท่ากับ 31.2 หมายความว่า การหมุนเงินเพื่อใช้จ่ายและชำระหนี้ของครัวเรือนอีสาน อยู่ในระดับแย่
∙ 4) ดัชนีการซื้อของมูลค่าสูงไตรมาส 2/2564 เท่ากับ 29.4 หมายความว่า ความมั่นใจของ ครัวเรือนอีสานในการซื้อของมูลค่าสูง อยู่ในระดับแย่
∙ 5) ดัชนีภาวะเศรษฐกิจครัวเรือนอีสานไตรมาส 2/2564 เท่ากับ 31.6 หมายความว่า ภาวะ เศรษฐกิจครัวเรือนอีสานโดยรวม อยู่ในระดับแย่
ดัชนีคาดการณ์ไตรมาส 3/2564 มีรายละเอียดดังนี้
∙ 1) ดัชนีรายได้และทรัพย์สินครัวเรือนคาดการณ์ไตรมาส 3/2564 เท่ากับ 38.7 หมายความ ว่า รายได้และทรัพย์สินครัวเรือนอีสาน จะอยู่ในระดับแย่
∙ 2) ดัชนีโอกาสหางานใหม่หรือเริ่มธุรกิจใหม่คาดการณ์ไตรมาส 3/2564 เท่ากับ 30.5 หมายความว่า โอกาสหางานใหม่หรือเริ่มธุรกิจใหม่ในอีสาน จะอยู่ในระดับแย่ ∙ 3) ดัชนีการหมุนเงินเพื่อใช้จ่ายและชำระหนี้คาดการณ์ไตรมาส 3/2564 เท่ากับ 32.8 หมายความว่า การหมุนเงินเพื่อใช้จ่ายและช าระหนี้ของครัวเรือนอีสาน จะอยู่ในระดับแย่ ∙ 4) ดัชนีการซื้อของมูลค่าสูงคาดการณ์ไตรมาส 3/2564 เท่ากับ 29.8 หมายความว่า ความ มั่นใจของครัวเรือนอีสานในการซื้อของมูลค่าสูง จะอยู่ในระดับแย่
∙ 5) ดัชนีภาวะเศรษฐกิจครัวเรือนอีสานคาดการณ์ไตรมาส 3/2564 เท่ากับ 32.9 หมายความ ว่า ภาวะเศรษฐกิจครัวเรือนอีสานโดยรวม จะอยู่ในระดับแย่
เมื่อให้กลุ่มตัวอย่างประเมินผลงานรัฐบาลด้านเศรษฐกิจในช่วงไตรมาส 2/2564 ที่ผ่านมา พบว่า ได้คะแนนเพียง 20.3 เต็ม 100 ต่ำที่สุดตั้งแต่ทำการสำรวจมา เนื่องจากในไตรมาส 2/2564 เกิดระบาด ของโรคโควิด 19 ตั้งแต่เดือนเมษายน และครัวเรือนอีสานได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างมาก และ การเยียวยาของรัฐบาลไม่เพียงพอต่อผลกระทบที่ได้รับ ขณะที่ผลงานโดยรวมของรัฐบาลในช่วงไตรมาส 2/2564 ที่ผ่านมาได้คะแนนเพียง 22.3 เต็ม 100 ต่ำที่สุดตั้งแต่ทำการสำรวจมา เนื่องจากการบริหาร จัดการปัญหาโรคโควิด 19 ไม่เป็นที่น่าพึงพอใจ
หมายเหตุ: คะแนนเต็ม 100
เมื่อสอบถามต่อว่า “ถ้ามีการเลือกตั้งใหม่ ท่านอยากให้ใครเป็นนายกรัฐมนตรีเพื่อมาฟื้นฟู เศรษฐกิจ” พบว่า อันดับหนึ่ง คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ร้อยละ 22.2 รองลงมาคุณพิธา ลิ้มเจริญ รัตน์ ร้อยละ 21.6 ตามมาด้วยหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ร้อยละ 18.8 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ร้อยละ 13.0 คุณอนุทิน ชาญวีรกุล ร้อยละ 11.8 คุณอภิสทิธิ์เวชชาชวีะ รอ้ ยละ 4.2 คุณชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ร้อย ละ 2.7 พลเอกเสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ร้อยละ 2.4 คุณจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ร้อยละ 0.4 และอื่นๆ ร้อยละ 2.9
ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง มีความเชื่อมั่นในการพยากรณ์99% และคลาดเคลื่อนได้บวก ลบ 4% ประกอบด้วยเพศหญิง ร้อยละ 51.4 เพศชายร้อยละ 48.6
อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 9.8 อายุ 26-30 ปี ร้อยละ 12.0 อายุ 31-40 ปี ร้อยละ 29.2 อายุ 41-50 ปี ร้อยละ 29.5 อายุ 51- 60 ปี ร้อยละ 16.1 และอายุ 61 ปีขึ้นไป ร้อยละ 3.4
การศึกษา ประถมศึกษา/ต ่ากว่า ร้อยละ 20.4 มัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 22.4 มัธยมศึกษา ตอนปลาย/ระดับปวช. ร้อยละ 15.6 ระดับอนุปริญญา/ปวส. ร้อยละ 17.6 ระดับปริญญาตรี ร้อยละ 22.5 และสูงกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 1.4
ด้านอาชีพส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร ร้อยละ 32.9 รองลงมา ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว/อาชีพ อิสระ ร้อยละ 14.0 รับจ้างทั่วไป/ใช้แรงงาน ร้อยละ 13.9 รับราชการ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 13.9 พนักงาน บริษัทเอกชน ร้อยละ 10.1 นักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 8.0 พ่อบ้าน/แม่บ้าน ร้อยละ 5.6 และ อื่นๆ ร้อย ละ 1.6
ด้านรายได้เฉลี่ยต่อเดือน รายได้ไม่เกิน 5,000 บาท ร้อยละ 8.8 รายได้ระหว่าง 5,001-10,000 บาท ร้อยละ 32.8 รายได้อยู่ระหว่าง 10,001-15,000 บาท ร้อยละ 20.3 รายได้ระหว่าง 15,001-20,000 บาท ร้อยละ 17.7 รายได้ระหว่าง 20,001-40,000 ร้อยละ 18.7 และรายได้มากกว่า 40,001 บาทขึ้นไป ร้อยละ 1.7