ตามที่นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขต ท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๓ ต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ ฉุกเฉินดังกล่าวออกไปเป็นคราวที่ ๑๓ จนถึงวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๔ และออกข้อกําหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕๕๘ (ฉบับที่ ๒๗) ลงวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๖๔ กําหนดเขตพื้นที่สถานการณ์ ปรับระดับการกําหนดเขตพื้นที่สถานการณ์เพื่อการบังคับใช้มาตรการควบคุมแบบ บูรณาการจําแนกตามเขตพื้นที่ เป็น ๕ ระดับ คือ พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (สีแดงเข้ม) พื้นที่ควบคุมสูงสุด (สีแดง) พื้นที่ควบคุม (สีส้ม) พื้นที่เฝ้าระวังสูง (สีเหลือง) และพื้นที่เฝ้าระวัง (สีเขียว) โดยกําหนดให้จังหวัดขอนแก่นเป็นพื้นที่ควบคุม นั้น
จังหวัดขอนแก่น ได้ออกประกาศ เรื่อง มาตรการ การเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (COMID-19) จังหวัดขอนแก่น ฉบับที่ ๑ ถึง ฉบับที่ ๑๓ ประกาศจังหวัดขอนแก่น เรื่อง ผ่อนปรน มาตรการ การเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) จังหวัดขอนแก่น ฉบับที่ ๑๔ ประกาศจังหวัดขอนแก่น เรื่อง ผ่อนคลายมาตรการ การเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จังหวัดขอนแก่น ฉบับที่ ๑๕ ถึง ฉบับที่ ๑๙ ประกาศจังหวัดขอนแก่น เรื่อง มาตรการ การเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จังหวัดขอนแก่น ฉบับที่ ๒๐ ถึง ฉบับที่ ๓๐ ประกาศจังหวัด ขอนแก่น เรื่อง ผ่อนคลายมาตรการ การเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จังหวัดขอนแก่น ฉบับที่ ๓๑ ประกาศจังหวัดขอนแก่น เรื่อง มาตรการ การเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จังหวัดขอนแก่น ฉบับที่ ๓๒ ถึง ฉบับที่ ๔๒ ประกาศจังหวัดขอนแก่น เรื่อง ผ่อนคลาย มาตรการ การเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จังหวัดขอนแก่น ฉบับที่ ๔๓ และประกาศจังหวัดขอนแก่น เรื่อง มาตรการ การเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จังหวัดขอนแก่น ฉบับที่ ๔๔ ถึง ฉบับที่ ๔๗ รวม ๔๗ ฉบับ แล้วนั้น เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในปัจจุบันมีจํานวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ในอัตราที่สูงและกระจายตัวออกไป ในหลายพื้นที่อย่างรวดเร็วจากการเคลื่อนย้ายของบุคคล และพบการติดเชื้อแบบกลุ่มก้อน (Cluster) ในพื้นที่ที่มีความ แออัดหลายพื้นที่ทั่วประเทศและพบการติดเชื้อแบบกลุ่มก้อน (Cluster) ในบางพื้นที่ในจังหวัดขอนแก่น ดังนั้นเพื่อให้การ ดําเนินมาตรการด้านสาธารณสุขโดยมุ่งเน้นความปลอดภัยของประชาชนในเขตพื้นที่จังหวัดขอนแก่นเป็นสําคัญและ สามารถขับเคลื่อนควบคู่ไปกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้ยังคงดําเนินการต่อไปได้ จึงมีความจําเป็นที่จะต้องใช้มาตรการ เฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคอย่างต่อเนื่อง จนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดจะอยู่ในระดับที่ควบคุมได้หรืออยู่ใน วงจํากัด
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๒๒ (๑) (๗) มาตรา ๓๔ และมาตรา ๓๕ แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ ประกอบข้อกําหนด ออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๕๔ (ฉบับที่ ๒๗) ลงวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๖๔ คําสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
ข้อ ๑. ให้ยกเลิก ประกาศจังหวัดขอนแก่น เรื่อง ผ่อนคลายมาตรการ การเฝ้าระวัง ป้องกัน และ ควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จังหวัดขอนแก่น (ฉบับที่ ๔๔), (ฉบับที่ ๔๕) และ (ฉบับที่ ๔๖)
ข้อ ๒.ข้อปฏิบัติในการสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า เมื่ออยู่นอกเคหสถานหรืออยู่ในที่ สาธารณะ เพื่อลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อและป้องกันมิให้เกิดสภาวะที่ไม่ถูกสุขลักษณะเพื่อจํากัดวงในการระบาดของโรค เมื่ออยู่นอกเคหสถานหรือเมื่ออยู่ในที่สาธารณะ ให้ประชาชนสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า และต้องสวมให้ถูกวิธี ตามที่กระทรวงสาธารณสุขแนะนํา
เมื่อพบผู้ไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ว่ากล่าวตักเตือนและสั่งให้ผู้นั้นปฏิบัติให้ถูกต้อง ถ้าผู้นั้นไม่ปฏิบัติตาม ให้ดําเนินการตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติมต่อไป
ข้อ ๓.การห้ามจัดกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรค A5
ห้ามจัดกิจกรรมซึ่งมีการรวมกลุ่มกันของบุคคลที่มีจํานวนรวมกันมากกว่าหนึ่งร้อยห้าสิบคน เว้นแต่กรณี ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเป็นกิจกรรมที่ดําเนินการโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเป็นกิจกรรมในพื้นที่ ที่กําหนดให้เป็นสถานที่กักกันโรค โดยให้ดําเนินการตามมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกําหนดอย่างเคร่งครัด จนกว่าจะมีคําสั่งเปลี่ยนแปลง
ข้อ ๔ มาตรการควบคุมแบบบรณาการต่อเนื่อง
ก.ร้านจําหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม ให้งดจําหน่ายสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และห้ามดื่มสุรา หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้าน จนกว่าจะมีคําสั่งเปลี่ยนแปลง
ข.ให้ปิดโรงเรียนหรือสถานศึกษาในระดับมัธยมศึกษา ประถมศึกษา อนุบาล และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ทุกแห่งและทุกสังกัด โดยให้จัดการเรียนการสอนตามที่กระทรวงศึกษาธิการกําหนด งดจัดการเรียนการสอนที่โรงเรียน (On Site) เว้นแต่เป็นสถานศึกษาที่ดูแลเด็กพิเศษ และ/หรือมีลักษณะเป็นที่พักประจํา ให้สามารถจัดการเรียนการสอนได้ แต่ห้ามนักเรียนออกนอกสถานศึกษาและห้ามผู้ปกครองหรือบุคคลภายนอกเข้าเยี่ยมในสถานศึกษา จนกว่าจะมีคําสั่ง เปลี่ยนแปลง สําหรับสถานศึกษาระดับอื่น ให้เป็นดุลพินิจของผู้บริหารสถานศึกษาแห่งนั้นๆ ในการพิจารณาจัดการเรียน การสอน การใช้อาคารสถานที่ ทั้งนี้ต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด
ค.ให้ปิดสถานบริการ สถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายสถานบริการ สถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ สถานประกอบกิจการอาบน้ํา สถานประกอบกิจการอาบอบนวด หรือสถานที่อื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน โดย ให้ปิดเป็นการชั่วคราว จนกว่าจะมีคําสั่งเปลี่ยนแปลง ยกเว้นสถานประกอบการเพื่อสุขภาพตามพระราชบัญญัติสถาน ประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ.๒๕๕๔ ให้เปิดดําเนินการได้
ง.สนามกีฬา หรือสถานที่เพื่อการออกกําลังกาย ยิม ฟิตเนส ให้สามารถเปิดให้บริการได้ตามปกติ และสามารถจัดแข่งขันกีฬาได้โดยจํากัดจํานวนผู้ชมในสนาม โดยให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกําหนด อย่างเคร่งครัด
จ.ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ ให้เปิดดําเนินการได้ตามเวลาปกติของสถานที่นั้น ๆ ยกเว้นส่วนที่เป็นตู้เกม เครื่องเล่น ร้านเกม และสวนสนุก ให้งดการให้บริการ
ฉ.ตู้เกม เครื่องเล่น ร้านเกม และสวนสนุก ที่ตั้งอยู่นอกห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ ให้เปิดดําเนินการได้ภายในกําหนดเวลาปกติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องของสถานที่นั้น ๆ โดยให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกัน โรคที่ทางราชการกําหนดอย่างเคร่งครัด
ช.ร้านสะดวกซื้อ ซูเปอร์มาร์เก็ต ตลาดนัดกลางคืน ตลาดโต้รุ่ง ถนนคนเดิน ให้เปิดดําเนินการได้ ตามเวลาปกติของสถานที่นั้น ๆ โดยให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกําหนดอย่างเคร่งครัด
ซ.สนามชกมวย และสถานที่ที่จัดให้มีการพนันชกมวยตามกฎหมาย ให้สามารถดําเนินการได้ โดยจํากัดจํานวนผู้ชมในสนาม โดยให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกําหนดอย่างเคร่งครัด
ข้อ ๕.การหลีกเลี่ยงหรือการชะลอการเดินทาง ให้ประชาชนหลีกเลี่ยงหรือชะลอการเดินทางข้ามจังหวัดในช่วงเวลานี้โดยไม่มีเหตุจําเป็น
ข้อ ๖.การจัดกิจกรรมทางสังคม
(๑) ขอความร่วมมือให้ประชาชนงดการจัดกิจกรรมทางสังคมในลักษณะที่เป็นงานสังสรรค์ งานเลี้ยง หรืองานรื่นเริงในช่วงเวลานี้ เว้นแต่เป็นกรณีการจัดพิธีการตามประเพณีนิยมและมีมาตรการป้องกันโรคที่เพียงพอ เพื่อลดโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
(๒) ให้งดการจัดคอนเสิร์ต รถแห่ โรงมหรสพตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.๒๕๒๒ และ ที่แก้ไขเพิ่มเติม หรือการแสดงอื่นใดที่มีลักษณะคล้ายกัน ไว้เป็นการชั่วคราว จนกว่าจะมีคําสั่งเปลี่ยนแปลง ยกเว้นโรงภาพยนตร์ให้เปิดดําเนินการได้ ภายใต้การปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกําหนดอย่างเคร่งครัด
ข้อ ๗.มาตรการการตรวจสอบเข้มงวดกับสถานที่หรือกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของ โรคแบบกลุ่มก้อน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้มงวดในการตรวจสอบสถานที่หรือกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาด ของโรค เช่น โรงงาน สถานที่พักของแรงงานต่างด้าว หรือสถานที่อื่น ๆ ให้เป็นไปตามเงื่อนไข เงื่อนเวลา การจัดระบบ และระเบียบ รวมทั้งมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกําหนด
ข้อ ๘.มาตรการเพื่อรองรับผู้ติดเชื้อ
(๑) ให้ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ทุกรายเข้ารับการตรวจรักษาและเข้ารับการแยกกักหรือการกักกันในสถานที่ และตามระยะเวลาซึ่งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ฝ่ายสาธารณสุขกําหนดจนกว่าจะได้ตรวจ ทางการแพทย์แล้วว่าพ้นระยะติดต่อของโรคหรือสิ้นสุดเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรค
(๒) ให้ผู้ติดเชื้อโควิด-19 หรือผู้ที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าติดเชื้อรีบแจ้งต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ฝ่ายสาธารณสุข หรือผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในพื้นที่ทันทีเมื่อทราบว่าตนติดเชื้อหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่า ติดเชื้อดังกล่าวเพื่อรับทราบแนวปฏิบัติตนและเข้ารับการแยกกักหรือกักกันเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนที่จะเข้ารับการ ตรวจหรือรักษาตามขั้นตอนทางสาธารณสุขต่อไป
ข้อ ๙. การบังคับใช้มาตรการป้องกันโรค ให้เจ้าของ ผู้ประกอบการ หรือผู้ดูแลรับผิดชอบสถานที่ กิจกรรมและกิจการต่าง ๆ จัดให้มีมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกําหนด และให้ผู้ใช้บริการหรือเข้าไปยังสถานที่ หรือร่วมทํากิจกรรมเช่นว่านั้น ถือปฏิบัติดังนี้
(๑) ให้จัดบริการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย หรือคัดกรองอาการป่วยในระบบทางเดินหายใจ (๒) ให้ทุกคนสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้า
(๓) ให้จัดการอํานวยความสะดวกในการเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล อย่างน้อยหนึ่งเมตร และจํากัด จํานวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมมิให้แออัด หากมีการจัดกิจกรรมให้พิจารณาตามสัดส่วนของพื้นที่กับผู้ร่วมกิจกรรมในพื้นที่ปิด ขนาด ๕ ตารางเมตรต่อคน ในพื้นที่เปิดขนาด ๔ ตารางเมตรต่อคน
(๔) จัดให้มีที่ล้างมือด้วยสบู่ แอลกอฮอล์ หรือน้ํายาฆ่าเชื้อโรค
(๕) จัดให้มีการเช็ดทําความสะอาดพื้นผิวสัมผัสของสถานที่ที่เกี่ยวข้องก่อนการทํากิจกรรม รวมทั้ง ระหว่าง และภายหลังการทํากิจกรรมด้วย
(๖) จัดให้มีการลงทะเบียนและใช้แอปพลิเคชั่น “ไทยชนะ” หรือ “หมอชนะ” ในการเข้าออกสถานที่สาธารณะ
๔/ หากผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคําสั่ง
หากผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคําสั่งในประกาศนี้ มีความผิดตามมาตรา ๑๘ แห่งพระราชกําหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕๔๘ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ และมีความผิดตามมาตรา ๕๑ แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๔ ต้องระวางโทษ ปรับไม่เกินสองหมื่นบาท ตามมาตรา ๕๒ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือ ทั้งจําทั้งปรับ
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๑
กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๔
(นายสมศักดิ์ จังตระกุล) ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ประธานกรรมการโรคติดต่อจังหวัดขอนแก่น ผู้อํานวยการศูนย์บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินจังหวัดขอนแก่น