โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) หรือ U2T ที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ จากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมที่ จัดสรรงบประมาณเพื่อช่วยเหลือพี่น้องประชาชน บัณฑิตจบใหม่ และนักศึกษา ให้ได้ทำงานในโครงการเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และเน้นการทำงานการช่วยเหลือในพื้นที่ภาคอีสานที่วิทยาเขตตั้งอยู่ โดยได้นำนโยบายจาก ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย นายกสภา มทร.อีสาน มาลงพื้นที่และปรับใช้ในการช่วยเหลือสังคมในภาวะวิกฤติการระบาดเชื้อโควิด-19 การเกิดภัยพิบัติธรรมชาติด้านต่างๆ อีกทั้ง รศ.ดร.โฆษิต ศรีภูธร รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ได้เน้นให้ ผู้บริหาร คณาจารย์ นักวิจัย ตลอดจนบุคลากรและนักศึกษา ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่ และปลูกฝังความเป็นผู้เสียสละมีความเป็นจิตอาสาเพื่อช่วยเหลือสังคม น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นหลักในการทำงาน
ผศ.ดร.อังคณา เจริญมี อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม ซึ่งเป็น หัวหน้าโครงการ U2T พื้นที่รับผิดชอบ ตำบลกุดธาตุ อำเภอหนองนาคำ จังหวัดขอนแก่น ได้นำผู้รับจ้างงาน ภาคประชาชน บัณฑิตจบใหม่ นักศึกษา ลงพื้นที่ อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ ทำงานในภาวะการระบาดเชื้อโควิด -19 อย่างทุ่มเทเต็มกำลังความสามารถจนได้ข้อมูลพื้นฐานนำมาสู่การวางแผนการทำกิจกรรม ตำบลกุดธาตุ อำเภอหนองนาคำ มีประชากรประมาณ 11,726 คน จำนวนครัวเรือน 2,698 ครัวเรือน พื้นที่ประมาณ 68 ตารางกิโลเมตร 67,500 ไร่ 16 หมู่บ้าน มีอาชีพหลักคือการทำเกษตรกรรม
จาการลงพื้นที่ ระดมความคิดเห็นทั้งผู้นำชุมชนทำให้ได้แนวทางการดำเนินงาน ที่ พี่น้องประชาชนต้องการ คือการสร้างรายได้เสริมจากการเพาะปลูกพืชชนิดอื่น ๆ นอกจากการทำนา เพื่อเพิ่มรายได้ สร้างอาชีพ สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน และต้องการเป็นต้นแบบการทำระบบสมาร์ทฟาร์มในอำเภอหนองนาคำ เน้นการทำงานแบบมีส่วนร่วมกับชุมชน และสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีในระบบสมาร์ทฟาร์ม รูปแบบต่าง ๆ ทั้งแปลงปลูก ระบบควบคุมแบบอัจฉริยะ คณาจารย์นักวิจัย มทร.อีสาน วิทยาเขตขอนแก่นจึงชู แพลตฟอร์มขอนแก่น 4 D เกษตรอินทรีย์ผสมผสานอัจฉริยะ
การดำเนินกิจกรรมได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี จากผู้นำทางศาสนา ผู้นำชุมชนทุกระดับ และพี่น้องประชาชนในพื้นที่ มีการนำทัศนศึกษาที่ ไร่โมมา ฟาร์มผักไฮโดรโปนิกส์ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรวิถีอินทรีย์กระนวน โครงการทหารพันธุ์ดี ค่ายเปรมติณสูลานนท์ และได้มีการฝึกอบรมให้ความรู้ ด้านการผลิตปุ๋ยชีวภาพ สารปรับปรุงดิน การเตรียมดิน การเพาะต้นกล้า และการปลูกผักปลอดสาร โดยชาวบ้านในแต่ละหมู่มีการแบ่งงานการรวมกลุ่มเพื่อสร้างความเข้มแข็งและได้จัดตั้งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เพื่อการพัฒนาอาชีพอย่างยั่งยืน
ปัจจุบันนี้พื้นที่สาธารณะบ้านนาดีขนาด 400 ตารางเมตร ประกอบด้วยโรงเรือนเหล็กยกแปลงปลูกสูงขนาด4*18 ตร.ม 2 โรงเรือน และโรงเรือนไม้ไผ่ขนาด4*18 ตร.ม. 2 โรงเรือน พร้อมด้วยระบบควบคุมการให้น้ำแบบสปริงเกอร์ แบบหัวพ่นหมอก และระบบน้ำหยด สามารถทำงานผ่านแอพพลิเคชั่น และการปลูกผักหลายรูปแบบ ทีมผู้รับผิดชอบโครงการได้ดำเนินการอบรมเชิงปฏิบัติการ สามารถรองรับการปลูกผักได้ (1080*2)+(630*5)ต่อหนึ่งรอบการปลูก ใช้ระยะเวลาปลูกประมาณ 30 วันต่อหนึ่งรอบการปลูกก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้
จากการดำเนินกิจกรรมครั้งนี้ ได้มีการจัดตั้งกลุ่มอาชีพดังนี้ กลุ่มผักโนนนกทานาดีผักปลอดสาร กลุ่มดินสะอาด และกลุ่มเพาะต้นกล้าปลอดสารศรีวิไล โดยทำข้อตกลงกันว่าทุกกลุ่มจะเชื่อมโยงกิจกรรมและสั่งซื้อดินและต้นกล้ามาลงแปลงปลูกเป็นเวลา 3 ปี ทำให้เกิดการหมุนเวียนของเศรษฐกิจ มาจนถึงวันนี้ U2T ตำบลกุดธาตุ อำเภอหนองนาคำ พร้อมจำหน้ายผักปลอดสารรุ่นแรกที่ปลูกโดยกลุ่มอาชีพ วันที่ 23 ก.ค.นี้ ราคารต้นละ 10 บาท ติดตามที่เพจ โนนนกทา นาดี ผักอินทรีย์สมาร์ทฟาร์ม