วันที่ 10 ก.ย. 64 นายกอบชัย บุญอรณะ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ลงนามโทรสารในราชการ กองอํานวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดนครราชสีมา ด่วนที่สุด ที่ นม (กปภจ) ๐ ๒๑/ว ๕๕๕๒ ระบุดังนี้ด้วยกองอํานวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดนครราชสีมา ได้รับแจ้ง จากโครงการส่งน้ําและบํารุงรักษามูลบน อําเภอครบุรี ว่าปัจจุบันอ่างเก็บน้ํามูลบน มีปริมาณน้ํา 103.45 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 73.37 ของความจุเก็บกัก ซึ่งขณะนี้ได้ระบายน้ําตามแผนการส่งน้ําฤดูนาปี 2564 ลงลํามูลในปริมาณรวม 0.5 ถึง 0.ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน พร้อมทั้งมีการปรับแผน การบริหารจัดการน้ําให้เหมาะสม และสอดคล้องกับสถานการณ์น้ําในพื้นที่ จึงขอให้ประชาชนในพื้นที่ลุ่มต่ํา สองฝั่งลํามูลในเขตอําเภอครบุรี อําเภอโชคชัย อําเภอเฉลิมพระเกียรติ และอําเภอเมืองนครราชสีมา ติดตามข้อมูลข่าวสารของทางราชการอย่างใกล้ชิด และเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์ปริมาณฝนตกในพื้นที่ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากเกิดกรณีฝนตกใต้อ่างเก็บน้ําเป็นจํานวนมาก อาจเกิดน้ําไหลหลาก น้ําล้นตลิ่งเข้าท่วม บ้านเรือน และพื้นที่การเกษตรของประชาชนได้
กองอํานวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดนครราชสีมา พิจารณาแล้วเพื่อเป็นการ ป้องกันและแก้ไขปัญหากรณีเกิดสถานการณ์น้ําล้นตลิ่ง และน้ําไหลหลากในพื้นที่ จึงขอให้อําเภอครบุรี อําเภอโชคชัย อําเภอเฉลิมพระเกียรติ และอําเภอเมืองนครราชสีมา ประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีพื้นที่ติดลํามูลบน และอาจได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าว ดําเนินการ ดังนี้
1. แจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงภัย พื้นที่ลุ่มต่ําริมสองฝั่งลําน้ํา และพื้นที่ ริมตลิ่ง ให้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เตรียมเก็บทรัพย์สิน สิ่งของ และเอกสารสําคัญไว้ที่ปลอดภัย โดยประชาสัมพันธ์ผ่านทางวิทยุกระจายเสียง เสียงตามสาย หอกระจายข่าวประจําหมู่บ้าน เครือข่ายวิทยุ สมัครเล่น สถานีโทรทัศน์และเคเบิ้ลท้องถิ่น สื่อโซเชียล ต่างๆ รวมถึงให้ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัคร แจ้งข้อมูลให้ประชาชนในพื้นที่ทราบโดยตรงอีกทางหนึ่งด้วย
2. ติดตามสถานการณ์น้ํา และจัดเวรเฝ้าระวังประจําตามจุดเสี่ยงต่างๆ เพื่อประเมิน สถานการณ์ที่จะส่งผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ กรณีประเมินสถานการณ์แล้วพบว่า จะก่อให้เกิดอันตราย ต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่ให้ สั่งอพยพประชาชนไปยังจุดอพยพที่ได้จัดเตรียมไว้โดยทันที
3.แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมความพร้อมเผชิญเหตุ รวมทั้งบูรณาการหน่วยงาน เครือข่าย ภาคเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ เตรียมความพร้อมทรัพยากร เครื่องจักรกลสาธารณภัย และปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการ/แผนเผชิญเหตุป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอําเภอ/องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น รวมถึงจัดกําลังเจ้าหน้าที่เข้าเผชิญเหตุ และให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยตลอด 24 ชั่วโมง จนกว่าสถานการณ์จะยุติ
4. ให้ความสําคัญกับการดูแลเด็กเล็ก คนชรา ผู้พิการ และผู้ป่วยติดเตียงอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะเด็กเล็กอย่าให้อยู่โดยลําพัง และลงเล่นน้ํา เพราะอาจเกิดการจมน้ําเสียชีวิตได้
5. อาคารบังคับน้ําในลํามูลที่อยู่ในความดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ท้องที่ ขอให้ตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับน้ําหลาก ป้องกันน้ําท่ว
6.หากเกิดสถานการณ์ในพื้นที่ให้รายงานสถานการณ์ และผลการดําเนินการ ตามแบบรายงาน เหตุด่วนสาธารณภัย พร้อมภาพถ่ายให้กองอํานวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดนครราชสีมา ทราบทันที จนกว่าสถานการณ์จะสิ้นสุด ทางโทรศัพท์/โทรสาร หมายเลข 0-5425-2530 และกลุ่มไลน์ “ศบก.จังหวัดนครราชสีมา” (ตาม QR Code ท้ายโทรสารฯ นี้)