นายทะเบียนสหกรณ์เป็นปัญหาหลักทำงานช้ามากกว่าจะตัดสินว่าถูกหรือผิดใช้เวลาเป็นปี จนสมาชิกต้องลงมือฟ้องเอง
เรา(ผู้เขียน) จะเริ่มจากคำพิพากษาศาลจังหวัดนครราชสีมาที่สมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ครูนครราชสีมา จำกัด(สอ.นม.) 7 คนได้แก่ นางสาวนิภาพร แสงพิศุทธิ์ นายประชัน ขยันงาน นายวีรวงศ์ เบ็ญจมาศ นางสาวจารุจิตต์ ชูตระกูล นายอดิศักดิ์ ชนสูงเนิน นายกล้าหาญ ยุทธกล้า และนางวิชมัด งามจิตร ร่วมกันเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง “ยักยอก” จำเลยได้แก่ นายทอง วิริยะจารุกับพวกรวม 12 คน ศาลฯ ได้นัดอ่านคำพิพากษาตามคดีหมายเลขแดงที่ 769-770/2560 ระหว่างพิจารณาโจทก์ที่ 2 (นายประชันฯ) ถอนฟ้องจำเลยที่ 1 (นายทองฯ) สรุปใจความอย่างสั่นว่า “…ส่วนคดีที่โจทก์ทั้งเจ็ดนำสืบแต่เพียงว่า จำเลยทั้งสิยสองนำเงินไปลงทุนกับสหกรณ์เครดิตยูเนียนคลองจั่น จำกัด(สคจ.) เมื่อระหว่างวันที่ 8 กันยายน 2554 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2555 เป็นเงิน 650 ล้านบาท โดยไม่ได้ปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาการพัฒนาสหกรณ์แห่งชาติ…โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยทั้งสิบสองได้รับผลประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายจากการกระทำดังกล่าว อีกประการหนึ่งแม้จะฟังว่าจำเลยทั้งสิบสองนำเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ครูนครราชสีมา จำกัดไปลงทุนกับสหกรณ์เครดิตยูเนียนคลองจั่น จำกัดโดยผิดระเบียบข้อบังคับก็เป็นเพียงการปฏิบัติหน้าที่โดยผิดระเบียบเท่านั้น ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสิบสองมีเจตนาทุจริต หากโจทก์ทั้งเจ็ดในฐานะสมาชิก สอ.นม. ได้รับความเสียหายเพราะเหตุที่จำเลยทั้งสิบสองปฏิบัติผิดระเบียบ ก็เป็นเรื่องของโจทก์ทั้งเจ็ดจะต้องว่ากล่าวในทางอื่นกับจำเลยทั้งสิบสองต่อไป พยานหลักฐานที่โจทก์ทั้งเจ็ดนำสืบยังไม่เพียงพอให้รับฟังได้ว่า จำเลยทั้งสิบสองกระทำผิดตามฟ้อง คดีของโจทก์จึงไม่มีมูล พิพากษายกฟ้อง” (ย้ำอีกครั้งหนึ่ง “หากโจทก์ทั้งเจ็ดในฐานะสมาชิกสหกรณ์ได้รับความเสียหายเพราะเหตุที่จำเลยทั้งสิบสองปฏิบัติผิดระเบียบก็เป็นเรื่องของโจทก์ทั้งเจ็ดจะต้องว่ากล่าวกันในทางอื่นกับจำเลยทั้งสิบสองต่อไป” ย้ำๆๆๆ)
หลังจากศาลยกฟ้องแล้ว ปรากฏว่าทางจำเลยและสมาชิก สอ.นม.จำนวนมากรู้สึกว่า เศร้าเสียใจอย่างมาก ที่ไม่อาจเอาโทษกรรมการดำเนินการฯ ชุดที่ดำรงตำแหน่งระหว่าง 8 กันยายน 2554-28 กุมภาพันธ์ 2555 ได้ จึงได้ทำหนังสือเข้าชื่อกันร้องเรียนไปยังกลุ่มยุติธรรมภิวัฒน์ อันประกอบไปด้วยนายไชยวัฒน์ สินสุวงส์ (อดีตสมาชิกสภาผูแทนราษฎรกรุงเทพฯ พรรคพลังธรรม และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม) นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ (อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์ และอดีตประธานสหกรณ์ออมทรัพย์ครูนครราชสีมา จำกัดปี 2546-2547) เพื่อให้ช่วยทำการสอบสวนเรื่องร้องขอให้ตรวจสอบการบริหารกิจการสหกรณ์ออมทรัพย์ครูนครราชสีมา จำกัด ลงวันที่ 9 ตุลาคม 2561 (เป็นเวลา 3 ปีแล้ว) พร้อมลงลายมือชื่อมา 7 คน ประกอบด้วยนายธีรวิทย์ เดือนกลาง นายอดิศักดิ์ ชนสูงเนิน นายวิรวงศ์ เบ็ญจมาศ นายประชัน ขยันงาน นายเกียรติเชษฐ์ อกนิตย์เสนีย์ นายศักดิ์ พรมกระโทก และนางสาวจารุจินดา ชูตระกูล (เวลาปรึกษาจริงที่บ้านพักของนายไชยวัฒน์ฯ มีมากว่า 13 คน) สองเรื่องใหญ่มากคือเรื่อง การร่วมลงทุนกับ สคจ. จำนวน 650 ล้านบาท และการทำประกันชีวิต/วินาศภัยกลุ่มและการฌาปนกิจสงเคราะห์ ในตอนท้ายของหนังสือระบุว่า “ในการดำเนินการตามนี้ข้าพเจ้าและคณะเห็นว่าจะได้รับความเมตตาจากท่านเป็นอย่างดี สำหรับเอกสารหลักฐานต่างๆ ที่ส่งมาหากไม่เพียงพอ ถ้าจะหาเพิ่มเติมต้องขอจากนายทะเบียนนสหกรณ์ต่อไป” (ดูเอกสารประกอบ 1)
จากนั้นได้มอบหมายให้นายพิชัย สมพงษ์ และนายสัมนา ฉัตรบูรณจรัส (สูงเนิน) นายสำคัญ จงโกเย็น (เทพารักษ์) นายศิลป เศษกลาง(ปากช่อง) นายวันชัย ศิริธีรพัฒน์(ด่านขุนทด) และนายเสน่ห์ สุขนาคินทร์(เมืองฯ) ไปหาบุคคลซึ่งเป็นสมาชิก สอ.นม. หรือลงนามมอบอำนาจให้ดำเนินคดี(คนที่ไม่เป็นสมาชิก สอ.นม. คือนายสำคัญฯ และนายพิชัยฯ) มาร่วมกระบวนการนี้ให้มากขึ้นต่อไป
เป็นเวลานับ 3 ปีที่ นายพิชัยฯ นายสัมนาฯ นายศิลปฯ นายสำคัญฯ นายวันชัยฯ นางสำเนาว์ ศิริธีรพัฒน์ นางรัชนี กิจพนาพร และนายเสน่ห์ฯ และคนอื่นๆ ได้ใช้เวลาด้วยความวิริยะอุตสาหะเพื่อสมาชิกจำนวนถึง 2.8 หมื่นคนกับงานค้นคว้าการซ่อนเงื่อนเงินกู้จากสหกรณ์เครดิตยูเนียนคลองจั่น จำกัดจำนวน 650 ล้านบาท และงานที่จะสร้างความเสียหายให้กับสหกรณ์ออมทรัพย์ครูทั่วประเทศคือการสร้างหลักประกันเงินกู้ประกันภัย(ตามพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ.2535 และพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ.2535)และการสร้างองค์การฌาปนกิจสงเคราะห์หลายองค์กร(ตั้งชื่อกลับไปกลับมา) ตามพระราชบัญญัติการฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ. 2545 ทั่งสองเรื่องนี้ได้รับความร่วมมือด้วยดีจากนายพิชัยฯ นายสัมนาฯ นายวันชัยฯ นายศิลปฯ นายเสน่ห์ฯ นายสำคัญฯ และคนอื่นๆ จำนวนมากต่างส่งข้อมูลมาให้ และได้ทำการพิเคราะห์อย่างละเอียดจากนายสาโรช บุตรเนียร (เพื่อนที่เรียนมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม ซึ่งเขาเรียนจบนิติศาสตรบัญฑิต(น.บ.) และเนติบัณพิตยไทย(น.บ.ท.) และเป็นคณะทำงานที่ปรึกษานายแพทย์ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐ์ศิลป์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ) จนได้ค้นพบข้อมูลอันลึกลับแต่ไม่ซับซ้อน(เพราะว่ากรรมการดำเนินการ สอ.นม.ให้ผู้จัดการนายยงยุทธิ์ บัวทองผุด ลงนามรับรองส่งพยานเอกสารหรือพยานวัตถุจำนวนมากไปยังสหกรณ์จังหวัดนครราชสีมา(สกจ.นม.) ต่อมา สกจ.นม.ได้พยานเอกสารนั้นให้ศาลจังหวัดนครราชสีมาตามหนังสือสำนักงานสหกรณ์จังหวัดนครราชสีมาที่ นม 0010/3491 ลงวันที่ 7 ตุลาคม 2559 ลงนามโดยนายอมรศักดิ์ พันธุรักษา สหกรณ์จังหวัดนครราชสีมา***) จะกล่าวดังต่อไปนี้
(1)จากกรณีที่นายวันชัย ศิริธีรพัฒน์กับพวกได้เดินทางไปพบ สคจ. พร้อมยื่นหนังสือให้นางประภัสสร พงศ์พันธุ์พิศาล ประธานกรรมการดำเนินการชุดที่ 35 ผู้บริหารแผนสหกรณ์เครดิตยูเนียนคลองจั่น จำกัดตามหนังสือที่พิเศษ 8/2563 ลงวันที่ 1 กันยายน 2563 ทาง สคจ.ได้ทำหนังสือตอบมาในวันที่ 24 กันยายน 2563 (ที่ สคจ. 374 ลงวันที่ 24 กันยายน 2563) แจ้งว่า สคจ.ได้ดำเนินการตรวจสอบเอกสารกู้ยืมเงินระหว่าง สคจ.กับครูโคราช(สอ.นม.) ที่อยู่ในการครอบครองของ สคจ. ณ ปัจจุบัน แล้วสรุปได้ดังนี้ (ดูเอกสารประกอบ 2) สคจ. ได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้กับครูโคราช(สอ.นม.) ระหว่างปี 2554-2555 รวม 5 ฉบับ ดังนี้
ฉบับที่ 1.วันที่ 8 ธันวาคม 2554 สคจ. ออกตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับเลขที่ 054/028 จำนวนเงิน 150 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 6.75 เปอร์เซ็นต์ต่อปี ระยะเวลา 12 เดือน ครบกำหนดวันที่ 9 ธันวาคม 2555 (อ่านตั๋วสัญญาใช้เงิน 054/028 หมายความว่า 054 เป็นปี 2554 028 เป็นเลขที่ของตั๋วฯ)
ฉบับที่ 2.วันที่ 9 ธันวาคม 2554 สคจ. ออกตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับเลขที่ 054/029 จำนวน 150 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 6.75ฯ ระยะเวลา 12 เดือน ครบกำหนดวันที่ 10 ธันวาคม 2555
ฉบับที่ 3. วันที่ 19 มีนาคม 2555 สคจ.ออกตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับเลขที่ 055/010 จำนวนเงิน 100 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 6.50ฯ
ระยะเวลา 6 เดือน ครบกำหนดวันที่ 19 กันยายน 2555
ฉบับที่ 4. วันที่ 19 มีนาคม 2555 สคจ.ออกตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับเลขที่ 055/011 จำนวนเงิน 100 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 6.50ฯ ระยะเวลา 6 เดือน ครบกำหนดวันที่ 19 กันยายน 2555
ฉบับที่ 5. วันที่ 27 เมษายน 2555 สคจ. ออกตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับเลขที่ 055/014 จำนวนเงิน 50 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 6.75ฯ ระยะเวลา 20 วันครบกำหนดวันที่ 18 พฤษภาคม 2555 (***โปรดดูระเวลาสั้นมากเพียง 20 วัน ครบกำหนด 18 พฤษภาคม 2555 ต่อมาคืนตั๋วดูประหลาดพิสดารและตลกที่สุด
ฉบับที่ 5.1 วันที่ 1 พฤศจิกายน 2555 จ่ายคืนตั๋วฯ เลขที่ 055/14 บางส่วน(1) จำนวน 10 ล้านบาท
ฉบับที่ 5.2 วันที่ 4 ธันวาคม 2555 จ่ายคืนตั๋วฯ เลขที่ 055/14 (บางส่วน) จำนวน 10 ล้านบาท
ฉบับที่ 5.3 ดังนั้น ตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับเลขที่ 055/14 คงเหลือจำนวน 30 ล้านบาท (50-20=30 ล้านบาท) เมื่อตั๋วสัญญาใช้เงินทั้ง 5 ฉบับครบกำหนด สหกรณ์เครดิตยูเนียนคลองจั่น จำกัดได้คืนตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวน 530 ล้านบาท” หนังสือสคจ. ฉบับนี้ระบุค่อนชัดแจ้ง(แดงแจ๋)
คำว่า “ชัดแจ้งแดงแจ๋” นั้นย่อมหมายความว่า ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ผู้จัดการลงนามและสหกรณ์จังหวัดนครราชสีมายื่นต่อศาลจังหวัดนครราชสีมา(กฎหมายถือเป็นเอกสารสาธารณะ) ทำให้ประชาชนทั่วไปและสมาชิกสหกรณ์ฯ จำนวน 2.8 หมื่นคนย่อมสงสัยว่า เอกสารที่เป็นตั๋วที่ สอ.นม.ยื่นต่อศาลฯ นั้น น่าจะเป็นเอกสารปลอม(และใช้เอกสารปลอม) ถ้าผู้ออกเอกสารนั้นเป็นคนที่ไม่มีอำนาจออก แต่น่าจะสงสัยอีกเช่นกันว่าเป็นการสร้างเอกสารเท็จ ถ้าผู้ออกเอกสารนั้นมีอำนาจการออกแต่ทำให้ผิดจากข้อเท็จจริง คำถามของนายพิชัยฯ นายศิลปฯ และคนอื่นๆจึงมีว่า “ตั๋วสัญญาฯ ท่านยื่นต่อศาลฯดังต่อไปนี้เป็นเอกสารจริงหรือเป็นเอกสารเท็จ หรือเป็นเอกสารปลอม ท่านโปรดดูอย่างพินิจพิเคราะห์ ตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวน 5 ฉบับ 1. ฉบับเลขที่ 055/007 จำนวนเงิน 150 ล้านบาท 2. ฉบับเลขที่ 055/013 จำนวนเงิน 100 ล้านบาท 3. ฉบับเลขที่ 055/019 จำนวน ล้านบาท 4. ฉบับเลขที่ 054/020 จำนวน 100 ล้านบาท 5. ฉบับเลขที่ 054/028 จำนวน 150 ล้านบาท นั้นน่าจะเป็นฉบับจริงหรือฉบับปลอมหรือฉบับเท็จ เอาเป็นว่าขอร้องให้ (1) รองนายทะเบียนสหกรณ์สหกรณ์จังหวัดนครราชสีมาผู้ใช้อำนาจตามมาตรา 16-17-18-19-20-21-22 ตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 และคำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์ที่ 1 และที่ 2/2562 เป็นผู้ออกหนังสือสำนักงานสหกรณ์ฯที่ นม 0010/ 3881 ลงวันที่ 18 กันยายน 2556 (เอกสารน่าตรวจสอบต่อมาถูกใช้อ้างอิงว่าสามารถทำได้ตามกฎหมายข้อบังคับและระเบียบสหกรณ์โดยนายสมศักดิ์ จักสาน ประธาน สอ.นม. ตอบหนังสือร้องเรียนนายศิลป เศษกลาง) หนังสือที่ นม 0010/ 1730 ลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2558 ตอบหนังสือกลุ่มปฏิรูปสหกรณ์ออมทรัพย์ครูนครราชสีมา จำกัด(นายวิทยา ดวงใจ) และผู้ส่งพยานเอกสารฯ ไปให้ศาลฯ ตามหนังสือ นม 0010/ตามหนังสือที่ นม 0010/3491 ลงวันที่ 7 ตุลาคม 2559 หนังสือที่ นม
0010/921 ลงวันที่ 6 มีนาคม 2563 (ด้วยความเคารพรองนายทะเบียนสหกรณ์ทั้ง 4 คนช่วยตอบด้วย) (2) กรรมการดำเนินการชุดระหว่างปี 2554-2555 ช่วยตอบให้กระจ่างจะขอบคุณอย่างมาก เพราะสมาชิกสหกรณ์ต่างเดือดร้อนมาก
(3) “ผู้ตรวจสอบกิจการ” จำนวน 5 คนช่วยตรวจสอบกิจการสหกรณ์ สอ.นม.ด้วยที่ผ่านมาไม่ปรากฏว่ามีรายงานของผู้ตรวจสอบกิจการที่เลือกตั้งไปจากสมาชิก แม้แต่ปีเดียวแต่ประการใด อันเป็นการกระทำที่น่าจะมีเจตนาพิเศษหรือไม่และผิดกฎหมายสหกรณ์ ข้อบังคับและนายทะเบียนสหกรณ์หรือไม่เพียงใด ในไม้ขีดก้านแรกตอน (14) นี้จะเสนอว่า การคืนตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวน 50 ล้านบาทที่ประหลาดพิสดารและตลกที่สุด (ดูเอกสารประกอบ 3) แค่นี้ก่อนความจริงจะเสนอเรื่องน่าจะปลอมหรือสร้างเอกสารเท็จไว้ประมาณ 15 จุด เอาไว้อ่านตอนต่อไป
คราวนี้ เราผู้เขียน)น่าจะเขียนเรื่องสหกรณ์ออมทรัพย์ครูขอนแก่น จำกัด (สอค.ขก.) ดูเหมือนจะยุ่งยากที่สุดในประเทศไทย เริ่มจากกลุ่มครูนักสู้ที่น่ายกย่อง(ในสามจังหวัดโคราช-ชัยภูมิและขอนแก่น) ในนามชมรมสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ครูขอนแก่น จำกัดร้องเรียนไปยังนายทะเบียนสหกรณ์ความโดยย่อว่า สอค.ขก.กระทำผิดกฎหมายประกันชีวิตประกันวินาศภัย สหกรณ์จังหวัดฯ ได้หารือไปยังสำนักงานส่งเสริมและกำกับการประกอบธุรกิจประกันชีวิต(ค.ป.ภ.) ได้รับคำตอบว่า ถ้าทำประกันชีวิตโดยไม่มีใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิตตามมาตรา 18 แห่งกฎหมายประกันชีวิต จากนั้นนางนวรัตน์ ชูทุ่งยอกับพวกจึงไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนแล้วรับเป็นคดีอาญาที่ 3324/2563 ต่อมาชมรมสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ครูขอนแก่น จำกัดนำโดยนายวิศร์ฯ และคนอื่นๆ ได้บุกไปที่สำนักงานสหกรณ์จังหวัดฯ พร้อมชูป้ายเพื่อคัดค้านการขยายเวลาให้คณะกรรมการดำเนินการฯ แก้ไขข้อบกพร่องตามคำสั่งฯ ที่ (ขก) 43/2564 ลงวันที่ 5 เมษายน 2564 ออกไปอีก 90 วันตามคำสั่งล่าสุดที่ (ขก) 48/2564 ลงวันที่ 19 กรกฎาคม 2564 โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 65 และ 66 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการปกครอง พ.ศ.2539 โดยอ้างว่า ติดสถานการณ์โควิด สมาชิกจำนวนมากกระจายในขอนแก่นและต่างจังหวัด และดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องมิให้ขาดสภาพคล่องทางการเงิน(กลัวจะซวนเซขนาดหนักจากผลการกระทำผิดกฎหมายของเหล่ากรรมการดำเนินการ) แต่สภาพที่เป็นจริงกรรมการดำเนินการกระทำผิดเงื่อนไขอย่างมากมายตามคำสั่งแก้ไขข้อบกพร่อง เมื่อเป็นดังนี้เหตุการณ์ที่กำลังรุมเร้าจึงเกิดขึ้น ฝ่ายกรรมการดำเนินการทำหนังสือไปทวงใบเสร็จที่ออกให้ผิดเงื่อนไขและผิดกฎหมายถึง 2 ครั้งแต่สมาชิกไม่ยอมให้คืน(เอาไว้เป็นพยานเอกสารหรือวัตถุต่อศาล) ฝ่ายนางนวรัตน์ฯ ก็ทำการร้องเรียนนายทะเบียนสหกรณ์ความว่า สหกรณ์จังหวัดฯ ปล่อยปละละเลยให้ สอค.ขก. ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าว นายทะเบียนฯ ได้มอบหมายให้ผู้ตรวจราชการกรมส่งเสริมสหกรณ์เขตฯ 12 ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงตามหนังสือของกรมส่งเสริมสหกรณ์ที่ กษ 1101/5026 ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2564(ดูเอกสารประกอบขบวนการครูขอนแก่น 4)
ท่านทั้งหลายจะเห็นว่า ขบวนการของ “ผีดูดเลือดครู” นั้นยอมรับว่ามีมากจริงๆ อาจจะเรียกได้ว่าเกือบทุกสหกรณ์ก็ว่าได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ทางนายกรัฐมนตรีจึงมีบัญชาให้สำนักนายกรัฐมนตรีมีหนังสือแจ้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ตามหนังสือด่วนที่สุดสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีที่ นร 0505/13582 ลงวันที่ 30 เมษายน 2563 คณะรัฐมนตรีมีมติให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ติดตามตรวจสอบการดำเนินกิจการของสหกรณ์ต่างๆอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง รายงานต่อนายกรัฐมนตรีทุกๆ 1 เดือน ในครั้งนั้นเรา(ผู้เขียน) ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนดังนี้ นายสมเกียรติ กล่าวว่า“นายทะเบียนสหกรณ์เป็นปัญหาหลักทำงานช้ามากกว่าจะตัดสินว่าถูกหรือผิดใช้เวลาเป็นปี จนสมาชิกต้องลงมือฟ้องเองเช่น สหกรณ์ครูมหาสาคาม สหกรณ์ครูขอนแก่น และสหกรณ์ครูนครราชสีมา (ข่าวออนไลน์ “ลุงตู่มาแล้ว…จี้นายทะเบียนสหกรณ์รายงานความโปร่งใส/สภาพคล่องทุกเดือน”. Esanbiz.com.) และขณะนี้สมาชิกหลายสหกรณ์เตรียมการที่จะฟ้องร้องนายทะเบียนฯ รองนายทะเบียนฯ และผู้ตรวจราชการกรมฯ ต่อศาลทุจริตฯ และศาลปกครองแล้ว
โปรดติดตามการฟ้องร้องผีดูดเลือดครูและแวดวงของนายทะเบียนสหกรณ์ต่อไป
(ติดตามตอนที่ 15 เล่ห์เพทุบายการสร้างเอกสารปลอมหรือเท็จและการร้องฟอกเงินไปดีเอสไอ).