
เมื่อวันที่ 26 ก.ย.2564 ‘สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดนครราชสีมา’ รระบุว่า สถานการณ์น้ำบริเวณก่อสร้างประตูระบายน้ำ อ่างเก็บน้ำลำเชียงไกร (ตอนล่าง) ที่เห็นในคลิปเป็นเพียงคันดินกั้นน้ำเพื่อการก่อสร้างถูกน้ำเซาะเท่านั้น ล่าสุดจังหวัดออกหนังสือแจ้งเตือนเรื่องน้ำล้นอ่างและเพิ่มการปล่อยน้ำแล้วขออนุญาตเจ้าของคลิป ใช้เพื่อการแจ้งเตือนและอธิบายเท่านั้น ยัน ลำเชียงไกร #ไม่แตก
จากกรณีสื่อโซเชียล ส่งข้อความประกาศเตือน ว่า อ่างเก็บน้ำลำเชียงไกรแตกขอให้ประชาชนที่อาศัยในพื้นที่ท้ายอ่าง เร่งขนของขึ้นที่สูง นั้น ไม่จริง
เมื่อเวลา 21.00 น. ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน ได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน ถึงสถานการณ์ที่ลำเชียงไกร จ.นครราชสีมา โดยรองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า “ ลำเชียงไกร ไม่ได้แตก” จุดที่เกิดปัญหา คือ จุดที่มีไซด์งานก่อสร้าง อาคาร และทางระบายน้ำ โดยผู้รับจ้างดำเนินการก่อสร้างไปได้แล้วร้อยละ 70
แต่ขณะก่อสร้าง มีฝนตกหนัก และน้ำจากตัวอ่างลำเชียงไกร มีปริมาณน้ำเกินความจุอ่าง ทำให้น้ำล้นสปินเวย์ มาสมทบกับตรงจุดก่อสร้าง ประกอบกับ ช่วงก่อสร้างใช้ทำนบดินกั้นขวางทางน้ำ เมื่อน้ำมากจึงกัดเซาะทำนบดินไซด์ก่อสร้าง ชำรุด น้ำจึงไหลลงตรงที่ก่อสร้างทางระบายน้ำ ซึ่งทำให้ดูเหมือนตัวอ่างชำรุด จริงๆ แล้วไม่ใช่
ดร.ทวีศักดิ์ฯ กล่าวยืนยันว่า ตัวอ่างและสันอ่างเก็บน้ำลำเชียงไกร มั่นคงแข็งแรง แต่ด้วยปริมาณน้ำที่มากเกินความจุอ่าง จึงทำให้น้ำล้น ขณะนี้ ทางจังหวัดนครราชสีมา ได้ออกประกาศเตือนประชาชนที่อยู่ท้ายอ่าง ให้ระมัดระวัง น้ำมากที่ล้นอ่าง และอาจท่วมได้ แล้ว

ล่าสุดวันที่ 27 ก.ย. 2564 ระดับน้ำในอ่างฯ ลดลง 30 ซม. (เริ่มลดลงเวลา 01:00 น.) และเหลือถึงระดับสันทำนบดิน อ่างฯ 60 ซม.นั่นหมายถึง ปริมาณน้ำที่ไหลเข้าอ่างฯ ประมาณ 400-500 ลบ.ม.ต่อวินาที < (ลดลง/น้อยกว่า) ปริมาณน้ำที่ไหลออกจากทุกช่องทาง (ช่อง river outlet ซ้าย/ขวา , กาลักน้ำ /สูบน้ำ ,รถสูบซิ่ง ,ทางระบายน้ำฉุกเฉินขวา (Emergency Spillway) , และช่องบ่อก่อสร้าง ประตูระบายน้ำ(Service Spillway) จึงยังไม่ต้องตัดคันทำนบดินอ่างฯจุดอื่นเพิ่มการระบายอีกเมื่อระดับน้ำในอ่างฯ ทรงตัวและลดลง ทำให้ ไม่เกิดน้ำล้นข้ามทำนบดินสันของอ่างฯ ในลักษณะพังทลาย

ณ เวลานี้สามารถบริหารน้ำออกจากอ่างฯให้มากกว่าหรือเท่ากับน้ำเข้าอ่างฯ รักษาความปลอดภัยเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ พ้นวิกฤติ และบรรเทาความเสียหายด้านท้ายน้ำ แต่ยังต้องเฝ้าระวังปริมาณน้ำที่ยังคงไหลลงมาจากตอนบน ห้วยสามบาท ที่ไหลลงมาอย่างต่อเนื่องต่อไป
แสดงความคิดเห็น