ธกส.ระบุเกษตรกรอีสานขาดสภาพคล่อง เนื่องจากรายได้ของลูกหลานหายไปช่วงโควิด 19 เปิดมาตรการสินเชื่อฉุกเฉินระยะสั้น และมาตรการช่วยเอสเอ็มอี มั่นใจรัฐจะขยายโครงการสินเชื่อชุมชนช่วยไทย วงเงินห้าหมื่นล้านที่มีการกู้ไปเพียงห้าพันล้านออกไป
นายกิตติ กระภูชัย รองผู้อำนวยการฝ่ายบริการ สาขาภาคอีสานตอนบน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวว่า หน้าที่หลัก ธ.ก.ส. คือการอำนวยสินเชื่อ เพื่อส่งเสริมภาคการเกษตร ซึ่งตลอดระยะเวลา 50 ปีที่ผ่านมา ทางธนาคารตระหนักได้ว่า เงินทุนเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถช่วยพัฒนาภาคการเกษตรของประเทศให้แข็งแรงได้ อีกสิ่งสำคัญที่ควบคู่กับเงินทุน คือ องค์ความรู้และการตลาด
ส่วนของการอำนวยสินเชื่อในสภาวะปกติ มีอัตราการเติบโตและมีผู้ใช้บริการมากกว่า 4 – 5 ล้านครัวเรือนทั่วประเทศ ในทางกลับกันเมื่อเกษตรกรไทยต้องประสบกับสถานการณ์วิกฤตโควิด ซึ่งส่งผลต่ออัตราการเติบโตอย่างเห็นได้ชัด
“อาจจะมองว่าเกษตรกรไม่ได้รับผลกระทบ แต่เกษตรกรในบ้านเราปัจจุบัน โดยเฉพาะทางอีสาน ไม่ได้มีรายได้มาจากภาคการเกษตรเพียงอย่างเดียว” นายกิตติกล่าว
นายกิตติ กล่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลกระทบของเกษตรกรไทย จึงแม้จะประกอบอาชีพเกษตรเป็นหลัก แต่รายได้มาจากหลายทาง สิ่งที่กระทบต่อเกษตรกรเกิดจากการขาดรายได้ในทางอื่น อาทิ การรับจ่ายหรือลูกหลานที่ไปทำงานต่างจังหวัด ด้วย นี้เองที่ส่งผลกระทบต่อกระแสเงินสดและสภาพคล่องทางการเงินของเกษตรกร ในขณะที่เดียวกันเกษตรกรยังคงต้องแบกรับภาระหนี้เท่าเดิม
ทั้งนี้ธ.ก.ส.ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของผลกระทบดังกล่าว ทางธนาคารมีการออกมาตรการเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ โดยการออกมาตรการผ่อนปรน อาทิ มาตรการการพักหนี้ตามความสมัครใจ มาตรการผ่อนชำระหรือ care plus เป็นการชำระหนี้บางส่วนตามศักยภาพและขยายเวลาการชำระหนี้
มาตรการสินเชื่อระยะสั้นฉุกเฉิน เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ความต้องการใช้เงินในสภาวะฉุกเฉิน ซึ่งปัจจุบัน ธ.ก.ส. ได้อำนวยสินเชื่อฉุกเฉินช่วยเหลือแก่เกษตรกรภาคอีสานประมาณ 4 -5 พันล้านบาท โดยแบ่งเป็น เขตอีสานตอนบน 12 จังหวัด ประมาณ 2 พันล้านบาท
พร้อมทั้ง มาตรการด้านการตลาด มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SME โดยทางธนาคารให้ความสำคัญเรื่องของ “การทำน้อย ได้มาก” มุ่งเน้นการสร้างมูลค่าเพิ่ม เช่น มันสำปะหลัง นอกจากเกษตรกรขายในรูปแบบของ หัวมันสด ในปัจจุบันการเลี้ยงโคเนื้อ-นม ได้รับความนิยมโดยเฉพาะในภาคอีสานตอนบน เนื่องจากค่าตอบแทนที่สูง โดยมุ่งให้ความสำคัญในเรื่องของการลดต้นทุนอย่างอาหารสัตว์
ส่วนผสมที่สำคัญที่สุดของอาหารโค ก็คือมันสำปะหลัง ตนมองว่าควรส่งเสริมการสร้างรายได้เพิ่มโดยเกษตรกรควรมีการแปรรูปเป็นมันเส้นสะอาด ส่งโรงงานอาหารสัตว์ โดยมุ่งหวังบทบาทขององค์กรภาคการเกษตร หรือวิสาหกิจชุมชน ที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการหัวขบวน ซึ่งทางธนาคารพร้อมให้การสนับสนุน
รวมถึงโครงการช่วยเหลือเกษตรกรของทางรัฐบาลอย่าง โครงการธุรกิจชุมชนสร้างไทย มีมติครม.อนุมัติวงเงิน 5 หมื่นล้านบาท ให้ทาง ธ.ก.ส. หน้าที่จ่ายสินเชื่อให้เกษตรกร อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.01 หรือเทียบเท่ากับ 1 ล้าน ดอกเบี้ย 100 บาท เพื่อสนับสนุนเกษตรกร
ปัจจุบันทั่วประเทศจ่ายไปเพียง 5 พันล้านบาท ยังมีวงเงินเหลืออีก 4 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะหมดเขตภายในวันที่ 30 พฤษภาคมปีหน้านี้แล้ว ตนมองว่าเป็นสินเชื่อที่มีประโยชน์ทั้งในเรื่องของการเป็นวงเงินหมุนเวียนภาคการเกษตร
สัดส่วน GDP ภาคการเกษตรของประเทศ มีแนวโน้มอัตราการเติบโตถดถอยทุกปี แต่ในทางกลับกันศักยภาพการผลิตภาคการเกษตรของประเทศมีความเหมาะสมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้อยากจะเชิญชวนทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างจุดเปลี่ยนของภาคการเกษตร
(เกษตรยุคใหม่ต้องใช้เทคโนโลยี)
นายกิตติ กล่าวถึงทิศทางภาคการเกษตรยุคใหม่โดยมุ่งส่งเสริมการทำเกษตรผสมผสานหรือเกษตรทฤษฎีใหม่เพื่อลดความเสี่ยง พร้อมทั้ง มองว่าภาคการเกษตรในประเทศควรเดินทางคู่ขนาน โดยการสร้างความมั่นคงให้กับภายในประเทศ ทั้งระดับครัวเรือน การผลิตที่เพียงพอต่อความต้องการบริโภคควบคู่กับการผลิตเพื่อการค้า
รวมถึง สร้างเสริมองค์กรความรู้เพื่อการค้าแก่เกษตรกรในเรื่อง “ของดี ราคาสูง” ที่คงต้องคำนึงถึงการพัฒนาคุณภาพ เพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขัน ตนมองว่าควรพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในภาคการเกษตรที่มีส่วนช่วยเรื่องการลดต้นทุน และให้ความสำคัญการใช้เทคโนโลยีในการทำการเกษตรสู่ภาคการเกษตรยุคใหม่
“”””””””””””””””””””””””””””””””””””””