ร้อยเอ็ดเศรษฐกิจต้องรุ่ง!!‘หอการค้า’นำทีมต้อนรับผู้ว่าฯคนใหม่พร้อมเสนอ 9 แผนพัฒนาจังหวัด

เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2564 นายเรืองศักดิ์ รัตนโภคาสถิต ประธานหอการค้าจังหวัดร้อยเอ็ด พร้อมคณะกรรมการ มอบกระเช้าต้อนรับผู้ว่าราชการจังหวัดคนใหม่ นายภูสิต สมจิตต์ พร้อมข้อเสนอแนะในการพัฒนาจังหวัดร้อยเอ็ดจากคณะกรรมการหอการค้าจังหวัดร้อยเอ็ด คาดหวังภาคราชการและภาคเอกชน ผสานพลังเพื่อประชาชน ในการเดินฝ่าวิกฤตโรคระบาด และ วิกฤตเศรษฐกิจไปด้วยกัน  นับเป็นมิติใหม่ของการต้อนรับผู้ดำรงตำแหน่งทางราชการระดับสูงของจังหวัด

นายเรืองศักดิ์ กล่าวว่า สำหรับข้อเสนอแนะ และความคิดเห็นของคณะกรรมการหอการค้าจังหวัดร้อยเอ็ด มีทั้งหมด 5 ด้าน ด้านเศรษฐกิจ ขอให้สนับสนุนการจัด “เทศกาลอาหารอร่อย – ปลอดภัย” เพื่อกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจภายใน จังหวัดร้อยเอ็ด ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีรถเมล์ประจำทาง ขนส่งมวลชน เพื่อการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ด รองรับการ เติบโต และแก้ไขปัญหาการจราจร ติดตามเร่งรัดการขยายอาคารผู้โดยสาร และขยาย Runway ของสนามบินร้อยเอ็ด สนับสนุนให้เกิดการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาทาง เศรษฐกิจจังหวัดร้อยเอ็ด (กรอ.จังหวัด) ทุกเดือน โดยขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานในการ ประชุม และให้ความสำคัญกับการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทาง เศรษฐกิจกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง (กรอ.กลุ่มจังหวัดฯ) ให้ดูแลและช่วยเหลือผู้ประกอบการ SME ในด้านการเข้าถึงแหล่งเงินทุน เพื่อต่อลมหายใจของธุรกิจ และส่งสริมการลดต้นทุนการผลิต 

ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ติดตามเร่งรัดการเวนคืนและการสร้างถนนบายพาส สาย ง 2 (จ.1 เดิม) เร่งรัดโครงการย้ายเรือนจจำ ออกไปนอกเมือง เพื่อใช้ที่ดินเดิมเป็นเขตเศรษฐกิจ และพื้นที่สีเขียว  ใจกลางเมือง 

ด้านการท่องเที่ยวและกีฬา สานต่อโครงการพัฒนาอ่างเก็บน้ าธวัชชัย อ าเภอธวัชบุรี ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว และสวนสาธารณะ “ปอดแห่งใหม่ของเมืองร้อยเอ็ด” ปรับภูมิทัศน์แหล่งท่องเที่ยว กู่กาสิงห์ วัดป่ากุง พระมหาเจดีย์ชัยมงคล พระใหญ่วัดบูรพา กู่พระ โกนา อำเภอสุวรรณภูมิ ให้สวยงาม สะดุดตา และสะดุดใจ เพื่อเตรียมรับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ให้หอการค้ามีส่วนร่วมในการออกแบบเส้นทางการท่องเที่ยวชุมชน จังหวัด และเชื่อมโยงกลุ่มจังหวัด เพื่อจะดึงนักท่องเที่ยวเข้ามาใช้บริการจับจ่าย ซื้อหาอาหาร ที่พัก และรถยนต์ขนส่ง เช่น  การท่องเที่ยวแบบพักค้างคืน โฮมสเตย์ รีสอร์ท และโรงแรม ในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ – ทุ่งข้าวหอมมะลิ ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ซึ่งเป็นต้นทุนในชุมชนอยู่แล้ว เช่น การลงมือปฏิบัติปลูกข้าว กินข้าว  กินอาหารพื้นเมือง นั่งรถอีแต๊ก รถไถนา หรือเกวียนโบราณ ในบริเวณแหล่งท่องเที่ยว เพิ่มสถานที่เล่นกีฬาให้แก่เยาวชนได้ออกก าลังกาย สันทนาการคลายเครียด เพื่อให้เยาวชนหลีกเลี่ยง จากอบายมุขและการติดเกมส์

ด้านสาธารณสุข สนับสนุนการขยายพื้นที่โรงพยาบาลศูนย์ร้อยเอ็ด ไปทางฝั่งทิศตะวันตก เพื่อรองรับผู้ป่วยส่งต่อ และ ผู้ป่วยทั่วไปที่เพิ่มขึ้นจำนวนมาก นำโครงการ Clean Food Good Taste ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มาปรับใช้ตรวจตรา ร้านค้าอาหาร ภัตตาคาร สตรีทฟู้ด ให้ปรุงอาหารสะอาด ปลอดภัย ต่อการบริโภคของประชาชน  สุดท้ายจะท าให้ประชาชนสุขภาพร่างกายแข็งแรง ป้องกันโรคติดเชื้อต่างๆ ที่อาจจะมีมาในอนาคต ผลักดันให้มีคณะแพทย์ศาสตร์เกิดขึ้นที่มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด เพื่อผลิตแพทย์รองรับการเพิ่มขึ้น ของประชากร (ขณะนี้มีคณะพยาบาลศาสตร์ในมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดแล้ว) 

ด้านการเกษตรบริหารทรัพยากรน้ าองค์รวมทั้งระบบ เพื่อป้องกันน้ าท่วม  เร่งส่งเสริมและพัฒนาโครงการธนาคารน้ าใต้ดิน ให้เกิดขึ้นหลาย ๆ แห่ง กระจายหลาย ๆ จุด  เพื่อประโยชน์แก่การเพาะปลูกผัก พืชไร่ ของเกษตรกรรายย่อย ร่วมแก้ปัญหาความหอมของข้าวหอมมะลิ ให้ควบคุมความหอม ให้ได้เท่ากันทุกปีและเพิ่มผลผลิต  ต่อไร่ให้สูงขึ้น ส่งเสริมและสนับสนุนการจ าหน่ายข้าวหอมมะลิแบรนด์ของจังหวัด ทั้งภายในประเทศและส่งออก ต่างประเทศ นายเรืองศักดิ์ กล่าว

แสดงความคิดเห็น