สหกรณ์ออมทรัพย์ครู จ.นครราชสีมา กำลังจะได้รับการตรวจจากบรรดานายทะเบียนสหกรณ์และกรมตรวจบัญชีอย่างขนานใหญ่ มั่นใจหลักฐานชัดมัดคนโกง
เมื่อบ่ายที่ 30 กันยายน 2564 เรา(ผู้เขียน) ไปพบกับนายพิชัย สมพงษ์ที่สูงเนิน เพื่อไปเอาเอกสารปึกใหญ่ที่ผ่านการวิเคราะห์ของเขามาจำนวนมาก เพื่อนำส่งไปให้นายสาโรช บุตรเนียร (น.บ. และ น.บ.ท.) ช่วยเรียบเรียงเรื่องราวที่ค่อนข้างสลับซับซ้อนมากเพื่อรายงานต่อท่านผู้อ่าน
ในวันที่เราพบกัน เขา(พิชัย) เล่าให้ฟังว่าได้พูดคุยทางโทรศัพท์ผู้ที่ไปร้องเรียนนายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์และเรา(ผู้เขียน)1 ใน 13 คน(ดูเอกสารประกอบ1) อย่างยาวนาน ความลงตัวสรุปว่า สอ.นม. กำลังจะได้รับการตรวจจากบรรดานายทะเบียนสหกรณ์และกรมตรวจบัญชีอย่างขนานใหญ่ และได้บอกไปว่าการเอาชนะได้ทางเดียว ย่อมไม่ใช่การลงแข่งขันเป็นกรรมการฯกับพวกเขา แต่ต้องเอาชนะด้านกฎหมายและศาลเท่านั้น จึงจะเรียกว่า “ชัยชนะขั้นเด็ดขาด”
ย้อนหลังไปดูการตั้งกลุ่มปี 2556 “เครือข่ายต่อต้านการทุจริตในสหกรณ์เพื่อสมาชิกและประชาธิปไตย” ทำการร้องเรียนเรื่องเดียว คือ ใช้ตราสารหนี้ประเภทตั๋วสัญญาใช้เงินไปลงทุนกับสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำกัด ไปยังสหกรณ์จังหวัดนครราชสีมาเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2556 (กจส.รับที่ 1171 5 สิงหาคม 2556) ต่อมาขยายมากขึ้นเปลี่ยนชื่อกลุ่มเป็น “กลุ่มปฏิรูปสหกรณ์ออมทรัพย์ครูนครราชสีมา จำกัด” มีหนังสือร้องเรียนไปยังสหกรณ์จังหวัดฯ(กจส.) ใน 10 เรื่องโดยยังเน้นเรื่องสหกรณ์เครดิตยูเนียนคลองจั่น จำกัดและปล่อยเงินกู้ให้แก่”สหกรณ์เคหะสถานชุมชนเมืองโคราช จำกัด” 35 ล้านบาท และได้รับคำตอบมาจากนายอมรศักดิ์ พันธ์รักษา สหกรณ์จังหวัดฯ ตามหนังสือ กจส.ที่ นม 0010/1730 ลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2558 เป็นฉบับที่ 2 ( ส่วนฉบับแรกเป็นนายปิยะ รัตนชนกวงศ์ นักวิชาการสหกรณ์ฯ รักษาการสหกรณ์จังหวัดฯ ตามหนังสือ กจส.ที่ นม 0010/3881 ลงวันที่ 18 กันยายน 2556) ฉบับที่ 3 เป็นของนางประทิน สีสา สหกรณ์จังหวัดฯ เป็นการร้องเรียนของนายสัมนา ฉัตรบูรณจรัส กับนายสัจธรรม สุขเสนีย์(12 ตุลาคม 2561) ได้รับคำตอบจากสหกรณ์จังหวัดฯ ตามหนังสือที่ 0010/4625 ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2561 และฉบับที่ 4 ร้องเรียนโดยนายวันชัย ศิริธีรพัฒน์ นางรัชนี กิจพนาพร นางสำเนาว์ ศิริธีรพัฒน์ ร้องเรียน 6 มกราคม 2563 ไป 7 ประเด็น (และทวงถามรวมครั้งแรก 3 ครั้ง) นายดุสิต ทองทา สหกรณ์จังหวัดฯ ตอบมาตามหนังสือฯที่ 0010/921 ลงวันที่ 6 มีนาคม 2563 และเรื่องการนับวาระการดำรงตำแหน่งประธานกรรมการฯ ที่ฟ้องศาลจังหวัดนครราชสีมา โดยนายอดิศักดิ์ ชนสูงเนิน นายกล้าหาญ ยุทธกล้า นายธีรวิทย์ เดือนกลางโจทก์ทั้งสาม จำเลยทั้งสี่คือ สอ.นม. นายปรีชา กำพุฒกลาง นายทอง วิริยะจารุ นายบุญธรรม เดชบุญ ต่อมาศาลได้มีคำพิพากษาคดีหมายเลขแดงที่ 517/2560 วันที่ 23 มีนาคม 2560 “โจทก์จึงจะมีอำนาจฟ้องต่อศาลได้เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ทั้งสามได้ร้องขอต่อนายทะเบียนสหกรณ์หรือรองนายทะเบียนสหกรณ์ให้มีมติเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ของจำเลยที่ 1 มาก่อนโจทก์ทั้งสามไม่มีอำนาจฟ้อง พิพากษายกฟ้องโจทก์ทั้งสาม”
ยังค้างคาในตอนที่แล้วบอกว่าในตอนที่ 18 นี้จะนำเสนอข้อค้นพบของนายพิชัย สมพงษ์ ประเด็นการแต่งบัญชีอันพิสดารในเอกสารฉบับที่นายประมวล ทั่งกลาง รองประธานกรรมการคนที่ 2 (โดยนายออน กาจกระโทก ไม่ยอมลงนามในฐานะประธานฯ) ส่งไปยังสหกรณ์จังหวัดฯ (หนา 11 หน้ากระดาษ) นั้นมีการแต่งบัญชีจำนวนมากเช่น ปมน่าจะมีพิรุธอย่างยิ่งคือ หนังสื่อ สคจ. เกี่ยวโยงกัน 5 ฉบับที่เกี่ยวข้องกับการแต่งบัญชี กล่าวคือ
(1) หนังสือ สคจ. ที่ 209/2555 เรื่อง ขอเชิญร่วมลงทุนตั๋วสัญญาใช้เงินกับสหกรณ์ฯ ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2555 (สอ.ครูนครราชสีมารับที่ 543) (ลงนามโดยนายศูภชัย ศรีศุภอักษร ประธานกรรมการดำเนินการ)ความย่อย่อสรุปว่า “เนื่องจากการแก้ปัญหาดังกล่าวยังไม่บรรลุเป้าหมายที่สหกรณ์ฯ(สคจ.) ต้องแก้ไขโดยจะขอรับการสนับสนุนในการร่วมลงทุนของสหกรณ์ออมทรัพย์ครูนครราชสีมา จำกัดในรูปตั๋วสัญญาใช้เงิน(P/N) เป็นเงิน 150 ล้านบาท…”.(เอกสารประกอบ2)
(2) หนังสือ สคจ.ที่ 361/2555 เรื่อง ขอต่ออายุสัญญาใช้เงิน(P/N) เลขที่ 055/007 ลงวันที่ 20 เมษายน 2555 สอ.ครูนครราชสีมารับที่ 1104 (ปรากฏ Fax from : 023757195 (20-12—12 04:58 (ตีสี่ห้าสิบแปดวินาที) (ลงนามโดยนายมณฑล กันล้อม ประธานกรรมการดำเนินการ) (3) หนังสือ สคจ.ที่ 361/2555 เรื่อง ขอต่ออายุสัญญาใช้เงิน(P/N) เลขที่ 055/007 ลงวันที่ 20 เมษายน 2555 สอ.ครูนครราชสีมารับที่ 1351 (เลขรับที่ 1104 และ 1351แตกต่างกันคนละเลขหมาย) (ลงนามโดยนายมณฑล กันล้อม ประธานกรรมการดำเนินการ) หมายความว่า สอ.นม.รับหนังสือเหมือนกัน 2 ฉบับแต่ สอ.นม.ลงเลขรับต่างกัน…นั้นนายพิชัยฯ วิเคราะห์ไว้ว่า น่าจะคืนตั๋วสัญญาใช้เงินใช้เงินปลอมหรือไม่? จำนวน 50 ล้านบาท(หรือชำระเงินต้น 50 ล้านบาท) เป็นตั๋วสัญญาใช้เงินที่ สคจ.ปฏิเสธรับสภาพหนี้ 150 ล้านบาท(เอกสารประกอบ3)
(4) อีก 8 วันต่อมา หนังสือ สคจ.ที่ 412/2555 เรื่อง การถอนสัญญาใช้เงินเลขที่ 054/019, 054/020 และ 055/007 ลงวันที่ 28 เมษายน 2555 (ลงนามโดยนายศุภชัย ศรีอักษร ประธานกรรมการดำเนินการ) นายพิชัยฯ อธิบายดังนี้ (๑) หนังสือ สคจ.นี้ สคจ.(โดยนายศุภชัยฯ) อ้างว่า สอ.นม.ประสงค์จะขอรับเงินตั๋วสัญญาใช้เงินคืนตามตั๋วเลขที่ 054/019,054/020 จำนวน 200 ล้านบาท แล้วทาง สคจ.จะทำการคืนเงินให้ สอ.นม.ให้ในวันที่ 10 พฤษภาคม 2555 (๒) ตั๋วฯทั้ง 3 ฉบับนี้พอเข้าใจได้ว่า น่าจะเอาไปแต่งบัญชีในเดือนตุลาคม 2555 เพื่อให้ สคจ.รับสภาพหนี้ 500 ล้านบาท และแต่งบัญชีเป็น 530 ล้านบาท(เอกสารประกอบ 4)และ (5) นายสละ วราสินธุ์ ผู้จัดการ สอ.นม.มีหนังสือ(ที่ สอ.นม.776/2556 ลงวันที่ 11 พฤษภาคม 2555 ทวงถามเงินที่จะโอนมา 350 ล้านบาท(ปรากฏว่า ทางสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำกัด ยังไม่ได้โอนเงินจำนวนดังกล่าวมายังสหกรณ์ฯ) (ดูเอกสารประกอบ 5)
หลักฐานที่นายทะเบียนสหกรณ์น่าจะตรวจสอบมีพิรุธหรือไม่คือ หนังสือ สคจ.ที่ 1085/2555 ลงวันที่ 12 ตุลาคม 2555 (มี2 ฉบับ) สอ.ครูนครราชสีมารับที่ 3225 วันที่ 13 ตุลาคม 2555 และ สอ.ครูนครราชสีมารับที่ 3338 วันที่ 26 ตุลาคม 2555 โดย สคจ.ไม่ได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน 50 ล้านบาทและไม่มีสัญญาค้ำประกันเงินกู้(สคจ. ทั้ง 15 คนปฏิเสธการลงนาม) และไม่มีตั๋วสัญญาใช้เงิน(P/N) 25 ฉบับๆ ละ 10 ล้านบาท ซึ่งอาจจะดูได้ว่าน่าจะปรากฏจำนวนเงิน 10 ล้านบาทในการแต่งบัญชีให้เหลือเงิน 530 ล้านบาท****(อย่างมีนัยสำคัญ) และตั๋วสัญญาใช้เงิน 50 ล้านบาทมีปรากฏครั้งเดียวเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2555 และเช็คน่าจะปลอมหรือเท็จ 50 ล้านบาท อันชวนสงสัยว่าเอกสารเหล่านี้ไม่น่าจะทำมาจากสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำกัด และเป็นที่น่าสังเกตว่าในเดือนกุมภาพันธ์ 2555-ตุลาคม 2555 มีการลงนามโดยประธานกรรมการดำเนินการ 2 คนคือนายศุภชัยฯ (ลงนามในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2555, 28 เมษายน 2555) และนายมณฑลฯ (ลงนามในวันที่ 20 เมษายน 2555 นี่มันอะไรกันทำไมมีประธานกรรมการ 2 คนเล่า???) ทั้งหมดเป็นบันทึกการวิเคราะห์ด้วยลายมือของนายพิชัยฯทั้งสิ้น(เอกสารประกอบ 6)
คราวนี้ มาถึงความที่น่าจะเป็นการแต่งบัญชีอีกครั้งหนึ่งคือ คณะกรรมการดำเนินการ สอ.นม.ดำเนินการยก (ร่างสัญญา) หนังสือสัญญาค้ำประกัน(จำนวน 14 หน้า) โดยนำไปยื่นต่อนายมณฑล กันล้อม ประธานกรรมการและคณะรวม 15 คนลงนามในหนังสือสัญญาค้ำประกัน แต่ก็ถูกปฏิเสธลงนามทั้ง 15 คน (เอกสารประกอบ 7-8)
ทั้งหมดนี้ เรา(ผู้เขียน) เพียงพอที่จะเขียนเรื่อง สคจ. ในประเด็นปฏิบัติและละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ฯตามมาตรา 157 เอกสารปลอม(มาตรา 161) เอกสารอันเป็นเท็จ(มาตรา 162) และการอ้างเอกสารและการให้การต่อศาลด้วยข้อมูลอันเป็นเท็จ(มาตรา 180) แห่งประมวลกฎหมายอาญา เรื่องนี้น่าจะจบลงที่ศาลอย่างแน่นอน นายพิชัยฯ ระบุไว้แน่นอนและอย่างมั่นคง
“ด้วยความเคารพ” รวมความแล้ว รองนายทะเบียน และนายทะเบียนสหกรณ์ 3-4 คน อาจจะถูกดำเนินการทางศาลทุจริตฯ หรือไม่? อย่างไร ? ดังต่อไปนี้
- 1.นายปิยะ รัตนกนกวงศ์ นักวิชาการสหกรณ์ชำนาญการพิเศษ รักษาราชการแทนสหกรณ์จังหวัดฯ สมาชิกสหกรณ์ทุกคนเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2(4) บางคนที่ร่วมกันฟ้องจะบอกว่า “สำนักงานสหกรณ์จังหวัดฯ ได้ตรวจสอบเอกสารที่อ้างถึงแล้ว เห็นว่าสหกรณ์ออมทรัพย์ครูนครราชสีมา จำกัดดำเนินการไปตามอำนาจ หน้าที่ โดยชอบด้วยกฎหมายสหกรณ์ ข้อบังคับและระเบียบของสหกรณ์แล้ว” (หนังสือฯที่ 0010/3881 ลงวันที่ 18 กันยายน 2556) (ทั้งที่เอกสารปลอมและเอกสารเท็จจำนวนเกือบทั้งหมด) และยังถูกสหกรณ์ออมทรัพย์ครูนครราชสีมา จำกัดโดยนายสมศักดิ์ จักสาน ประธานกรรมการฯ ยังได้นำไปอ้างอิงตอบในการตอบหนังสือร้องเรียนของนายศิลป เศษกลางตามหนังสือฯ ที่ สอ.นม.887/2564 ลงวันที่ 5 พฤษภาคม 2564 อีกด้วย นับว่า สอ.นม.ยอดเยี่ยมมากมีไม้เด็ดจากหนังสือ”รับรองความถูกต้อง” จากรองนายทะเบียนสหกรณ์รับรอง ไว้ใช้อ้างอิงเสมอ.
- นายอมรศักดิ์ พันธุ์รักษ์ สหกรณ์จังหวัดฯ ได้ทำหนังสือชี้แจงนายวิทยา ดวงใจ กลุ่มปฏิรูปสหกรณ์ออมทรัพย์ครูนครราชสีมา จำกัด(หนังสือฯที่ 0010/1730 ลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2558) ความโดยย่อว่า “กรณีสหกรณ์ออมทรัพย์ครูนครราชสีมา จำกัดนำเงินไปฝากกับสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำกัดเป็นการปฏิบัติตามข้อบังคับ และระเบียบที่เกี่ยวข้องแล้ว” และ “กรณีสหกรณ์ออมทรัพย์ครูนครราชสีมา จำกัดนำเงินไปฝากสหกรณ์เครดิตยูเนียนคลองจั่น จำกัดได้ดำเนินการตามข้อบังคับข้อ 21 และตามระเบียบว่าด้วยการรับฝากเงินจากสหกรณ์อื่น พ.ศ. 2553 ของสหกรณ์เครดิตยูเนียน จำกัดซึ่งได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนสหกรณ์***แล้ว และที่สำคัญที่สุดหนังสือฯ ที่ นม 0010/3491 เรื่อง นำส่งเอกสารตามคดีหมายเลข 1007/2559 ลงวันที่ 7 ตุลาคม 2559 พร้อมสิ่งที่ส่งมาด้วย 5 ฉบับในจำนวนนั้นมีเอกสารปลอมหรือเท็จ และหนังสือรับรองการตรวจเอกสาร(สิ่งที่ส่งมาด้วย 3) อยู่ด้วย
- นางประทิน สีสา สหกรณ์จังหวัดฯ ได้มีหนังสือตอบการร้องเรียนของนายสัมมนา ฉัตรบูรณจรัสกับนายสัจธรรม สุขเสนีย์(หนังสือฯ ที่ 0010/4625 ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2561) ร้องเรียนไปว่ากรรมการฯ ผู้จัดการ เจ้าหน้าที่ฯ ร่วมกันปลอมเอกสารและตั๋วสัญญาฯใช้เงินปลอมหรือเอกสารที่ไม่มีมูลค่าตามที่ระบุไว้โดยไม่มีธนาคารเป็นผู้รับรองสลักหลังหรือรับอาวัลโดยไม่มีข้อจำกัดความรับผิดชอบ อันเป็นการจงใจทำให้ตั๋วสัญญาใช้เงินไม่มีมูลค่าตามวงเงินค้ำประกันให้กับสหกรณ์ออมทรัพย์ครูนครราชสีมา จำกัด สหกรณ์จังหวัดฯ ตอบมาว่า กรณีดังกล่าวนายทะเบียนสหกรณ์ไม่สามารถดำเนินการใช้อำนาจของนายทะเบียนสหกรณ์ได้เนื่องด้วยมาตรา 90/12 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มิได้ให้
อำนาจที่สามารถกระทำได้
- นายดุสิต ทองทา สหกรณ์จังหวัดฯ ได้มีหนังสือตอบข้อร้องเรียนของนายวันชัย-นางสำเนาว์ ศิริธีรพัฒน์ และนางรัชนี กิจพนาพร ตามหนังสือฯที่ 0010/921 ลงวันที่ 6 มีนาคม 2563 ในประเด็นน่าสนใจคือ อ้างตามาตรา 90/12 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 เช่นเดียวกับนางประทิน สีสา และยังมั่นใจในการอ้างอิงตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2542 มาตรา 62(1) ฝากในชุมนุมสหกรณ์หรือสหกรณ์อื่น มาตรา 46(8) ให้สหกรณ์อื่นกู้ยืมเงินได้ตามระเบียบของสหกรณ์ที่ได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนสหกรณ์(ของนายอมรศักดิ์ฯ อ้างว่า “๗. สหกรณ์ออมทรัพย์ครูนครราชสีมา จำกัดได้กำหนดระเบียบว่าด้วยการให้สหกรณ์อื่นกู้ยืมเงิน พ.ศ.2547 เป็นไปตามร่างของกรมส่งเสริมสหกรณ์และสหกรณ์ได้ถือใช้ระเบียบดังกล่าวเป็นไปตามร่างของกรมส่งเสริมสหกรณ์ก็ให้ถือว่าได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนสหกรณ์แล้ว”) เราผู้เขียนถือว่าเป็นประเด็นพิเศษ***มีบันทึกของนิติกร สอ.นม.ทั้งสองคนลงวันที่ 7 สิงหาคม 2556 (อีกคนลาออกไปแล้ว อีกคนเกษียณอายุ) โดยคณะกรรมการดำเนินการฯ มีมติให้นิติกรดำเนินการตาม “1. มอบให้นิติกรตรวจสอบการโอนตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นเงินฝาก ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ผ่านนิติกรตอบว่า…(เก็บไว้อ้างอิงในศาล) โดยเฉพาะสหกรณ์จังหวัดฯ อ้างในหนังสือนี้ว่า “(๘) สหกรณ์ฯ ปฏิบัติตามคำแนะนำของนายทะเบียนสหกรณ์(นายสมชาย ชาญณรงค์กุล)***จึงไม่ต้องปฏิบัติตาม”ประกาศคณะกรรมการพัฒนาการแห่งชาติเรื่องข้อกำหนดหรือลงทุนอย่างอื่นของสหกรณ์ พ.ศ.2552” ประกอบกับคำพิพากษาศาลจังหวัดฯคดีหมายเลขแดงที่ 769-770 วันที่ 23 มีนาคม 2560 ที่ว่าศาลยกฟ้องจำเลยทั้งสิบสอง ยังฟังไม่ได้ว่ามีเจตนาทุจริต…แม้จะฟังได้ว่า จำเลยทั้งสิบสองนำเงินไปลงทุนกับ สคจ. โดยผิดระเบียบข้อบังคับก็เป็นเพียงการปฏิบัติหน้าที่ผิดระเบียบเท่านั้น…ก็ต้องว่ากล่าวในทางอื่นกับจำเลยทั้งสิบสองต่อไป” โดยที่นายดุสิตฯ ไม่ยอมกล่าวอ้างถึง(หนังสือฯ หน้า 5-6) และเรื่องอื่นๆ อีกหลายเรื่องต้องต่อสู้ในศาลทุจริตฯ อย่างแน่นอน
- ส่วนนายทะเบียนสหกรณ์อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์นั้น จะพิจารณาตั้งแต่นายชาญณรงค์ฯ จนถึงเรื่องราวในปัจจุบัน
ทั้งหมดอาจจะถูกดำเนินคดีต่อศาลตามมาตรา 157 มาตรา 161 มาตรา 162 และมาตรา 180 แห่งประมวลกฎหมายอาญา รอติดตามอีกไม่นานนัก.
มาทางด้านสหกรณ์ออมทรัพย์ครูมหาสารคาม จำกัด(สอ.มค.) ในขณะนี้ยังคงยุ่งเหยิงต่อไปไม่สิ้นสุดในคดีที่ศาลพิพากษาแล้ว ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2563 วันที่ 28 มกราคม 2564 เรื่องประธานแจ้งให้ทราบคดีมากที่สุดคือ คดีที่ ๑. คดีหมายเลขแดงที่ พ 1726/2561 โดย สอ.มค.ยื่นฟ้องนายวิชิต ผิวขาวกับพวก กรณียืมเงินทดรองจ่ายรวม 86 ล้านบาท(ปัดเศษ) ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ใช้จำนวน 86 ล้านบาทพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี(รวมแล้ว) และจำเลยไม่ยื่นอุทธรณ์ คดีที่ ๒. คดีหมายเลขแดงที่ พ 1481-2/2561 สอ.นม.ยื่นฟ้องกรรมการชุดที่ 50 กรณียืมเงินทดรองจ่ายฯ ศาลชั้นต้นสั่งจ่ายให้เป็นเงิน 76 ล้านบาท(ระหว่างอายัดเงินปันผลเฉลี่ยคืน) ไว้ คดีที่ 3 คดีหมายเลขแดงที่ พ 2632/2561 กรณีเงินเบี้ยประกันการกู้เงินเพื่อการศึกษา ศาลพิพากษาจำเลยทั้ง 16 ร่วมกันชำระเงินให้แก่โจทก์รวมทั้งสิ้น 6.7 ล้านบาท และคดีที่ 4 คดีหมายเลขแดงที่ พ 2631/2561 ยื่นฟ้องคณะกรรมการดำเนินการฯชุดที่ 50 กรณีเงินเบี้ยประกันชีวิตเพื่อประกันการกู้เงินเพื่อการศึกษา รวมทุนทรัพย์(ดอกเบี้ยด้วย) เป็นเงิน 2.8 ล้านบาท และต่อมาคณะกรรมการชุดนี้มีบาปมากจึงถูกยึดทรัพย์ขายทอดตลาด สอ.มค.ต้องยื่นศาลเพื่อขอเฉลี่ยทรัพย์ที่ยึดได้ตามคดีแดงฯ ที่ พ 1481-2/2561 ด้วย
ทั้งหมดนี้ ด้วยความมุมานะอย่างเต็มกำลังของครูผู้กล้าแห่งโคราช และครูผู้กล้าแห่งมหาสารคาม พวกเขาแม้จำนวนเพียงน้อยนิดแต่ด้วยจิตใจยืนหยัดหาญกล้าที่จะร่วมกันกระชากหน้ากาก “กลุ่มผีดูดเลือดครู” ให้ปรากฏแก่สังคมโดยรวม จึงเพียรพยายามทำเรื่องเหล่านี้โดยเฉพาะการประกันภัยที่นายทะเบียนสหกรณ์ทำหนังสือมาถึงสหกรณ์ทั่วประเทศถึง 3 ครั้ง(2547,2563 และ 2563) แต่กลุ่มผีดูดเลือดครูก็ไม่สนใจยังคงเดินหน้าต่อไป ไม่รู้จะสิ้นสุดลงเมื่อใด.
(ติดตามตอนที่ 19 เริ่มการต่อสู้ครั้งใหม่การประกันภัยในภาคอีสาน).