หนองคายสุดปัง!!รฟท.ลุยอัพเกรดสถานี-เพิ่มขบวนรถรับรถไฟจีน-ลาว บูมเศรษฐกิจ-ท่องเที่ยว 3 ประเทศ

เมื่อวันที่ 16 ต.ค. 2564 ที่ผ่านมาที่สถานีรถไฟนครหลวงเวียงจันทน์ ได้มีพิธีรับมอบรถไฟขบวน “ล้านช้าง”รถไฟสายพิเศษที่เป็นส่วนหนึ่ง ของนโยบาย“หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ของจีน มีกำหนดเปิดบริการอย่างเป็นทางการ วันที่ 2 ธ.ค. 2564
เชื่อมโยงเส้นทางเศรษฐกิจสู่ประเทศไทย
เส้นทางรถไฟจีน-ลาว มีความยาวประมาณ 420 กิโลเมตร ทำความเร็วได้ตั้งแต่ 160-210 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีสถานีทั้งสิ้น 31 แห่ง เชื่อมจากนครคุนหมิง มณฑลยูนนาน ประเทศจีน มาที่เมืองบ่อเต็น สปป. ลาว และปลายทางอยู่ที่นครหลวงเวียงจันทน์ ห่างจากจังหวัดหนองคาย ประเทศไทยเพียงแค่ 24 กิโลเมตร
โดยคาดว่าเส้นทางดังกล่าวจะช่วยเพิ่มมูลค่าการค้าชายแดน ส่งเสริมเศรษฐกิจชายแดนจังหวัดหนองคาย และการส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศไทยประเทศไทยเร่งเดินหน้าวางโครงสร้างพื้นฐานระบบราง
กระทรวงคมนาคมวางแผนรองรับการเชื่อมต่อระบบทางรถไฟไทย – สปป.ลาว – จีน โดยจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ MOU ร่วมสามฝ่าย (ไทย – สปป.ลาว – จีน) ตั้งแต่ปี 2560 พร้อมทั้งผลักดันโครงการรถไฟความเร็วสูง โดยมีการประกวดราคาและลงนามในสัญญาฉบับที่ 2.3 กับฝ่ายจีน ในเดือน ตุลาคม 2563 พร้อมวางแผนเชื่อมโยงให้ครอบคลุมทั้งระบบ ดังนี้
1. เตรียมความพร้อมรองรับการเดินทาง และการขนส่งสินค้าจีนตอนใต้ เชื่อมต่อ สปป.ลาว
การเชื่อมต่อทางรางสู่ไทย จะผ่านทางรถไฟช่วงหนองคาย – เวียงจันทน์ แม้เส้นทางของรถไฟไทย-ลาว-จีน อยู่ระหว่างดำเนินงานเชื่อมต่อเป็นเส้นทางเดียวกันเข้ามายังประเทศไทย เพื่อแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีความพร้อมและสร้างความเชื่อมั่น โดยประเทศไทยอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 1 ช่วง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา มีระยะทาง 253 กม. กำหนดเปิดให้บริการ ปี 2569
สำหรับระยะที่ 2 นครราชสีมา-หนองคาย มีระยะทาง 356 กิโลเมตร ปัจจุบันได้ออกแบบรายละเอียดโดยมีกำหนดเปิดให้บริการ ปี 2571 โดยเตรียมหารือร่วมกันสามฝ่ายเพื่อเตรียมการเดินรถเชื่อมต่อไทย-ลาว-จีน ต่อไป
2) การพัฒนาระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมต่อ ไทย – ลาว – จีน
การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้เตรียมจัดขบวนรถรองรับการเดินทางช่วงหนองคาย-เวียงจันทน์ เพื่อรองรับปริมาณการขนส่งสินค้าทางรางที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และเพิ่มจำนวนขบวนรถให้ครอบคลุมมากขึ้นอีกด้วย ตลอดจนการอำนวยความสะดวกด้านต่างๆ อาทิ การพัฒนาบริเวณสถานีให้เป็นพื้นที่ตรวจปล่อยสินค้าระหว่างประเทศและการเปลี่ยนถ่ายจากถนนสู่ราง จัดเตรียมพื้นที่และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับศูนย์ย่านเปลี่ยนถ่ายสินค้า (Transshipment Yard) ศูนย์การเอ็กซเรย์ (X-ray) ตู้สินค้า เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้มาใช้บริการแบบ One-Stop Service
3) การสร้างสะพานมิตรภาพรองรับการขนส่งทางรถไฟโดยเฉพาะเตรียมพิจารณาการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ใกล้กับสะพานเดิมที่มีอยู่แล้ว เพื่อเป็นสะพานเฉพาะสำหรับการเดินรถไฟเท่านั้น รวมทั้งจัดเตรียมพื้นที่และสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับปริมาณ การขนส่งที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอนาคต โดยก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ห่างจากสะพานเดิมประมาณ 30 เมตร.
แสดงความคิดเห็น