ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น แถลงข่าวชี้แจ้งข้อเท็จจริง เหตุร้องเรียนระบบการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของโรงพยาบาลขอนแก่น ชี้ทางโรงพยาบาลทำผิดกฏกระทรวง
เมื่อวัน 2 กันยายน 2566 ณ ห้องประชุมราชาวดีชั้น 2 ตึกอำนวยการ ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น น.พ.ชาตรี เมธาธราธิป ผู้อำนวยการฯได้แถลงข่าวกับสื่อมวลชนเพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงเหตุร้องเรียนระบบการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของโรงพยาบาลขอนแก่นและแก้ไขข้อเข้าใจผิดจากการให้ข่าวของน.พ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกุลเกียรติ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลขอนแก่น
น.พ.ชาตรี กล่าวว่า ทางศูนย์อนามัยฯได้รับหนังสือจากทางเทศบาลนครขอนแก่นให้เข้าร่วมตรวจสอบระบบกำจัดมูลฝอยติดเชื้อในวันที่ 4 พฤศจิกายน 2565 จึงส่งเจ้าหน้าที่เข้าร่วมตรวจสอบ และนำเสนอความเห็นเป็นหนังสือตอบกลับไปยังเทศบาลฯเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2565 โดยมีข้อเสนอแนะโดยสรุป 2 ประเด็นคือ 1.ควรปรับปรุงโรงเรือนกำจัดมูลฝอยติดเชื้อเป็นโรงเรือนที่ปิดสนิททั้ง 4 ด้าน และ 2.สถานที่ตั้งโรงกำจัดมูลฝอยติดเชื้อควรตั้งอยู่ห่างจากพื้นที่ใกล้เคียงเพื่อลดปัญหาข้อร้องเรียนเหตุรำคาญ เรื่องกลิ่นเหม็นรบกวน
ทั้งนี้ในช่วง ธันวาคม 2565 มีผู้ร้องเรียนว่า ได้รับเหตุเดือดร้อนรำคาญจากกลิ่นเห็นของการจำกัดขยะมูลฝอยติดเชื้อ โดยเป็นผู้อาศัยในชั้น 1 ของแฟลตกระดังงา ได้แจ้งเหตุต่อนางสาววาทินี จันทร์เจริญ หัวหน้ากลุ่มพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อม และได้มีการประสานไปยังเจ้าหน้าที่กองสาธารณสุข เทศบาลนครขอนแก่น วันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2566
น.พ.ชาตรี กล่าวว่า หลังจากนั้นได้มีการประชุมครั้งที่ 1 ที่เทศบาลนครขอนแก่น โดยศูนย์อนามัยฯ ได้ส่ง นางสาววาทินี จันทร์เจริญ หัวหน้ากลุ่มพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ และนางสาวทัตพิชา คลังกลาง ตำแหน่งนิติกร เข้าร่วมการประชุม โดยการประชุมเป็นการนำเสนอเพื่อพิจารณาหลังจากโรงพยาบาลขอนแก่น ได้ดำเนินการสร้างอาคารกำจัดมูลฝอยติดเชื้อและติดตั้งเครื่องบำบัดมูลฝอยติดเชื้อแบบครบวงจร
“ข้อสรุปคณะทำงานยังไม่ให้ความเห็นชอบการดำเนินการเนื่องจากมีเหตุร้องเรียนจากผู้อยู่อาศัยและยังมีประเด็นการจัดการขยะที่ออกจากระบบที่มีสภาพเป็นขยะทั่วไปแล้วว่า จะนำไปทิ้งบริเวณใดให้ทางโรงพยาบาลฯแก้ไขปัญหาดังก่าวให้เสร็จสิ้นก่อน”น.พ.ชาตรีกล่าวและว่า
ต่อมาวันที่ 16 มกราคม 2566 นายอธิวัฒน์ บุตรดาบุตร ผู้อยู่อาศัยที่ได้รับความเดือดร้อนรำคาญจากการกำจัดขยะมูลฝอยติดเชื้อของทางโรงพยาบาล โดยในวันเดียวกัน การประชุมครั้งที่ 2 และการตรวจสอบระบบกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ ข้อสรุปที่ประชุมยังไม่ได้ให้ความเห็นชอบในการกำจัดขยะมูลฝอยติดเชื้อ เนื่องจากยังมีเรื่องร้องเรียนอยู่
ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ุถึงเดือนพฤษภาคม 2566 ทางผู้ร้องเรียนและกลุ่มงานพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมร่วมกันเก็บข้อมูลกลิ่นเหม็นจากทางโรงงานกำจัดขยะมูลฝอยติดเชื้อ โดยในระหว่างนี้ทาง บริษัท นำวิวัฒน์ ได้ทำงานติดตั้งแผ่นเมทัลชีทตามแนวรั้ว และต่อปล่องระบายอากาศให้สูงขึ้นและหันไปทางด้านหน้าของอาคารกำขัดขยะแทน ทำให้ผู้ร้องเรียนจากชั้น 1 ได้รับความรำคาญลดลงแต่ผู้อยู่อาศัยที่ชั้น 3 ได้รับความรำคาญจากกลิ่นเหม็นแทน
ในวันที่ 6 มิถุนายน 2566 ช่วงเช้า ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่นได้จัดประชุมเพื่อแก้ไขปัญหาเหตุรำคาญจากโรงกำจัดมูลฝอยติดเชื้อของโรงพยาบาล เป็นการประชุม Online และ Onsite และได้ให้คำแนะนำแก่เทศบาลฯ ว่าให้ทำหนังสือสั่งให้โรงพยาบาลขอนแก่น หยุดการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อไว้ก่อนจนกว่าจะได้รับความเห็นชอบจากราชการส่วนท้องถิ่นตาม ข้อ 6 ในกฎกระทรวงการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ.2545 เทศบาลรับทราบแนวทางการปฏิบัติ
นอกจากนั้นในช่วงบ่ายวันเดียวกัน ทางเทศบาลฯได้จัดประชุมครั้งที่ 3 โดยเชิญอาจารย์นัฐชานนท์ เขาราธ ภาควิชาวิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นให้คำแนะนำเบื้องต้นแก่บริษัทว่า ระบบบำบัดอากาศอากาศของโรงกำจัดยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ เครื่องดูดควันที่ติดตั้งไม่สัมพันธ์กับปริมาตรอากาศที่ต้องดูดเข้าไปในระบบ ทำให้มีกลิ่นเล็ดลอดออกตามช่องผนังและหลังคาได้
“บริษัทจึงรับปากจะแก้ปัญหาให้แล้วเสร็จภายใน 2 สัปดาห์หลังการประชุม เมื่อแก้ไขปัญหาแล้วเสร็จจะให้ผู้เชี่ยวชาญเข้าตรวจสอบก่อนให้ความเห็นชอบเปิดดำเนินการ ที่ประชุมไม่เห็นชอบให้เปิดดำเนินการจนกว่าจะแก้ปัญหาแล้วเสร็จ”น.พ.ชาตรีกล่าว
กระทั่งวันที่ 11 กรกฎาคม 2566 ครบกำหนดการการแก้ไขและปรับปรุงตามที่บริษัทแจ้งไว้ ทางศูนย์อนามัยฯ จึงขอความอนุเคราะห์สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย ให้ส่งผู้เชี่ยวชาญเข้าตรวจวัดกลิ่นรบกวน ในวันที่ 12 กรกฎาคม แต่ได้รับติดต่อจากเทศบาลนครฯให้เปลี่ยนวันเข้าตรวจสอบเป็นวันที่ 13 กรกฎาคมแทน เนื่องจากผู้เชี่ยวชาญติดราชการในวันดังกล่าว แต่ได้แจ้งเหตุผลและความจำเป็นจากผู้ประสานงานของเทศบาลนครฯว่าไม่สามารถเปลี่ยนแปลงกำหนดการได้ จึงได้เข้าทำการเข้าตรวจสอบเฉพาะห้องของผู้ร้องเรียน
วันที่ 13 กรกฎาคม 2566 ทางเทศบาลฯขอเชิญเข้าร่วมการตรวจระบบกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ ในที่ประชุมศูนย์อนามัยฯ ได้นำเสนอผลการตรวจวัดกลิ่นของสำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม เพื่อประกอบการพิจารณาเห็นชอบ และได้มีการขอให้ลงความเห็นชอบเป็นรายหน่วยงาน ซึ่งศูนย์อนามัยฯ และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่นขอสงวนความเห็น
หลังจากนั้นทางเทศบาล ได้ขอความอนุเคราะห์ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบกลิ่นจากการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ จากสำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย และได้ส่งเรื่องมายังศูนย์อนามัยฯ เพื่อทำเรื่องขอเข้าตรวจสอบภายในบริเวณห้องพักของผู้ร้องเรียน
กรมอนามัยร่วมกับเทศบาลนครขอนแก่น ลงพื้นที่ตรวจสอบโรงงานกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ ในวันที่ 22-23 สิงหาคม 2566 ผลการตรวจสรุปได้ว่า 1.ผู้ปฏิบัติงานกำจัดมูลฝอยติดเชื้อไม่ได้ผ่านการอบรมตามหลักสูตรกำหนดครบทุกคน 2.ที่พักมูลฝอยติดเชื้อมีขนาดไม่เพียงพอที่จะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อได้อย่างน้อย 2 วัน 3.ระบบรวบรวมอากาศเสียและระบบบำบัดมลพิษทางอากาศไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะป้องกันปัญหากลิ่นรบกวน ทางเทศบาลจึงได้แจ้งไปทางโรงพยาบาลว่าเพื่อให้การกำจัดมูลฝอยติดเชื้อด้วยตนเองของสถานบริการเป็นไปตามกฎกระทรวง ดังนี้ 1.ไม่อาจให้ความเห็นชอบในการดำเนินกำจัดมูลฝอยติดเชื้อด้วยตนเองจนกว่าจะปฏิบัติตามข้อกำหนดในกฎกระทรวงว่าด้วยการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ.2545 ได้ครบถ้วย 2.ขอให้ระงับเหตุรำคาญโดยการหยุดกำจัดมูลฝอยด้วยตนเองทันที จนกว่าจะสามารถแก้ไขให้ระบบรวบรวมอากาศเสียและระบบบำบัดมลพิษทางอากาศที่มีประสิทธิภาพได้
การกล่าวอ้างอาจารย์จากมหาวิทยาลัยขอนแก่นนั้น ข้อมูลที่เกิดขึ้นนอกที่ประชุมและไม่มีเอกสารเป็นลายลักษณ์อักษร ไม่ควรนำมาใช้อ้างอิงเพราะไม่สามารถพิสูจน์ข้อเท็จจริงได้
ส่วนเรื่องการอ้างผลตรวจสอบข้อเท็จจริงของเทศบาลในวันที่ 4 กรกฎาคม 2566 ว่าเทศบาลตรวจแล้วปฏิบัติถูกต้องตามกฎกระทรวงปี 2545 ทุกประการ นั้นจากการตรวจสอบจริงกลับพบข้อบกพร่อง 3 ข้อตามผลการตรวจของกรมอนามัยข้างต้น
ด้านผลการตรวจในวันที่ 13 กรกฎาคม 2566 แล้วไม่เหม็นและสอบถามผู้ร้องเรียน แจ้งว่าไม่ได้กลิ่นแล้ว เป็นเพราะว่า การตรวจสอบและสอบถามนั้นทำในบริเวณชั้น 1 ซึ่งขณะนั้นทางโรงงานได้ต่อปล่องระบายอากาศให้สูงขึ้น ทำให้ผู้อยู่อาศัยชั้น 3 กลายเป็นผู้เดือดร้อนแทน ซึ่งทางเทศบาลฯ ไม่ได้เข้าไปตรวจสอบที่ชั้น 3 เนื่องจากยึดตามเอกสารร้องเรียนซึ่งเป็นของผู้อยู่อาศัยที่ชั้น 1 ซึ่งเมื่อผู้อยู่อาศัยที่ชั้น 3 ได้ทำหนังสือร้องเรียนไปยังนายกเทศมนตรี โดยทางเทศบาลฯ ได้ขอความอนุเคราะห์ไปยังสำนักอนามัยสิ่งแวดล้อมกรมอนามัยส่งเจ้าหน้าที่พร้อมเครื่องมือในการตรวจวัดมาดำเนินการตรวจวัดแทน
นอกจากนี้ยังมีเจ้าหน้าที่จากเทศบาลเมืองศิลาอีก 3 ท่านซึ่งมิได้เกี่ยวข้องและมีส่วนได้ส่วนเสียในกรณีนี้ ร่วมเป็นคณะตรวจสอบกลิ่นด้วย เจ้าหน้าที่ทุกคนผ่านการอบรมและขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทดสอบกลิ่น ผลการตรวจสอบสามารถเชื่อถือได้ และเป็นวิธีการที่ได้รับการยอมรับในชั้นศาล เทศบาลจึงอ้างอิงผลการตรวจวัดดังกล่าว ออกคำสั่งให้หยุดดำเนินการ ส่วนการอ้างว่าผลตรวจของทางสำนักอนามัยสิ่งแวดล้อมว่ามีการเผาไหม้นั้นไม่มีส่วนไหนในรายงานกล่าวถึงการเผาไหม้แต่อย่างใด
ส่วนกรณีการไม่ยอมรับผลตรวจเพราะทาง ศูนย์อนามัยฯ เป็นคู่ขัดแย้งนั้น ทางศูนย์อนามัยฯ ขอชี้แจงว่า กรณีดังกล่าวผู้ร้องเรียนเป็นเจ้าหน้าที่ของศูนย์อนามัยฯ เท่านั้น ทางศูนย์อนามัยฯ ไม่ได้เข้าไปแทรกแซงกระบวนการทำงาน ทางเทศบาลแค่ขอให้ทางศูนย์อนามัยฯ ส่งเจ้าหน้าที่เข้าร่วมเป็นคณะให้คำปรึกษาทางวิชาการในการประชุมเท่านั้น และการเข้าตรวจสอบของทางสำนักอนามัยสิ่งแวดล้อมเป็นไปตามหลักวิชาการทุกประการ
“การสร้างกระแสข่าวว่า รปภ.ไม่ให้เข้าตรวจสอบแล้วทางสำนักอนามัยสิ่งแวดล้อมบุกรุกเพื่อตรวจสอบในวันที่ 12 กรกฎาคมนั้น ไม่ทราบว่าไปเอาข่าวมาจากไหน เนื่องจากได้รับยืนยันว่าไม่สะดวกให้เข้าตรวจในวันที่ 12 กรกฎาคม” น.พเกรียงศักดิ์กล่าวและว่า
ผู้ตรวจสอบจึงได้ดำเนินการตรวจวัดเฉพาะห้องของผู้ร้องเรียนไม่ได้เข้าไปในบริเวณโรงพยาบาล ส่วนผลการตรวจเสร็จในวันที่ 22 สิงหาคม ทำไมสรุปผลวันที่ 28 สิงหาคม เนื่องจากเมื่อตรวจวัดเสร็จ จะต้องทำการดึงข้อมูลการตรวจวัดทั้งหมดจากเครื่องมือและวิเคราะห์ข้อมูล จัดทำเอกสารรายงานตามระบบ จึงต้องใช้เวลาพอสมควร หากมีข้อสงสัยในผลการตรวจว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือบิดเบือนข้อมูลหรือไม่ สามารถตรวจสอบผลจากเครื่องมือได้
การที่น.พ.เกรียงศักดิ์ กล่าวว่า วิธีการตรวจไม่ถูกต้อง จะยอมรับผลได้ต้องเป็นการเก็บอากาศในปล่องที่ผ่านฟิลเตอร์กรอง ทางศูนย์อนามัยฯ ขอชี้แจ้งว่า การตรวจสอบของสำนักอนามัยสิ่งแวดล้อมตามการร้องขอของเทศบาลนครขอนแก่น เป็นการตรวจกลิ่นรบกวนซึ่งเป็นเหตุรำคาญตามมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข ได้ใช้หลักการวินิจฉัยเหตุรำคาญ 3 องค์ประกอบ คือ แหล่งกำเนิด (Source) ช่องทางของมลพิษ (Pathway) และประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ (Receptor) ผลการตรวจสอบ พบว่า
1. แหล่งกำเนิด พบว่าระบบกำจัดมูลฝอยติดเชื้อของโรงพยาบาล มีขั้นตอนกระบวนการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อซึ่งก่อให้เกิดสารเคมีที่มีกลิ่นหลายชนิดจริง และยังพบข้อพกพร่องด้านสุขลักษณะของระบบรวบรวมอากาศเสีย และระบบบำบัดมลพิษทางอากาศที่มีประสิทธิภาพไม่เพียงพอ
2. ช่องทางของมลพิษ คือ กลิ่นที่เกิดจากระบบกำจัดมูลฝอยติดเชื้อแพร่กระจายออกไปยังอาคารที่พักอาศัยของประชาชนที่อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียงประมาณ 2-3 เมตร และสภาพอากาศที่ทิศทางลมยังพัดกลิ่นมายังที่พักอาศัยของประชาชนข้างเคียง
3. ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ โดยหลักการจะทำการตรวจวัดคุณภาพอากาศและกลิ่นรบกวนที่บ้านหรือที่พักอาศัยของประชาชนผู้ได้รับผลกระทบเพราะกฎหมายมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ และนำค่าผลการตรวจวัดที่ได้เทียบเคียงกับมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
ซึ่งการตรวจวัดใช้ 3 วิธี คือ
วิธีที่ 1 การตรวจวัดกลิ่นรบกวน เป็นการตรวจวัดค่าระดับความเข้มข้นกลิ่นด้วยเครื่องมือตรวจวัดกลิ่นในบรรยากาศภาคสนาม (Nasal Ranger) ทำการตรวจวัดในบริเวณหรือสถานที่ที่ประชาชนร้องเรียนและเป็นช่วงเวลาที่ผู้ร้องแจ้งว่าได้รับกลิ่นเป็นประจำ
“เราได้ตรวจวัดในขณะที่มีกลิ่นอย่างน้อย 3 ครั้ง ห่างกันอย่างน้อย 15 นาที และนำค่ามาเทียบกับค่ามาตรฐานระดับกลิ่นรบกวนของสถานที่ทั่วไป เช่น ที่พักอาศัยหรือชุมชน ซึ่งต้องมีค่าความเข้มข้นน้อยกว่า 4 หน่วยกลิ่น (D/T)
บริเวณจุดที่ทำการตรวจวัดมีค่าระดับความเข้มข้นกลิ่นเท่ากับ 7, 7, 7 และ 4 D/T ซึ่งสูงกว่าค่ามาตรฐานกลิ่นรบกวนตามคำแนะนำของคณะกรรมการสาธารณสุข บ่งชี้ว่าอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่โดยปกติสุขของประชาชน”น.พ.ชาตรีกล่าว
วิธีที่ 2 การตรวจวัดชนิดและปริมาณสารอินทรีย์ระเหยง่ายภาคสนามด้วยเทคนิค Gas Chromatograph ซึ่งเป็นเครื่องมือตรวจวัดทางวิทยาศาสตร์ที่ได้มาตรฐานและมีการสอบเทียบเป็นประจำทุกปี ตรวจวัดจำนวน 4 ครั้ง
พบสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่ายมีค่าเฉลี่ยอยู่ในช่วง 0.19 -4.99 ppm และยังตรวจพบสาร Acrolein ซึ่งเป็นสารเคมีที่ทำให้เกิดกลิ่น (Odorant)และเป็นสารก่อมะเร็ง ที่มีลักษณะกลิ่นคล้ายกลิ่นคาวปลา มีค่าความเข้มข้นอยู่ในช่วง 0.02 – 0.22 ppm บ่งชี้ถึงความเสี่ยงและอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน
วิธีที่ 3 การตรวจระดับความแรงกลิ่นภาคสนามโดยคณะเจ้าหน้าที่โดยการใช้แบบบันทึกข้อมูลการสำรวจกลิ่นภาคสนาม (Odor Survey Record)
น.พ.ชาตรีกล่าวว่า คณะผู้ตรวจสอบจำนวนเกินกว่ากึ่งหนึ่งรับรู้ความแรงของกลิ่นในระดับ 4-5 คือ เป็นกลิ่นที่น่ารังเกียจและทำให้บุคคลใดๆ มีแนวโน้มหลีกเลี่ยงการสูดดม และเป็นกลิ่นที่มีแนวโน้มจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อร่างกายระหว่างการสัมผัสในระยะสั้นหรือระยะยาว และทำให้ผู้สัมผัสทนไม่ได้
สรุปได้ว่าทางโรงพยาบาลขอนแก่น ปฏิบัติฝ่าฝืนกฎหมาย ไม่ปฏิบัติตาม ข้อ 6 กฎกระทรวงว่าด้วยการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ.2545 ที่จะต้องให้ราชการส่วนท้องถิ่นให้ความเห็นชอบก่อนจึงจะดำเนินการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อด้วยตนเอง
ประการที่สองยังไม่ได้รับมอบอำนาจให้ดำเนินการจัดการมูลฝอยแทนภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่น ตามมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข ซึ่งมีโทษตาม มาตรา 73 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
แต่เนื่องจากเป็นส่วนราชการเป็นผู้กระทำผิดเสียเองจึงไม่สามารถบังคับทางปกครองกับโรงพยาบาลขอนแก่นได้