ไทยสอบตกป้องกันแทรกแซงธุรกิจบุหรี่

ไทยสอบตก คะแนนป้องกันการแทรกแซงจากธุรกิจยาสูบ “ร่วงจากอันดับ 11 เป็น 26 ของโลก” หลังพบ “มีการวิ่งเต้นเรื่องบุหรี่ไฟฟ้าจากเครือข่ายเชื่อมโยงบริษัทบุหรี่ยักษ์ใหญ่”
รศ.ดร.พญ.เริงฤดี ปธานวนิชผู้อำนวยการศูนย์วิจัยติดตามและเฝ้าระวังอุตสาหกรรมยาสูบ ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชนคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เปิดเผย
‘ผลการสำรวจดัชนีการแทรกแซงอุตสาหกรรมยาสูบทั่วโลก’ ปี 2566 ที่จัดทำโดยศูนย์ธรรมาภิบาลระดับโลกด้านการควบคุมยาสูบ (Global Center for Good Governance in Tobacco Control)ซึ่งดัชนีนี้พัฒนามาจากกรอบอนุสัญญาด้านการควบคุมยาสูบองค์การอนามัยโลกมาตรา 5.3เพื่อป้องกันไม่ให้ธุรกิจยาสูบแทรกแซงนโยบายสาธารณะที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมยาสู
บ โดยดัชนี้ดังกล่าวมีตัวชี้วัดสำคัญ 7 ตัว ได้แก่ 1.ระดับการมีส่วนร่วมของธุรกิจยาสูบในการพัฒนานโยบายสาธารณะ 2.การดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมของธุรกิจยาสูบ 3. การเอื้อประโยชน์ให้ธุรกิจยาสูบ 4.การยอมรับความร่วมมือจากธุรกิจยาสูบโดยไม่จำเป็น 5.การเปิดเผยข้อมูลของธุรกิจยาสูบสู่สาธารณะ 6.การมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับธุรกิจยาสูบ และ 7.มาตรการป้องกันการแทรกแซงจากธุรกิจยาสูบ“ผลการสำรวจนี้ พบว่าประเทศไทยได้คะแนนเพิ่มจาก 41 คะแนนเมื่อปี 2564เป็น 50 คะแนนในปี 2566ซึ่งบ่งชี้ว่ามีการแทรกแซงนโยบายสาธารณะด้านการควบคุมยาสูบจากธุรกิจยาสูบเพิ่มมากขึ้น ทำให้อันดับของการป้องกันการแทรกแซงจากธุรกิจยาสูบร่วงจาก 11 เป็นอันดับ26 ของโลก ซึ่งรายงานฉบับนี้ระบุไว้ชัดเจนว่า สาเหตุที่ประเทศไทยสอบตก
เนื่องจากพบมีธุรกิจยาสูบและองค์กรที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับธุรกิจยาสูบวิ่งเต้นเพื่อให้รัฐบาลไทยยกเลิกกฎหมายห้ามบุหรี่ไฟฟ้าอย่างหนักหน่วง
โดยเฉพาะมีการล็อบบี้เข้าพบผู้บริหารกระทรวงต่างๆและนักการเมืองจนทำให้มีการตั้งคณะทำงานในกระทรวงหนึ่งเพื่อศึกษาบุหรี่ไฟฟ้าและคณะอนุกรรมาธิการอีก 2 ชุดในสภาผู้แทนราษฎร
โดยมีผู้แทนเครือข่ายที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับธุรกิจยาสูบเข้าร่วมเป็นที่ปรึกษาและจัดทำรายงานในลักษณะที่เอื้อประโยชน์ให้กับธุรกิจยาสูบ เช่น แนะนำให้ประเทศไทยใช้หลักการ ‘การลดอันตราย’ที่ธุรกิจยาสูบมักใช้อ้างไปทั่วโลกเพื่อสนับสนุนการใช้บุหรี่ไฟฟ้าและต้องการทำให้บุหรี่ ไฟฟ้าถูกกฎหมายในประเทศไทย” รศ.ดร.พญ.เริงฤดี กล่าว
ผศ.ดร.นพ.วิชช์ เกษมทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) กล่าวว่า องค์การอนามัยโลกตระหนักถึงภัยคุกคามจากการแทรกแซงนโยบายของธุรกิจยาสูบ
ทำให้เมื่อ 16 พ.ย. 2566 มีการออกแคมเปญ ‘Stop the Lies’ (หยุดการโกหก) ที่มุ่งต่อสู้กับข้อมูลข่าวสารที่หลอกลวงของธุรกิจยาสูบ โดยให้ความกระจ่างเกี่ยวกับการที่ธุรกิจยาสูบมุ่งเป้าไปที่เด็กและเยาวชนอย่างต่อเนื่อง และเรียกร้องให้รัฐบาลทั่วโลกปกป้องการกำหนดนโยบายด้านสุขภาพจากการแทรกแซงของธุรกิจยาสูบ
ทั้งนี้ปัจจุบันสถานการณ์ในประเทศไทยธุรกิจยาสูบและเครือข่ายยังคงทำการวิ่งเต้นอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดคือ การตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาเรื่องบุหรี่ไฟฟ้าในสภาผู้แทนราษฎรที่มีรา
ยชื่อของบุคคลสองคนที่มีความสัมพันธ์กับธุรกิจยาสูบข้ามชาตินั่งเป็นกรรมาธิการด้วยโดยเรื่องนี้ทาง ศจย. และภาคีเครือข่ายได้ทำหนังสือถึงท่านประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานกรรมาธิก
ารฯ
ชุดดังกล่าวให้มีการสอบสวนและดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพราะขัดต่อกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบ มาตรา 5.3 อย่างรุนแรง‘หากปล่อยให้ธุรกิจยาสูบวิ่งเต้นกันในประเทศไทยในลักษณะแบบนี้ต่อไปการสำรวจรอบต่อๆ ไปประเทศไทยคงจะสอบตกอีกซึ่งทำให้เครดิตที่ดีด้านการควบคุมยาสูบของไทยตกต่ำลงโดยผลกระทบที่สำคัญจะอยู่ที่ประชาชนคนไทยโดยเฉพาะเด็กและเยาวชนที่ต้องตกเป็นเหยื่อของธุรกิจยาสูบ’
แสดงความคิดเห็น