จับตาการศึกษาไทยหลังเลือกตั้ง 62

ภายในระยะเวลาไม่อีกกี่เดือนข้างหน้า เป็นไปได้มากว่า กระทรวงศึกษาธิการจะต้องถึงคราวปรับรื้อโฉมใหม่ค่อนข้างแน่นอน เพราะอย่างน้อยก็ต้องมีการปรับโครงสร้างโดยเอาสำนักงานคณะกรรมอุดมศึกษาออกไปตั้งกระทรวงใหม่ในชื่อกระทรวงอุดมศึกษาวิจัยและนวตกรรม

ในขณะที่สำนักงานสภาการศึกษาทราบว่าจะขอออกไปอยู่บ้านเดิม คือ สำนักนายกรัฐมนตรี ที่เคยอยู่มาก่อนที่จะถุกจับยัดเข้ามาในกระทรวงศึกษาธิการตามเกณฑ์การปฎิรูปการศึกษา เมื่อคราวที่ผ่านมาเช่นเดียวกับทบวงมหาวิทยาลัย ที่กลายร่างมาเป็นสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา ซึ่งในที่สุดก็อยู่ไม่ได้ต้องขอแยกวงไปอยู่ที่เดิมอย่างที่เคยกล่าวมาแล้วในฉบับบที่ผ่านมา

ในขณะะที่ภายในปี 2562นี้ก็จะมีการปรับโฉมคณะรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งต้นปีหน้า ก็จะเปลี่ยนโฉมหน้าของรัฐในตรีว่า การกระทรวงศึกษาธิการเข้ามาคุมบังเหียนเพื่อปรับรื้อกระทรวงศึกษาธิการใหม่ แน่นอนในปีหน้านี้หลังการเลือกตั้งใหญ่

ประการต่อมาที่รัฐบาลใหม่โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการที่จะต้องเสนอนโยบายจัดรูปแบบการบริหารจัดการภายในว่าจะใช้รูปแบบรวมศูนย์อำนาจการจัดการศึกษาเอาไว้ที่ส่วนกลางเหมือนรัฐบาลทุกยุคทุกสมัยที่ผ่านมา หรือจะใช้วิธีการกระจายอำนาจจากส่วนกลางไให้สถานศึกษาโดยชุมชนในพื้นที่เขาจัดการศึกษาด้วยตัวของเขาเอง ซึ่งมีกระทรวงศึกษาธิการส่วนกลางเป็นเพียงควบคุม นโยบายและสนับสนุนทรัพยากร ไปให้เท่านั้น เหมือนกับการจัดการศึกษาของอารยะประเทศ เขาจัดการศึกษาจนประสบความสำเร็จมาแล้ว โดยให้นโยบายให้ความสำคัญกับเด้กตั้งแต่แรกเกิด จนถึงระดับอนุบาลที่ให้พ่อแม่และครอบครัว เข้ามามีส่วนสำคัญในการจัดการศึกษาให้ความรักความรู้และถ่ายทอดวัฒนธรรม สร้างสิ่งดีงามให้กับเด็กก่อนเข้าอนุบาล จนถึงระดับอนุบาลและเมื่อระดับประถมก็ให้แนวคิดที่จะให้เด็กมีเวลา ทำในสิ่งที่ชอบทำกิจกรรมที่สนใจบ้างไม่ใช่มีเฉพาะวิชาการ ตลอดระยะเวลาที่อยู่ในโรงเรียน รวมถึงการกำหนดครูและนักเรียนในอัตราส่วนที่เหมาะสมต่อห้องเรียนทั้งระดับประถมและระดับมัธยมครู 1 คนต่อนักเรียน10-20 คนเท่านั้นไม่ใช่ยัดทะบานห้องละ 50-60 คนในโรงเรียนยอดนิยมอย่างเช่นปัจจุบัน ครูที่ไหนเขาจะมาดูแลควบคุมเอาใจใส่ให้มีคุณภาพได้ ซึ่งจะต้องควบคุมให้ได้ทั้งสถานศึกษาในชนบทและในเมือง

 

ประการสุดท้ายก็คือ การพัฒนาคนที่จะเข้ามาเป็นครูผู้สอนและเป็นผู้บริหารโรงเรียนจะต้องได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและผ่านการคัดเลือกเข้ามาอย่างเข้มข้นไม่ใช่เส้นสายหรือแค่การสอบเก่งแต่เข้ามาสอนหรือเป็นผู้บริหารไม่มีคุณภาพ และหากเข้ามาแล้วไม่มีคุณภาพ จะต้องมีระบบคัดออกอย่างมีประสิทธิภาพพร้อมๆกับระบบการสร้างขวัญและกำลังใจค่าตอบแทนต้องเหมาะสมด้วยเช่นกัน ซึ่งเหล่านี้เป็นเพียง 1ใน100 แนวทางที่คนจะเข้ามาบริหารในกระทรวงศึกษาธิการยุคใหม่ในอนาคตอันใกล้นี้จะต้องเตรียมพร้อม ฉบับหน้าจะเสนออีกหลายแนวทางต่อไปครับ

ส่องการศึกษา:โดยดร.เพิ่ม หลวงแก้ว เลขาธิการมูลนิธิครูประชาบาลภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แสดงความคิดเห็น