ประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 5 ธ.ค.จากสภาหัตถกรรมโลก รับรอง ขอนแก่นเป็น“มหานครแห่งผ้ามัดหมี่โลก” ด้านประธานหอการค้าขอนแก่นผลักดันเป็นโชว์รูมผ้าอีสาน มั่นใจสร้างรายได้ต่อปีกว่าพันล้านบาท
เมื่อวันที่ 4 ธ.ค. 2561 ณ โรงแรมราชาวดี จังหวัดขอนแก่น โอกาสนี้ Dr.Ghada H. Qaddumi) President WCC Asia Pacific Region ได้เป็นผู้แทนสภาหัตถกรรมโลก มอบใบรับรองขอนแก่นเมืองหัตถกรรมโลกแห่งผ้าไหมมัดหมี่ และเสื้อครุย แด่ นายสมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ซึ่งถือเป็นรางวัลแห่งความภาคภูมิใจของประเทศไทยและจังหวัดขอนแก่น ในการนำเสนอวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของประเทศไทย ในเรื่องผ้ามัดหมี่ ความเป็นชุมชนผ้ามัดหมี่ และการถ่ายทอดองค์ความรู้ สืบทอดภูมิปัญญาอันเข้มแข็ง เพื่อนำเสนอต่อสายตาชาวโลกและเชื่อมโยงกับประเทศแถบภูมิภาคอาเซียนและภูมิภาคอื่นๆ ของโลก
นายเข็มชาติ สมใจวงษ์ ประธานหอการค้า จ.ขอนแก่น กล่าวว่า จากที่จังหวัดขอนแก่นได้ยื่นใบสมัครเป็น แอพพลิเคชั่น ให้กับสภาหัตถกรรมโลก พิจารณาเมื่อประมาณ เดือน ก.ค. 2561 ที่ผ่านมา และได้นัดหมายจากคณะกรรมการตรวจประเมินจังหวัดขอนแก่น ดูว่า ตรงตามหลักเกณฑ์หรือตรงความเป็นจริงที่ส่งไปหรือไม่ โดยได้มามาตรวจประเมินเมื่อวันที่ 10-12 ต.ค.ที่ผ่านมา
วิธีการตรวจประเมินตรวจตามคุณสมบัติในเรื่องเศรษฐกิจ สังคม การส่งผลดีต่อชุมชน การพัฒนาต่อยอดในเรื่องของอินโนเวชั่น การนำมาใช้เชิงธุรกิจเกิดผลดีแบบไหน โดยคณะกรรมการประเมินมี 4 ประเทศ คูเวต อินเดีย มาเลเซีย และประเทศไทย และได้รับการร่วมมือ จากหลายภาคส่วนทั้ง พาณิชย์จังหวัด พัฒนาชุมชน วัฒนธรรมจังหวัด และผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่นมาให้การต้อนรับ และนำคณะประเมินเดินทางไปที่ศูนย์หม่อนไหม เฉลิมพระเกียรติฯ ซึ่งผู้ประเมินจะเห็นกระบวนการที่เรียกว่า ตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง จนถึงปลายทาง คือการ ปลูกหม่อน เลี้ยงไหม การพัฒนาพันธุ์ต่างๆ และการส่งเสริมชาวบ้าน จนไปถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ปลายทาง ทำให้ผู้ประเมินเห็นว่า “กระบวนการตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ” และที่ อ.เมืองพล บ้านหัวฝาย อำเภอชนบท และวิทยาลัยการอาชีพ ซึ่งมีการนำเสนออินโนเวชั่นนาโน ที่เรียกว่า ไหมนาโน และพิพิธภัณฑ์ไหมพระนางเจ้าสิริกิตติฯ ชมผ้าไหมที่สวยงามที่สุดและผ้ามัดหมี่ระดับสุดยอดฝีมือ และยังได้พบกับปราชญ์ชาวบ้านที่เป็นศิลปินระดับประเทศที่มีผลงานในเรื่องการออกแบบ ลายไหม ได้รับรางวัลมีผลงานไปประกวดระดับโลกมาแล้ว
นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมการเดินแบบ ที่ตลาดต้นตาลขอนแก่น นำนักเรียน นักศึกษาจากวิทยาลัยอาชีวะขอนแก่นมาเดินแบบในชุดผ้ามัดหมี่ที่สวยงาม มีความทันสมัย ซึ่งคณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ได้ออกแบบชุดผ้าไหมในครั้งนี้ ซึ่งสร้างความประทับใจให้กับคณะกรรมการอย่างยิ่ง ว่าสิ่งที่เป็นภูมิปัญญาในอดีต ถูกนำมาใช้ในปัจจุบัน และมีคุณค่าสวยงาม นายเข็มชาติ กล่าวและว่า
จากนั้นเมื่อวันที่ 7 พ.ย.ที่ผ่านมาก็ได้รับแจ้งจากประธานสภาหัตกรรมโลกว่าขอนแก่นได้รับการรับรองเป็น “นครแห่งผ้ามัดหมี่โลก”
“เราต้องการให้ขอนแก่นเป็นศูนย์กลางโชว์รูมของผ้าอีสาน เพราะฉะนั้นผ้าอีสานไม่จำกัดว่าจะต้องมีแค่ผ้าไหม อาจจะมีผ้าฝ้ายจากเลย ผ้ายอมคร้ามจากสกลนคร เหตุผลตรงนี้ที่เราต้องการการรับรองว่าเป็นเมืองผ้ามัดหมี่โลก”นายเข็มชาติกล่าวและว่า
หลังจากที่เราได้รับข่าวดีแล้วและมีการนัดหมายว่า ในวันที่ 4 ธันวาคม 2561 คณะกรรมการสภาหัตกรรมโลจะมามอบประกาศนียบัตรให้จังหวัดขอนแก่น
“มันไม่ใช่ความฝันแล้ว มันเกิดขึ้นจริงแล้ว4ธันวาคม 61 ทุกคนรับรู้ 180,000 คนในขอนแก่นว่า เราเป็นเมืองแห่งผ่ามัดหมี่โลก ผมจะเสนอให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ให้เป็นวาระจังหวัด ขับเคลื่อนให้ต่อเนื่องไปยังอำเภอต่างๆสนับสนุนร่วมกันตั้งใจว่าจะทำให้ได้ภายในปลายปี61นี้”
นายเข็มชาติกล่าวว่า สำหรับการสร้างมูลค่าและเกิดผลดีต่อจังหวัดขอนแก่นนั้นด้วยปริมาณผ้าทอ ผ้ามัดหมี่ ผ้าต่างๆ ตอนนี้อยู่ประมาณ1,100 ล้าน ต่อปี การที่จังหวัดขอนแก่นได้รับการรับรอง แสดงว่าขอนแก่นจะถูกปักหมุด ว่าเป็นเมืองแห่งผ้ามัดหมี่โลก คนทั่วโลกก็จะรู้จัก แล้วขอนแก่นก็จะอาสา เป็นโชว์รูม ของผ้าอีสาน เนื่องจากมีทำเลเป็นศูนย์กลาง มีศูนย์ประชุม มีมหาวิทยาลัย มีคนเข้ามาเยือนขอนแก่นมากมายปีหนึ่ง 5 ล้านคนตามสถิติที่ ททท.ได้สำรวจ และยังมีโรงงานอีกมากมาย
สิ่งที่สำคัญเราจะต้องต่อยอด มหาวิทยาลัยไปออกแบบไปพัฒนารูปแบบ ไปตัดชุด ไปทำผลิตภัณฑ์โปรดักส์ที่เกิดจากผ้ามัดหมี่ผ้าไหมต่างๆ ขอนแก่นมีโรงงานระดับโลกตั้งอยู่ เช่น โรงงานเสื้อผ้า เสื้อกีฬา Nike Adidas ที่ ต.บ้านทุ่มจ.ขอนแก่นมาร์เก็ตแชร์อันดับหนึ่งของโลกเป็นไปได้ไหมถ้าทางโรงงานคุยกับเจ้าของแบรนด์ทำคอลเลคชั่นเสื้อกีฬาที่มีหลายผ้ามัดหมี่อาจจะเป็นขลิบที่กระดุมขลิบที่ปกเสื้อ ก็จะทำให้ทั่วโลกรู้ว่าลายผ้าที่อยู่บนคอลเลคชั่นนี้มาจากขอนแก่นประเทศไทย หรือโรงงานรองเท้าที่เป็น แบรนด์เนมระดับโลกที่อยู่ขอนแก่น เช่น ทิมเบอร์แลนด์ ด๊อกเตอร์มาติน เป็นไปได้ไหมว่าทำรองเท่ามีเชือกรองเท้าลายผ้ามัดหมี่ เป็นต้น ซึ่งต้องทำความเข้าใจให้ทางเจ้าของแบรนด์รู้ว่าเป็นงานCSR ที่สามารถช่วยให้คนอีสานซึ่งถือว่าเป็นคนที่มีรายได้ต่ำที่สุดในประเทศไทยได้มีโอกาส ที่สำคัญเป็นการตอบแทนแผ่นดินที่ได้ประโยชน์แบบนี้น่าจะเป็นผลประโยชน์ร่วมกันซึ่ง
นายเข็มชาติกล่าวว่า เราฝันว่าอยากจะมีโชว์รูมขนาดใหญ่อย่างเช่นที่จ.เชียงใหม่ที่ อ.สันกำแพง มีอุตสาหกรรมผลิตให้เห็น มีสินค้ามาโชว์ มีผลิตภัณฑ์มากมาย มีการแสดงหรือมีพาแลงดินเนอร์ ขอนแก่นก็สามารถทำได้แต่ยังไม่มีผู้ลงทุน หากภาครัฐเข้ามาสนับสนุนและให้เอกชนเข้าไปบริหารจัดการก็จะเกิดโชว์รูมนี้ขึ้นมาได้ และในโชว์รูมนี้เราจะมีผ้าจากเมืองเลย ผ้าสกลนคร ผ้าจากจังหวัดอื่นๆในอีสาน มีกิจกรรมทั้งการเดินแบบ มีคนทอผ้าไหมให้เห็น เพราะฉะนั้นคุณค่าก็จะมาราคาก็จะเป็นเรื่องรอง
ที่ผ่านมาเศรษฐกิจขอนแก่นเหนื่อยพอสมควร แต่ขอนแก่นถือว่าโชคดีกว่าจังหวัดอื่นเนื่องจากมีแรงซื้อจากต่างจังหวัด เพราะแต่ละปีมีคนเข้ามาเยือนจังหวัดขอนแก่นไม่ต่ำกว่า 5 ล้านคน อย่างบ้านจัดสรร 50%จะเป็นคนนอกพื้นที่มาซื้อและนอกจากนี้มีโครงการรถไฟฟ้ารางเบา หรือโครงการท่าเรือบก จะทำให้พื้นฐานเรามีความพร้อม อุตสาหกรรมต่อเนื่องจะตามมา คนอีสานที่ไปทำงานที่อื่นก็จะกลับมาอยู่ภูมิลำเนา ทำให้คนขอนแก่นมีการเติบโตแน่นอนส่วนรัฐบาลเองต้องให้ความสำคัญต่อชาวอีสาน หากรัฐบาลช่วยสนับสนุนการลงทุนก็จะถือว่าเป็นน้ำซึมที่ละเล็กๆทำให้เราเติบโต มั่นคงแข็งแรง อย่างเหมือนรถไฟฟ้ารางเบาที่ทางรัฐบาลให้โอกาสขอนแก่นก็ยากจะได้โอกาสแบบนี้อีกในการลงทุนในด้านอื่นๆไม่ว่าจะเป็นการจัดการน้ำ การจัดการในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานที่ทำให้เราสามารถเข็มแข็งหรือเติบโตขึ้นได้ด้วยตนเองขอนแก่นยังทราบว่ารัฐบาลน่าจะประชุม ครม.สัญจรที่ขอนแก่นในช่วงเดือนธันวาคม 2561นี้ ทางขอนแก่นได้มีการเตรียมการว่าจะนำเสนอเรื่องของโครงการผันน้ำ ซึ่งทางรัฐบาลเองก็ให้ความสำคัญเรื่องนี้ซึ่งอยู่ในการศึกษาผลกระทบ การออกแบบดำเนินการซึ่งใช้เวลาประมาณ 3-5ปี เราจึงมีการปรึกษาว่าจะเร่งรัดกระบวนการศึกษาให้เร็วขึ้น
โครงการผันน้ำก็เป็นโครงการใหญ่สำหรับชาวอีสาน เรื่องงบประมาณของประเทศและพื้นที่ถือเป็นการลงทุนระยะยาวอาจจะเป็นเรื่องลำบากในการตัดสินใจของรัฐบาล แต่อาจจะเลือกทำเป็นบางเฟส บางโซนแต่ต้องมีการวางแผนให้ต่อเนื่องโดยการสบทบจากภาคเอกชน มีการเก็บภาษีไร่นาที่ได้รับประโยชน์ให้สูงขึ้นเกษตรยินดีจ่ายเงินสมทบส่วนหนึ่ง หรือมีการกู้เงินจากสถาบันการเงินผ่านการรับรองจากองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น หรือการนำทรัพยากรใต้ดินมาใช้เช่นแร่ธาตุบางชนิด ในพื้นที่ที่ไม่สามารถทำการเกษตรได้แต่เป็นขุมทรัพย์ของแร่ธาตุเหล่านี้แล้วควบคุมมลภาวะให้ได้ เอารายได้จากตรงนี้เข้ามาอุดหนุนนี่ก็เป็นโมเดลที่เราต้องมาทบทวน
สำหรับบทบาทของ KKMM Khon Kaen MICE Management จะครบรอบ 2 ปีแล้ว จัดตั้งเพื่อเสริมให้ธุรกิจที่อยู่ในอุตสาหกรรมไมซ์ให้เข็มแข็ง พร้อมที่จะเป็น วันสต๊อปเซอร์วิซ ให้กับผู้มาจัดงานซึ่งที่ผ่านมาเราได้รับการสนับสนุนน้อยมาก โอกาสที่เราจะมีงานมีรายได้มาขับเคลื่อนแทบจะไม่มี เงินจากการลงทุนประมาณ 5 ล้านบาท ร่อยหร่อ พร้อมภารกิจที่จะต้องไปสนับสนุนกิจกรรมของจังหวัดมากมาย เช่นการรองรับให้เป็นนครแห่งผ้ามัดหมี่โลก เราไม่ได้รับการสนับจากราชการเลย ทั้งแต่การต้อนรับการเดินทาง วิทยากร กระบวนการต่างๆพวกเราช่วยกันเอง เพราะเป็นเรื่องที่ไม่ได้อยู่ในงบประมาณ ไม่ได้ตั้งงบประมาณ
และนี่คือภารกิจที่ KKMM เข้าไปทำโดยไม่มีผลตอบแทน แล้วเราก็คิดว่าในปีนี้เราอาจต้องไปออแกรไนเซอร์บ้าง ไปรับจ้างบ้างซึ่งจริงๆผิดวัตถุประสงค์เพราะเราไม่ต้องการไปแข่งขันกับท้องถิ่น แต่เราก็ต้องทำเพราะเป็นการหารายได้มาเลี้ยงบริษัทอาจจะเรียกว่ามีสองบุคลิกในเรื่องเดียวซึ่งเป็นที่บริหารยากเหมือนกัน แต่ถ้าผู้ถือหุ้นเห็นสมควรว่าสิ่งที่เราทำอยู่ผลตอบแทนเหนือกว่าตัวเงินเราก็จะทำต่อ แต่ถ้าผู้ถือหุ้นเห็นสมควรว่าควรเบรคเราก็จะหยุดที่ผ่านมาเราขาดโอกาสในการสนับสนุนน้อยมาก นายเข็มชาติกล่าว