เมื่อต้องเขียนถึง จรรยาบรรณสื่อมวลชน จำเป็นอย่างยิ่ง ที่ต้องยก “ฐานันดรที่สี่” มากล่าวด้วย เพราะทั้งสองเรื่องประกอบกันจึงจะสมบูรณ์แบบ
ข้อมูลจากวิกิพีเดีย ให้ความหมายของ “ฐานันดรที่สี่” ว่า หมายถึง แรงขับดันหรือสถาบัน ทางสังคมหรือการเมือง ที่มีอิทธิพลของมันเป็นที่รับรู้ได้อย่างสม่ำเสมอหรือเป็นทางการ ซึ่งมักจะหมายถึงสื่อข่าว โดยเฉพาะสื่อข่าวสิ่งพิมพ์ที่มา ก็คือ ในรัฐสภาอังกฤษประกอบด้วยฐานันดรศักดิ์ทั้งสาม คือฐานันดรที่ 1 ประกอบด้วยสภาขุนนางอันมี พวกขุนนางสืบตระกูลฐานันดรที่ 2 ประกอบด้วยบรรพชิต พระราชาคณะฐานันดรที่ 3 ประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎร
วันหนึ่งมีการประชุมในรัฐสภาอังกฤษ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนหนึ่งชื่อ นายเอ็ดมันด์ เบิร์ก อภิปราย มีตอนหนึ่งที่ท่านผู้นี้ได้กล่าวขึ้นว่า… “ในขณะที่เราทั้งหลายเป็น ฐานันดรใดฐานันดรหนึ่งทั้งสามกำลังประชุมกันอยู่นี้ เราพึงคำนึงไว้ด้วยว่า บัดนี้ได้มี ฐานันดรที่ 4 เกิดขึ้นแล้ว และฐานันดรนั้นกำลังมานั่งฟังการประชุมของเราอยู่ ณ ที่นี้ด้วย” เขาก็ชี้มือไปยัง กลุ่มคนหนังสือพิมพ์ ซึ่งได้พากันมานั่งฟังการประชุม ตั้งแต่นั้นมากลุ่มผู้ประกอบอาชีพหนังสือพิมพ์จึงกล่าวว่าเป็นฐานันดรที่สี
ส่วนจรรยาบรรณสื่อ ที่คนเป็นนักสื่อสารมวลชนอาชีพ พกติดตัวอยู่เสมอ ก็คือ ในความหมายของ หลักคุณธรรมของผู้ประกอบอาชีพนักสื่อสารมวลชน ที่สร้างขึ้นมาเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติแก่ผู้ประกอบอาชีพนักสื่อสารมวลชนให้มีความรับผิดชอบต่อสังคม ไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่น รวมถึงก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคมสูงสุด
ดังนั้น หากสื่อมวลชนคนใด หรือ องค์กรใด กระทำการอันผิดจรรยาบรรณ นอกจากจะถูกฟ้องร้องเอาผิดได้แล้ว สังคมยังสามารถ “แอนตี้”(anti) สื่อนั้นได้ ด้วยมาตรการใดมาตรการหนึ่ง เพื่อแสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบ
ขณะเดียวกัน หากสื่อมวลชนถูกกล่าวหา โดยไม่มีมูลความจริง ไม่มีพยานหลักฐาน หมิ่นประมาททำให้สื่อมวลชนเสียหาย การฟ้องร้องเพื่อปกป้อง ตัวเอง ยังไม่ยิ่งใหญ่เท่ากับการปกป้องจรรยาบรรณสื่อมวลชนองค์รวม หรือฐานันดรที่ 4 ไม่ให้ถูกคุกคามหรือดูหมิ่นดูแคลน เพราะมันคือ ศักดิ์ศรีอันยิ่งใหญ่ของสื่อมวลชนมืออาชีพนั่นเอง